2706_4060
8 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ ๑๘๖/๒๕๕๐ ไปรษณีย์ดุสิต ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เพื่อเผยแพร่งานวิชาการ ข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสถาน จัดทำโดย บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริการวิชาการ ราชบัณฑิตยสถาน นางสาวบุญธรรม กรานทอง พิมพ์ที่ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด ๓๐๗ ซอยลาดพร้าว ๘๗ วังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ โทรสาร ๐ ๒๕๓๙ ๒๕๑๒, ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๙ นางทิพาภรณ์ ธารีเกษ นางสาวพัชนะ บุญประดิษฐ์ นางสาวอารี พลดี นางสาวปิยรัตน์ อินทร์อ่อน นางสาวกระลำภักษ์ แพรกทอง ‰ ¢ ª— ≠ À “ ¿ “ … “ ‰ ∑ ¬ นางกนกวรรณ ทองตะโก นางสาวกุลศิรินทร์ นาคไพจิตร นางพรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ นายอาคม คงทน นายอภิเดช บุญสงค์ ถาม คำว่า เครื่องดอกไม้สด และ เครื่องสด มีลักษณะเหมือนหรือแตกต่าง กันอย่างไร ตอบ คำว่า เครื่องดอกไม้สด กับ เครื่องสด มีอธิบายไว้อย่างละเอียดใน พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ดังนี้ เครื่องดอกไม้ สด เป็นงานประณีตศิลป์ของไทยประเภทหนึ่ง มีมาแต่โบราณคือตั้งแต่ สมัยสุโขทัย เกิดจากการน้อมถวายเครื่องสักการบูชาอันประกอบด้วย ดอกไม้ ธูป เทียน ทั้งที่ถวายเป็นพุทธบูชาและเทพบูชา ดังปรากฏใน ตำนานนางนพมาศซึ่งเป็นสนมเอกของพระร่วง ได้ประดิษฐ์โคมรูป ดอกบัวในพระราชพิธีจองเปรียงและประดิษฐ์พานดอกไม้ เป็นต้น ซึ่งต่อ มาในสมัยอยุธยาก็คงจะมีการประดิษฐ์เครื่องดอกไม้สดเช่นกัน เครื่อง ดอกไม้สดของไทยนี้ เท่าที่ปรากฏอยู่ในความนิยม สามารถแบ่งได้หลาย ประเภทด้วยกัน ได้แก่ ประเภทดอกไม้พุ่ม ประเภทมาลัย ประเภทเครื่อง แขวน และประเภทงานตกแต่งทั่วไป โดยใช้หลักในการจัดทำเป็นเกณฑ์ การแบ่งคือ การร้อยดอกไม้ การเย็บแบบ ทำตุ้ม ทำพู่ ระย้า และสวน งานเครื่องดอกไม้สดแต่ละประเภทก็จะใช้ในพิธีหรือประดับในงานที่แตก ต่างกันออกไป ปัจจุบันแม้ว่ายังคงรักษาแบบอย่างดั้งเดิม แต่ก็มีแบบที่ พัฒนาออกไปจากของเดิม ตลอดจนแบบประยุกต์ เช่น นำเอาแบบการ จัดดอกไม้ของต่างประเทศมาประกอบด้วย ส่วนคำว่า เครื่องสด เป็นงานหัตถศิลป์ของไทยประเภทหนึ่งทำขึ้น เพื่อใช้สำหรับตกแต่งเป็นการชั่วคราว เพราะวัสดุที่นำมาใช้สำหรับงาน ศิลปะประเภทนี้ล้วนเป็นพืช ผัก ผลไม้ ที่สด ๆ ทั้งสิ้น ไม่สามารถอยู่ได้ คงทนถาวร เครื่องสดทำขึ้นด้วยการนำผลไม้ หัวพืช ผัก กาบกล้วย มา แกะ สลัก ฉลุ หรือแทง ทำเป็นรูปภาพ ลวดลาย และระบายสี สอด หรือซับด้วยกระดาษทองอังกฤษสีต่าง ๆ นำมาประกอบกัน ใช้ประดับ ตกแต่งของตั้งแต่ขนาดย่อมขึ้นไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ใช้ในพิธีการทั้ง มงคลและอวมงคล ทั้งที่เป็นงานหลวงและงานพื้นบ้าน เช่น งานแทง หยวกที่ใช้ประดับจิตกาธานในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราช นครินทร์ หรือตกแต่งเชิงตะกอนในการฌาปนกิจศพ หรือทำตกแต่ง เบญจาสำหรับรดน้ำในพิธีตัดจุก หรือทำบายศรีต้นในพิธีทำขวัญบวช นาค ถาม คำว่า ประชุม กับ อภิปราย มีความหมายเหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไร ตอบ คำว่า ประชุม มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า มารวมกันหรือเรียกให้มารวมกันเพื่อประโยชน์อย่างใด อย่างหนึ่ง หรือหมายถึง มาร่วมพบกันเพื่อปรึกษาหารือ เช่น ประชุม กรรมการ โดยปริยายคำว่าประชุมนี้ใช้หมายถึง เอาสิ่งที่เป็นประเภท เดียวกันมารวมกัน เช่น ประชุมพงศาวดาร ประชุมปาฐกถา นอกจากนี้ คำว่า ประชุม บางทียังใช้ในความหมายอย่างเดียวกับชุมนุม คือ นำมา รวมกัน ก็ได้ เช่น ประชุมพระบรมราชาธิบาย ประชุมประกาศรัชกาล ที่ ๔ ส่วนคำว่า อภิปราย เป็นคำกริยา หมายถึง พูดชี้แจงแสดงความ เห็นอย่างการอภิปรายวิชาการในการประชุมวิชาการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=