2706_4060

7 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๐ เดือนมีนาคม ๒๕๕๕ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงที่สุดของท่าน ผลงานที่ท่านส่งเข้าประกวดในการประกวด อนุสาวรีย์ “นักโทษการเมืองที่ไม่มีใครรู้จัก” และได้รับรางวัล เป็นรูปทรงของมนุษย์ที่ นั่งกอดเข่า ลำตัวโค้งงอและเหี่ยวแห้ง แขนและขาบิดโค้งงอ ใบหน้าซบลงกับเข่า พื้นผิวทั้งหมดหยาบกร้านและขรุขระ ทั้งหมดนี้แสดงออกถึงความทุกข์ทรมาน ความ หิวโหย ความอ้างว้าง และความสิ้นหวังได้อย่างบริบูรณ์ ๏ วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ผศ. ดร.มาโนช กงกะนันทน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง แผ่นดวงตรา ไปรษณีย์ที่ระลึก (postage stamp sheet) ความโดยสรุปว่า พ.ศ. ๒๓๗๙ นาย โรว์แลนด์ ฮิลล์ (Rowland Hill) ชาวอังกฤษ ได้เสนอวิธีคิดค่าธรรมเนียมในการฝาก ส่งจดหมาย โดยถือน้ำหนักเป็นเกณฑ์และกำหนดให้มีมาตรฐานต่อจดหมาย ๑ ฉบับ ต่อ ๑ เพนนี นอกจากนี้ยังได้เสนอให้มีการจัดพิมพ์ตราไปรษณียากรหรือแสตมป์ (Postage Stamp) สำหรับให้ผู้ใช้บริการซื้อไว้เพื่อปิดผนึกบนห่อหรือซองจดหมาย ณ บริเวณมุมบนด้านขวา เพื่อแสดงว่าจดหมายฉบับนั้นได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ข้อ เสนอได้รับการยอมรับจากรัฐบาลอังกฤษ ประเทศอังกฤษจึงเป็นประเทศแรกที่ได้ ปฏิรูปการไปรษณีย์ใหม่ โดยให้ผู้ฝากส่งเป็นผู้ชำระค่าจดหมายล่วงหน้า และแสตมป์ ดวงแรกก็ได้อุบัติขึ้นเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๓ แสตมป์นี้มีราคา ๑ เพนนี มี สีดำ มีพระบรมฉายาลักษณ์ผินพระพักตร์ข้างของสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย กษัตริย์อังกฤษในสมัยนั้น ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าเพนนีแบล็ก (Penny black) สำหรับประเทศไทยนั้น ผู้คิดทำแสตมป์ดวงแรกคือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรม พระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (พ.ศ. ๒๔๐๒-๒๔๗๑) ส่วนผู้ออกแบบคือนายวิลเลียม ริดจ์เวย์ (William Ridgway) เป็นคนอังกฤษ มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๓๐-๑๙๐๐ เป็นช่างออกแบบและแกะสลักแม่พิมพ์โลหะให้บริษัทวอเตอร์โลว์และบุตร จำกัด [Waterlow&Sons Ltd. (London)] เป็นผู้พิมพ์ ด้วยระบบลายเส้น โดยที่พระองค์ เจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย ราชทูตสยามประจำภาคพื้นยุโรปและอเมริกา เป็นผู้ติดต่อว่า จ้างพิมพ์ โดยส่งต้นแบบมาทูลเสนอสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้ก่อตั้งกิจการไปรษณีย์เพื่อทรงวินิจฉัย และทรงอนุมัติพิมพ์ แสตมป์ชุดแรกมีทั้งหมด ๖ ดวง เรียกว่า “ชุดโสฬส” ประกอบด้วย ราคา ๑ โสฬส ๑ อัฐ เสี้ยว ซีกหนึ่งสลึง ผลิตจำนวนเพียงหลักหมื่นเท่านั้น ศ.