2707_9703

2 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ๏ วันพุธที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ศ. ดร.จตุรนต์ ถิระวัฒน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง กฎหมายสำหรับ โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประเทศไทย ความโดยสรุปว่า แม้ว่าอุบัติภัยที่ ฟูกูชิมะในประเทศญี่ปุ่น จะทำให้เกิดข้อกังขาถึงอนาคตสำหรับพัฒนาการของการ ใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง รัฐ ต่าง ๆ ยังคงให้การสนับสนุนอยู่ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศเห็น ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะยังคงเติบโตอย่างชัดเจนในอนาคต แม้ว่าจะมีบางประเทศ ที่ยกเลิกโครงการหรือทบทวนแผนการ เพราะฉะนั้นพัฒนาการของการใช้ พลังงานนิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจึงมิใช่เรื่องที่สิ้นสุดลง แต่ยังคงเป็นเรื่องที่ ต้องติดตามต่อไป ตราบที่ปัญหาเรื่องการขาดแคลนพลังงานและสภาวะเรือน กระจก ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้สัมฤทธิผล สำหรับประเทศไทยเองก็ตกอยู่ใน สถานการณ์เดียวกับประเทศอื่นทั่วโลกที่ต้องแสวงหาแหล่งพลังงานเพื่อรองรับ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอนาคตและจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการ ศึกษาความเป็นไปได้และการเตรียมพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อการดำเนินโครงการ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ ประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายสำหรับผู้มีอำนาจในการวินิจฉัย โดยในด้าน นิติศาสตร์ การศึกษาเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพราะถือเป็นเงื่อนไขของการ ดำเนินการและความสำเร็จของโครงการ เนื่องจากมาตรการทางกฎหมายถือเป็น หลักประกันที่จำเป็นต่อการร่วมมือและยอมรับโครงการเองจากทั้งประชาคม ระหว่างประเทศและในประเทศ การศึกษาวิเคราะห์ กฎเกณฑ์ รวมทั้งข้อ กำหนดต่าง ๆ ในระดับระหว่างประเทศซึ่งถือเป็นมาตรฐานสากลที่ทุกประเทศ ต้องปฏิบัติตาม ประกอบกับกฎหมายไทยที่ใช้อยู่ในเรื่องที่จำเป็นต่อการดำเนิน โครงการฯ โดยเริ่มจากเรื่องการปกป้องและความมั่นคงทางนิวเคลียร์ ความ ปลอดภัยทางนิวเคลียร์ด้านต่าง ๆ การจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ และ ระบบความรับผิดสำหรับความเสียหายทางนิวเคลียร์แสดงให้เห็นว่า โดยรวม กฎหมายไทยยังไม่เหมาะสมเพียงพอที่จะรองรับการดำเนินการของโครงการฯ ตามมาตรฐานระหว่างประเทศ และการดำเนินโครงการนี้ยังมีขั้นตอนสำหรับการ บัญญัติและปรับปรุงกฎหมายอีกจำนวนมากซึ่งผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านนโยบาย ต้องคำนึงถึงและนำไปดำเนินการ รศ.วุฒิชัย มูลศิลป์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ไพร่เลือกนาย-ตามใจไพร่ สมัคร, พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๔๒ ความโดยสรุปว่า กำลังคนเป็นเรื่องสำคัญของสังคม ในสมัยก่อน เป็นทั้งกำลังอำนาจ กำลังเศรษฐกิจ และความมั่นคงของบ้านเมือง กำลังคนที่เป็นคนส่วนใหญ่ของไทยสมัยก่อนคือ ไพร่ หรือไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ซึ่งก็ คือราษฎรสามัญในปัจจุบัน การควบคุมไพร่และการที่ไพร่ต้องมีหน้าที่ตอบแทน ต่อบ้านเมือง เริ่มในสมัยอยุธยาตอนต้น มีวิวัฒนาการเรื่อยมา มีความ เปลี่ยนแปลงภายในและซับซ้อนมากขึ้น โดยปรกติไพร่ต้องมีสังกัด มีกรมพระ สุรัศวดีหรือกรมพระสัศดีเป็นผู้ควบคุม สมัยอยุธยาและธนบุรีไพร่หลวงต้องรับ ราชการหรือเข้าเดือน ซึ่งเป็นการทำงานให้กับราชการปีละ ๖ เดือน หรือส่งส่วย ซึ่งเป็นสิ่งของที่ราชการต้องการหรือจ่ายเป็นเงินแทนการเข้าเดือนก็ได้ สมัย รัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้ลดเวลา การเข้าเดือนเหลือปีละ ๔ เดือน และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้ลดเวลาการเข้าเดือนเหลือปีละ ๓ เดือน และยังโปรดให้ไพร่ที่ได้รับการ กดขี่จากมูลนายเจ้าสังกัดขอย้ายสังกัดได้ แต่ต้องอยู่ในเมืองเดียวกัน ส่วนไพร่สม ซึ่งเป็นไพร่ของมูลนายกำหนดให้เข้าเดือนปีละ ๑ เดือน หรือถ้าเสียเงินแทนการ เข้าเดือน ทางราชการกำหนดเดือนละ ๖ บาท จนถึงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นช่วงที่บ้านเมืองมีความเปลี่ยนแปลงหลังสนธิ สัญญาเบาว์ริง การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่โดยผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) คือให้เลิกสักเลข แต่ให้หนังสือพิมพ์คุ้มสัก ไว้เป็นหลักฐานสำคัญ การริเริ่มนี้ทำได้ในบางส่วนก็เลิกราไป เพราะความไม่พร้อม ของทางราชการ การเปลี่ยนแปลงสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การให้ไพร่หลวงโยก ย้ายไปสังกัดข้ามเมืองได้ โดย “ตามใจไพร่สมัคร” ปรากฏว่า ไพร่หลวงของหลาย เมืองขอย้ายสังกัดไปเป็นจำนวนมาก การให้ไพร่สมัครใจไปสังกัดต่างเมืองมีทั้ง ผลดีและผลเสีย ผลดีคือ เป็นการลดภาวะกดดันจากชาติจักรวรรดินิยมตะวันตกที่ คุกคามไทย มาเกลี้ยกล่อมชักชวนให้คนไทยไปเป็นคนในบังคับหรือสัปเยกต์ (subject) ไพร่มีโอกาสแสวงหาความสุขในชีวิตมากขึ้น และทำให้เจ้าเมือง ปกครองผู้คนไพร่ด้วยคุณธรรม เจ้าเมืองและข้าราชการทั้งหลายก็จะเป็นที่พึ่งของ ไพร่ได้ ส่วนผลเสียคือ การแย่งชิงไพร่ของเจ้าเมืองต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วน ตัวทั้งในด้านกำลังคนและเบียดบังเงินส่วย รายได้ของบ้านเมืองลดลง และมี ปัญหาจากการไม่ร่วมมือของเจ้าเมืองในการตัดบัญชี เพิ่มบัญชีผู้คนที่ย้ายออกไป และรับเข้ามาใหม่ด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงต้องการ จะยกเลิกระบบทาสและระบบไพร่ แต่ทรงเห็นว่ายังมีความไม่พร้อมหลายประการ รวมทั้งเงินค่าราชการ เงินส่วย ยังมีความสำคัญต่อรายได้ของบ้านเมือง ดังนั้นจึง