2707_9703

3 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๑ เดือนเมษายน ๒๕๕๕ The Quiet Don หมายถึง แม่น้ำดอนที่ไหลผ่านภูมิภาคดอนอันสงบสุขไม่ เพียงแต่ในยามสันติหากรวมถึงขณะที่ผืนแผ่นดินลุกโชนด้วยเปลวไฟแห่งสงคราม และการปฏิวัติ พายุใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงที่โหมกระหน่ำทั่วรัสเซียนำมาซึ่ง การต่อต้านของชาวคอสแซค การต่อสู้ที่ล้มลุกคลุกคลาน ความเจ็บปวด และการ พยายามแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจการเมืองสะท้อนภาพสังคมที่ปั่นป่วน แตกแยก เมื่อกระแสพายุเหนือแม่น้ำดอนอ่อนตัวลง แผ่นดินและโลกของชาว คอสแซคได้พังพินาศและล่มสลาย สังคมที่แตกแยกดังกล่าวคือ จุดเกิดของ วรรณกรรมคลาสสิก And Quiet Flows the Don เรื่องราวที่เล่าผ่านกรีกอรี ปันเตเลวิช เมเลคอฟ (Grigory Pantelevich Melekhov) ชาวนาชนชั้นกลางที่เป็นตัวเอก The Quiet Don เล่มแรก (ค.ศ. ๑๙๒๘) ให้ภาพชีวิตความเป็นอยู่อย่างละเอียดของชาวคอสแซคที่อาศัยอยู่ใน หมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อตาตรัสค์ (Tatrask) บริเวณลุ่มแม่น้ำดอนตอนใต้ ความสัมพันธ์ สามเส้าระหว่างเมเลคอฟกับนาตัลยา (Natalya) ผู้เป็นภรรยา และอัคซีเนีย (Aksinya) ภรรยาเพื่อนบ้าน สงครามโลกครั้งที่ ๑ และขอบเขตของเรื่องที่ก้าว ออกจากชีวิตส่วนบุคคลสู่สังคมในวงกว้าง ปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับสงคราม และจิตสำนึกทางการเมืองที่พัฒนาขึ้นในตัวเมเลคอฟ ชีวิตหลังปลดประจำการ การแยกทางกับอัคซีเนีย และการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวใหม่กับนาตัลยา หนังสือ เล่ม ๒ (ค.ศ. ๑๙๒๙) ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการปราชัยของกองทัพรัสเซียใน สงครามโลกครั้งที่ ๑ และการปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๑๗ เน้นผลกระทบของ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อชาวคอสแซคและปฏิกิริยาตอบโต้ของชาวคอสแซคกลุ่ม ต่าง ๆ บทบาทของนักปฏิวัติบอลเชวิคในกองทัพและเหตุการณ์ความผันผวน ทางการเมืองรัสเซียระหว่าง ค.ศ. ๑๙๑๗-๑๙๑๘ ส่วนเล่ม ๓ (ค.ศ. ๑๙๓๓) และเล่ม ๔ (ค.ศ. ๑๙๔๐) เน้นเหตุการณ์ สงครามกลางเมืองในภูมิภาคดอนระหว่าง ค.ศ. ๑๙๑๘-๑๙๒๐ โดยเฉพาะการ จลาจลต่อต้านอำนาจรัฐโซเวียตทางตอนเหนือ การเข้าร่วมกองทัพแดงของ เมเลคอฟและความสัมพันธ์ที่ก่อรูปใหม่อีกครั้งหนึ่งกับอัคซีเนีย การล่าถอย ของกองทัพฝ่ายปฏิปักษ์ปฏิวัติ และความหวาดระแวงของนายทหารแดงต่อ เมเลคอฟ (เนื่องจากเขาเคยเป็นนายทหารในกองทัพฝ่ายรัสเซียขาวมาก่อน) การ ตัดสินใจเข้าร่วมต่อต้านพวกคอมมิวนิสต์ (แต่ไม่ใช่อำนาจรัฐโซเวียต) ของ เมเลคอฟหลังจากที่กองทหารแดงบุกปล้นทำลายชุมชนและฆ่าชาวคอสแซคใน หมู่บ้านเกิดการปราชัยของฝ่ายต่อต้านและจบลงด้วยความเจ็บปวดและความรู้สึก สับสนผิดหวังของเมเลคอฟผู้ไม่อาจแยกได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ความกล้าหาญ การ เสียสละ และพลังการอุทิศตัวของเมเลคอฟกว่า ๗ ปีในสงครามทั้งของฝ่ายขวา และซ้ายไร้ค่าและความหมายอย่างสิ้นเชิง สิ่งที่ได้รับตอบแทนคือการบาดเจ็บ ๑๔ ครั้ง และความอ่อนเปลี้ยทั้งกายและใจแต่ความหวังที่ยังคงเหลืออยู่คือภาพของ แผ่นดินยามสันติและชีวิตอันสงบสุขในภูมิภาคดอนบ้านเกิด ในตอนจบของเรื่อง เมเลคอฟโยนปืนและอาวุธคู่มือทิ้งในแม่น้ำดอนและตัดสินใจที่จะกลับมาใช้ชีวิตบน ผืนดินเกิดโดยไม่หวาดกลัวหรือกังวลว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น แม้จะไม่มีอะไรหลงเหลือ อยู่สำหรับเขา (ครอบครัว บ้าน และผู้เป็นที่รักต่างล้วนพินาศย่อยยับไปกับ สงคราม ยกเว้นลูกชายวัย ๖ ขวบคนเดียวที่โชโลคอฟผู้ประพันธ์กล่าวว่า แม้พ่อ จะยังคงมีชีวิตรอดอยู่ก็เป็นดุจกำพร้า) แนวคิดหลักของ The Quiet Don สะท้อนความหายนะและการต่อสู้ที่ ปราชัยของมนุษย์ผู้มีจิตสำนึกที่จะต่อสู้เพื่อพิทักษ์ศักดิ์ศรีและสิทธิเสรีภาพของ ความเป็นคนจากการกดขี่และความอยุติธรรมทั้งมวล แต่ความสามารถและพลังสู้ รบแห่งสัญชาตญาณมนุษย์พ่ายแพ้ต่ออำนาจที่ซ่อนเร้นของกระแสการเคลื่อนไหว แห่งประวัติศาสตร์และสังคม ความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้นมีความหมายลุ่มลึกหลายนัย เป็นต้นว่า อาจหมายถึงการสิ้นสุดและการดิ้นรนครั้งสุดท้ายของอารยธรรมแห่ง อดีต การปิดฉากของประวัติศาสตร์ยุคเก่าและการก่อตัวของยุคใหม่อันเปี่ยมด้วย ความหวังซึ่งกำลังเริ่มต้น แต่ไม่ว่าคำตอบจะเป็นเช่นไร ผู้อ่านจะเป็นผู้ตัดสินให้ ความหมายและประเมินคุณค่าความปราชัยดังกล่าวนั้นด้วยตนเอง รศ.สิวลี ศิริไล ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง แนวคิดทางจริยศาสตร์ของ ตอลสตอยเรื่องความหมายของชีวิต ความโดยสรุปว่า ตอลสตอยนักวรรณกรรม ผู้มีชื่อเสียงชาวรัสเซีย ผู้มาจากตระกูลขุนนางที่มั่งคั่งและสร้างผลงานประพันธ์ที่ มีชื่อเสียงจำนวนมาก เกิดภาวะวิกฤติทางจิตใจเมื่ออายุ ๕๐ ปีเศษ จนทำให้เกิด ความคิดที่จะทำลายชีวิตตนเอง แต่หลังจากได้อ่านหนังสือปรัชญาตะวันออกและ ทบทวนหลักคำสอนของศาสนาคริสต์ บทเทศน์บนภูเขาของพระเยซูทำให้ ตอลสตอยเกิดความคิดในการแสวงหาความหมายของชีวิต และพบคำตอบด้วย ตนเองว่า ศาสนาเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ทำให้เข้าถึงความหมายที่แท้จริงของชีวิตและ เข้าถึงพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งจะต้องอาศัยความศรัทธาเป็นพื้นฐาน การไตร่ตรอง การ เพ่งพินิจพิจารณา การฝึกควบคุมจิตให้สงบแน่วแน่ เกิดภาวะรหัสยธรรม (mystic state) เกิดปิติศานต์ (ecstasy) การเข้าถึงคำตอบ และได้แนวทาง ดำเนินชีวิต การเข้าถึงความหมายของชีวิตที่แท้จริงของตอลสตอยมีลักษณะของ จริยศาสตร์ศาสนาและเป็นประสบการณ์เฉพาะของบุคคลที่ไม่อาจอธิบายให้ผู้อื่น เข้าใจได้ ตอลสตอยถ่ายทอดประสบการณ์เรื่องนี้ของตนในผลงานชื่อ “คำ สารภาพ” (A Confession ๑๘๗๙-๑๘๘๒) จากงานเขียนเรื่อง “คำสารภาพ” ตอลสตอยให้คำอธิบายเรื่องความหมาย ของชีวิตและวิถีทางเข้าถึง โดยเริ่มจากนิทานตะวันออกที่เล่าถึงชายผู้หนึ่งระหว่าง การเดินทางได้เผชิญกับสัตว์ที่ดุร้าย ขณะที่ชายผู้นี้พยายามหนีให้พ้นจากสัตว์ภัย เขาพลัดตกลงไปในบ่อน้ำบาดาลที่แห้ง เมื่อมองลงไปเบื้องล่างก้นบ่อเห็นมังกร กำลังอ้าปากคอยทำร้าย ชายผู้เคราะห์ร้ายคนนี้ไม่กล้าคลานขึ้นมาจากบ่อเพราะ กลัวสัตว์ร้ายที่อยู่ข้างบน ขณะเดียวกันก็ไม่กล้าถอยลงไปยังก้นบ่อเพราะกลัวถูก มังกรทำร้าย ตอลสตอยกล่าวว่าตัวเขาเองก็อยู่ในภาวะเช่นเดียวกันกับผู้ชายคน นี้ ความตายซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกพ้นรอเขาอยู่เหมือนมังกรที่อยู่ก้นบ่อ เขาไม่ เข้าใจว่าเหตุใดเขาจึงตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ตอลสตอยบอกแก่ตนเองว่า ภาพลวงตาของชีวิตที่รื่นรมย์ในอดีตไม่สามารถหลอกเขาได้อีกต่อไป ถึงแม้หลาย ครั้งที่มีผู้บอกแก่เขาว่า “ท่านไม่มีวันเข้าใจความหมายของชีวิต ดังนั้น เลิกคิดถึง เรื่องนี้ และจงมีชีวิตอยู่ต่อไป” แต่ตอลสตอยตอบตนเองว่า เขาไม่สามารถทำตาม คำแนะนำนี้ได้ เนื่องจากเขาเคยคิดถึงเรื่องนี้มาตลอด แต่ก็ไม่อาจช่วยอะไรได้เขา ยังรู้สึกว่า วันคืนที่เข้ามาในชีวิตกำลังนำความตายมาสู่เขาทุกขณะ และนี้คือสิ่ง เดียวที่เป็นความจริง นอกนั้นเป็นเพียงภาพลวงตาทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ตอลสตอยคิดว่าในเมื่อไม่อาจหาคำตอบเรื่องความหมายของชีวิตได้จากความรู้ วิชาการต่าง ๆ รวมถึงวิธีการคิดด้วยเหตุผล ยังคงมีอีกวิธีหนึ่งคือการพิจารณา สังเกตการใช้ชีวิตของบุคคลอื่น ๆ รอบตัวเขาที่มีสถานภาพและการดำรงชีวิต ระดับเดียวกับเขาว่าบุคคลเหล่านี้มีวิถีทางที่นำไปสู่ความหมายของชีวิตได้อย่างไร และได้พบคำตอบว่ามี ๔ วิถีทางด้วยกัน คือ วิถีทางแรก ความไม่รู้ (ignorance) วิถีทางที่ ๒ การดำเนินชีวิตแบบสุขนิยมของลัทธิเอพิคิวเรียน (hedonistic Epicureanism) วิถีทางที่ ๓ เป็นวิถีทางแห่งพลังและความแข็งแกร่ง (strenght and energy) วิถีทางที่ ๔ คือ ความอ่อนแอ (weakness) แนวความคิดเรื่องความหมายของชีวิตของตอลสตอยที่ปรากฏในงานเขียน เรื่องคำสารภาพได้กลายเป็นเส้นทางแห่งการดำรงชีวิตในบั้นปลาย ตอลสตอยละ ทิ้งชีวิตที่มั่งคั่งแบบขุนนางไปใช้ชีวิตที่เรียบง่ายไม่สะสมสิ่งใดทั้งสิ้น ในปี ๑๘๘๐- ๑๘๘๑ เขายกทรัพย์สินสิทธิต่าง ๆ ในผลงานให้แก่ภรรยาและครอบครัว รับ ประทานอาหารมังสวิรัติ งดเว้นความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยา ปฏิเสธความรุนแรง ทุกรูปแบบและการบีบบังคับทางสังคม แต่งกายเรียบง่ายแบบชาวนาไม่สวม รองเท้า สอนวิถีทางของการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย สุภาพและรับใช้เพื่อนมนุษย์ ด้วยหลักการของความเป็นพี่น้องกัน สำหรับตอลสตอยแล้วอาณาจักรของพระผู้ เป็นเจ้าเป็นสิ่งที่พบได้ในการดำรงชีวิตตามที่กล่าวมา ผลงานของตอลสตอยใน ช่วงปลายของชีวิตสะท้อนความคิดทางจริยศาสตร์และการดำรงชีวิตตามหลักคำ สอนของศาสนา ความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าที่มีลักษณะเป็นอนาธิปไตย (anarchism) คือเป็นสิ่งที่รู้ไม่ได้ด้วยประสาทสัมผัสหรือความคิดตามหลักเหตุผล แต่เข้าถึงหรือรู้ได้จากการที่จิตสัมผัสโดยตรง มีความเชื่อความศรัทธาเป็นพื้นฐาน และแสดงออกด้วยการปฏิบัติในชีวิตแต่ละวัน ตอลสตอยเสียชีวิตในวันที่ ๗ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๑๐ ระหว่างการเดินทางโดยรถไฟไปยังโรสตอฟ ออน ดอน (Rostov-on-Don) แต่เกิดอาการป่วยไข้ ระหว่างทางต้องแวะลงที่แอสทาโปโว (Astapovo) พักรักษาตัว ณ บ้านพักนายสถานีรถไฟแห่งนี้ และสิ้นชีวิตในเวลาต่อ มา มีอายุได้ ๘๒ ปี ถึงแม้ตอลสตอยจะไม่ได้จัดว่าเป็นนักปรัชญา แต่ทรรศนะของตอลสตอยที่ สะท้อนถึงแนวคิดทางปรัชญามีหลายประการ เช่น การมองมนุษย์ว่ามนุษย์มี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=