เดชา บุญค้ำ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การวางแผนภูมิทัศน์ขนาดใหญ่กับ การป้องกันน้ำท่วมเมือง ความโดยสรุปว่า เมือง ชุมชน ตลอดจนหมู่บ้านในชนบทที่ ประสบอุบัติภัยธรรมชาติที่รุนแรง เช่น อุทกภัยจากน้ำฝนท่วม น้ำป่า น้ำหลากและ แผ่นดินถล่มล้วนเกิดจากฝีมือมนุษย์เองเป็นส่วนใหญ่ มนุษย์มักปล่อยปละละเลย ไม่ พิจารณาไตร่ตรองสถานที่ตั้งถิ่นฐานว่ามีลักษณะทางภูมิสัณฐานและระบบนิเวศเป็น อย่างไร ในสมัยโบราณประชากรมีน้อยและมีความจำเป็นต้องตั้งถิ่นฐานใกล้น้ำและ ที่ราบดินดี เนื่องจากการหาเลี้ยงชีพในสมัยนั้น ต้องพึ่งพาการเพาะปลูก การเลี้ยง สัตว์และการจับสัตว์น้ำ ประสบการณ์จากอุทกภัยสอนให้คนโบราณรู้จักวิธีการอยู่ อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติด้วยการเลือกที่สูง ตั้งบ้านเรือนหรือยกใต้ถุนบ้านและ คอกสัตว์ให้สูงพ้นน้ำท่วมประจำปี การวางแผนภูมิทัศน์ขนาดใหญ่ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่ง่าย สะดวก แม่นยำ และรวดเร็วด้วยโปรแกรมภูมิศาสตร์สารสนเทศที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้นัก วางแผนภูมิทัศน์ นักวางแผนภาคและนักผังเมืองสามารถวิเคราะห์และประเมินข้อดี ข้อเสียและข้อได้เปรียบของพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น บริเวณหวงห้าม บริเวณที่มีคุณค่า ทางทิวทัศน์ที่สวยงาม คุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ด้านศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งพื้นที่เสี่ยงภัยในพื้นที่ขนาดใหญ่นั้นได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะเขตน้ำท่วม น้ำ หลากและพื้นที่เสี่ยงภัยจากดินโคลนถล่มที่สามารถแสดงเป็นภาพสามมิติเคลื่อนไหว ได้อย่างแม่นยำ และนำข้อมูลปัจจัยด้านธรรมชาติมาใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญใน การวางผังเมือง แต่อย่างไรก็ดี แม้เทคโนโลยีและวิธีการวิเคราะห์และการวางแผน พื้นที่ขนาดใหญ่จะง่ายและสะดวกขึ้นเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา แต่การวางผังของเมือง ต่าง ๆ ในประเทศไทยก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการนำข้อมูลด้านปัจจัยธรรมชาติมาบูรณา- การในผังอย่างจริงจัง ทางออกที่อาจได้ผลจริงจังและยั่งยืนสรุปได้ดังนี้ ๑. จัดทำผังภาค (regional plans) รายลุ่มน้ำ ที่แสดงเขตทางน้ำไหล เขตน้ำ ท่วมและพื้นที่น้ำหลาก (flood plains) ที่เห็นขอบเขตอย่างชัดเจนพร้อมระดับน้ำที่จะ ท่วมรอบ ๕๐๐ ปี ๑๐๐ ปี ๕๐ ปี และ ๒๕ ปี โดยชัดเจนและออกกฎหมายควบคุม การใช้ที่ดินให้สอดคล้อง ๒. จัดทำผังสมรรถนะที่ดินที่เหมาะสมกับกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ รายลุ่ม น้ำ รวมทั้งเขตปกป้องทางศิลปวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวและแหล่งธรรมชาติ เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ เขตอุทยาน เขตห้ามล่า (wildlife sanctuary) รวมทั้งพื้นที่เพาะปลูกที่ เหมาะสมกับพืชผลชนิดต่าง ๆ และพื้นที่ที่เหมาะเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ ๓. จัดทำผังทรัพยากรที่จำเป็น รายลุ่มน้ำ เช่น แหล่งทรัพยากรธรณี แหล่ง ระเบิดหินและพื้นที่ที่เหมาะสมเป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมสกปรก นอกจากนี้ยังต้อง รวมผังพื้นที่ที่เป็นทัศนียทรัพย์ (visual resource) หรือแหล่งธรรมชาติที่สวยงาม