ทรงเห็นด้วยกับการผ่อนคลายโดยยินยอมให้ไพร่โยกย้ายและเลือกสังกัดได้ตามใจ ไพร่สมัคร เจ้าเมือง ข้าราชการที่ไพร่สมัครใจไปอยู่ด้วยจะได้ตั้งใจทำงานให้เป็น ประโยชน์แก่ไพร่ แต่ทรงไม่เห็นด้วยกับการแย่งชิงไพร่หรือกวาดต้อนไพร่ที่ไม่ สมัครใจไปอยู่ด้วย อย่างไรก็ดี ปัญหาในเรื่องตามใจไพร่สมัครก็มีมาก เพราะเจ้า เมือง ข้าราชการบางคนเห็นแก่อำนาจและผลประโยชน์ส่วนตน รายได้ของบ้าน เมืองจากเงินข้าราชการและเงินส่วยจึงขาดไปราว ๒ ใน ๓ จากที่เคยได้ แม้จะมี ปัญหาแต่การให้ไพร่เลือกสังกัดก็ยังคงดำเนินต่อมา พร้อมกันนั้นก็โปรดให้ลดเงิน ค่าราชการไพร่หลวงเหลือปีละ ๖ บาทเท่ากับไพร่สม ซึ่งเท่ากับลดการเข้าเดือน ของไพร่หลวงเหลือปีละ ๑ เดือน และเพิ่มการเก็บเงินค่าราชการขุนหมื่นเป็นปีละ ๖ บาทจากเดิม ๔ บาท ให้เท่ากับไพร่หลวง เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) จึงได้ประกาศเปลี่ยนการควบคุม เลกเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ให้ไพร่สังกัดนายอำเภอ กำนันที่ไพร่ตั้ง ถิ่นฐานอยู่ ซึ่งเป็นการยกเลิกการเลือกสังกัดตามใจไพร่สมัครที่ดำเนินมาราว ๓๑ ปี ๏ วันพุธที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศ.สัญชัย สุวังบุตร ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง And Quiet Flows the Don ความโดยสรุปว่า And Quiet Flows the Don หรือ The Quiet Don เป็นงานประพันธ์เรื่องเอกของมีฮาอิล โชโลคอฟ (Mikhail Sholokhov) นักเขียน ชาวโซเวียตที่ได้รับรางวัลสตาลินและรางวัลเลนินใน ค.ศ. ๑๙๔๐ และรางวัล โนเบลใน ค.ศ. ๑๙๖๕ หนังสือสะท้อนเรื่องราวความเกี่ยวพันระหว่างชีวิตชาว ดอนคอสแซคกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๑๔-๑๙๒๑ การ รณรงค์ต่อสู้ของฝ่ายปฏิวัติกับฝ่ายปฏิปักษ์ปฏิวัติและการเคลื่อนไหวของมวลชน ผสมผสานกับชีวิตครอบครัวของปัจเจกชน ตลอดจนความผันผวนเปลี่ยนแปลง ทางสังคมและการเมืองแบบถอนรากถอนโคนที่สะท้อนผ่านชีวิตปัจเจกชนผู้มี ความรัก ความสมหวัง และการสูญเสียซึ่งถูกกำหนดจากพลังที่ซ่อนเร้นของการ ต่อสู้ทางชนชั้นและการปฏิวัติ หนังสือใช้เวลาเขียนกว่า ๑๒ ปี โดยแบ่งเป็น ๔ เล่ม และมีความหนาเกือบ ๒,๐๐๐ หน้า เล่ม ๑ และเล่ม ๒ จัดพิมพ์ใน ค.ศ. ๑๙๒๘ เล่ม ๓ พิมพ์เผยแพร่เป็นตอน ๆ ในนิตยสารระหว่าง ค.ศ. ๑๙๒๙-๑๙๓๒ ก่อนนำมารวมพิมพ์เป็นเล่มภายหลัง และเล่มที่ ๔ ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๓๘-๑๙๔๐ The Quiet Don เป็นวรรณกรรมที่ประชาชนโซเวียตชื่นชอบและนิยมอ่านกัน แพร่หลายมากที่สุด จำนวนการจัดพิมพ์มีมากกว่า ๔ ล้านเล่มและโดยเฉพาะ ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๔๐-๑๙๕๐ จำนวนพิมพ์ของสำนักพิมพ์ต่าง ๆ มีกว่า ๒ ล้านเล่ม ขณะที่เล่มสุดท้ายพิมพ์จำหน่ายใน ค.ศ. ๑๙๔๐ ผู้คนต่างเข้าแถวกันยาวเหยียด ตลอดทั้งคืนในกรุงมอสโกเพื่อรอคอยให้ร้านหนังสือเปิด

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=