หรือแปลกประหลาดน่าพิศวง ๔. จัดทำผังสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่กิจกรรมและเส้นทางคมนาคมเดิม รายลุ่มน้ำ เพื่อแสดงให้เห็นโดยชัดเจนได้ว่าสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่กิจกรรมและเส้นทางคมนาคมใด บ้างอยู่ในเขตน้ำท่วมหรือเขตเสี่ยงภัย ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับน้ำหรือเกษตรกรรมเดิม สามารถอยู่ต่อไปได้โดยต้องรับรู้ค่าระดับน้ำท่วมให้สามารถเตรียมการรับมือกับความ เสี่ยงภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นจากภาวะโลกร้อน ๕. ออกกฎหมายห้ามปลูกสร้างอาคารที่ไม่เกี่ยวกับเกษตรกรรมในเขตน้ำท่วม ทันที รวมทั้งการสร้างกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการออกข้อบังคับสำหรับระดับพื้นที่อาคาร หรือถนนในเขตน้ำหลากรอบ ๕๐๐ ปี และรอบ ๑๐๐ ปี รวมทั้งบ่งชี้กฎเกณฑ์การ ก่อสร้างที่จำเป็นขวางในทางน้ำหลาก การจัดทำผังภาครายลุ่มน้ำนี้ โดยปรกติจะเริ่มด้วยการวิเคราะห์พื้นที่เชิงภูมิ สัณฐาน (geomorphology) สมรรถนะของดิน ระบบนิเวศและภูมิทัศน์ของลุ่มน้ำ เป็นการวางผังแบบบูรณาการที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางให้ท้องถิ่นกำหนดราย ละเอียดการใช้ที่ดินและการสัญจรในเขตปกครองของตนเองเพื่อให้เกิดความ สอดคล้องกับธรรมชาติ หนึ่ง และเฟื้องหนึ่ง (ไม่ได้นำออกใช้เพราะส่งมาไม่ทัน) แตกต่างกันราคาละ ๑ สี รูป แบบเป็นลวดลายแบบตะวันตก ไม่มีชื่อประเทศสยาม ส่วนราคาเป็นเลขไทยและ อักษรไทยล้วน รูปแบบของแสตมป์ชุดแรกนี้ไม่เปลี่ยนแปลงจนถึง พ.ศ. ๒๔๕๑ ภาพ ของแสตมป์จึงเปลี่ยนเป็นรูปสถานที่สำคัญและอื่น ๆ แม่พิมพ์โลหะของแสตมป์ชุดนี้ ยังเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรของการสื่อสารแห่งประเทศไทย แผ่นตราไปรษณียากรที่ระลึก (souvenir sheet) เป็นแผ่นแสตมป์อย่างหนึ่งมีขนาดเล็ก ออกมาสำหรับการสะสมโดยเฉพาะ รอบ ๆ แสตมป์มักมีการพิมพ์ภาพหรือรายละเอียดประกอบต่าง ๆ เป็นการเพิ่มความ สวยงาม การจัดเรียงแสตมป์ในแผ่นตราไปรษณียากรที่ระลึกมีมากหลายรูปแบบ เช่น ๑. มีแสตมป์เพียง ๑ ดวง อยู่ตรงกลางแผ่น ๒. มีแสตมป์แบบเดียว จำนวน ๒ หรือ ๔ ดวง ๓. มีแสตมป์หลายแบบ แบบละดวงในแผ่นเดียวกัน แสตมป์ในแผ่นตราไปรษณียากรที่ระลึกนี้อาจมีการปรุรู (perforated) หรือไม่ ปรุรู (imperforated) ก็ได้ และหลายครั้งมีการออกแผ่นตราไปรษณียากรที่ระลึกทั้ง แบบปรุและไม่ปรุพร้อมกัน แผ่นตราไปรษณียากรที่ระลึกนี้สามารถนำมาใช้ได้จริง ทางไปรษณีย์ โดยการติดทั้งแผ่นลงบนซองหรือฉีกเอาแสตมป์ออกมา กรณีที่เป็น แบบปรุรู หรือไม่ปรุรู (แต่สูญเสียคุณค่าไป) แต่มูลค่าที่ส่งจะเท่ากับราคาทั้งหมดบน หน้าแสตมป์เท่านั้น ปกติไปรษณีย์จะจำหน่ายแผ่นตราไปรษณียากรที่ระลึกในราคาที่ สูงกว่าราคาหน้าดวงทุกดวงในแผ่นรวมกัน แผ่นตราไปรษณียากรที่ระลึกเป็นของ สะสมที่นิยมมากที่สุดในประเทศไทยในแต่ละชุด จำนวนพิมพ์อยู่ที่หลักแสน ในขณะที่ จำนวนพิมพ์แสตมป์อยู่ที่หลักล้านดวง ส่วนของสะสมอื่น ๆ เช่น ซองวันแรกจำหน่าย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=