2706_4060

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ป้องกันการบุกรุกในพื้นที่ชุ่มน้ำ มีโครงสร้างพื้นฐาน ให้ เกษตรกรเข้าออกจากบ้านได้ แต่ยอมเสียสละให้ใช้พื้นที่รับน้ำ ในฤดูน้ำหลากโดย ชดเชยผลประโยชน์ เช่น รับซื้อผลผลิตและรับประกันราคา โดยให้ปลูกได้ ๓ ครั้ง แต่ครั้งที่ ๓ ขอให้ใช้เป็นพื้นที่รับน้ำ ในกรณีมีฝนมาก ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เกษตร ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ทำการเกษตรเชิงซ้อนแทนเชิงเดี่ยว เช่น ปลูกข้าว ผสม พืชสวน/cash crop ผสมผสานกันกับการประมง ผลกระทบพื้นที่ Floodplain ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ๓๕,๐๐๐ ตร.กม. มีประชากรทั้งหมด ๑๘ ล้านคน เป็นพื้นที่ เกษตรกรรมและชุมชนชนบท ตั้งแต่พระนครศรีอยุธยาขึ้นไป เช่น ชัยนาท พระนครศรีอยุธยาบางส่วน สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สุพรรณบุรี สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อุตรดิถต์ บางส่วนของนครปฐม และสมุทรสาคร เสียหาย ประมาณ ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท แต่พื้นที่ ๑๐,๐๐๐ ตร.กม. ตั้งแต่ใต้พระนครศรีอยุธยา ลงมา บางส่วนของพระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และ นนทบุรี กรุงเทพฯ ปทุมธานี เสียหาย ๑.๓๕ ล้านล้านบาท ระบบนิเวศ ปลายแม่น้ำ เจ้าพระยามีน้ำจืดไหลลงเร็วและปริมาณเกินไป ทำให้สัตว์น้ำช็อกตาย และทำให้ปุ๋ย ธาตุอาหาร อนุภาคดินไหลลงทะเล มากกว่าตกตะกอนเป็นปุ๋ยตามพื้นที่เกษตรกรรม สำนักศิลปกรรม ๏ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ นายวินัย ภู่ระหงษ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ประเด็นเกี่ยวกับฉันท์ใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ความโดยสรุปว่า ประเด็นเกี่ยวกับ ฉันท์ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ผู้บรรยายได้ตั้งข้อสังเกต และสรุปเป็นหัวข้อดังนี้ ๑. ฉันท์จำนวน ๑๐๘ ชนิด พจนานุกรมฯ นำมาแสดงเฉพาะประเภทวรรณพฤติ ๑๖ ชนิด ๒. บทนิยามฉันท์แต่ละชนิดในพจนานุกรมฯ มีความแตกต่าง ไม่สม่ำเสมอเป็น ลักษณะเดียวกัน ๓. ในจำนวนฉันท์ ๑๖ ชนิด พจนานุกรมฯ แสดงลักษณะ ๑๔ ชนิด ๔. การแสดงลักษณะฉันท์แต่ละชนิดไม่เป็นไปในแนวเดียวกัน คือ มีทั้ง (๑) บอกคณะ (ครุ ลหุ) ที่กำหนด (ในบาท) ตามกฎเกณฑ์ของคาถาบาลีต้นแบบ และ (๒) บอกกำหนดคณะ (บท บาท วรรค จำนวนคำ) ตำแหน่งครุ ลหุ และสัมผัส ตามข้อ บังคับฉันท์ในภาษาไทย ทั้งนี้ การบอกลักษณะบังคับต่าง ๆ ในฉันท์แต่ละชนิด ต่าง กันเป็น ๙ อย่าง อนึ่ง การแสดงลักษณะฉันท์โดยบอกคณะ (ครุ ลหุ) ที่กำหนด (ในบาท) นั้น พจนานุกรมฯ อธิบาย “คณะ” ว่า “หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะ แต่ละ คณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก” แต่ไม่ได้อธิบายว่าแต่ละ คณะประกอบด้วยครุ ลหุใด ที่จะทำให้ทราบว่าตำแหน่งใด (ในบาท) เป็นครุ หรือลหุ ๕. ในจำนวนฉันท์ที่แสดงลักษณะ ๑๔ ชนิด ฉันท์ที่แสดงลักษณะครบถ้วนถูก ต้องตามกำหนดบังคับมี ๒ ชนิด คือ อินทรวงศ์ และอินทรวิเชียร ส่วนอีก ๑๒ ชนิด ลักษณะบังคับที่แสดงไว้ในฉันท์แต่ละชนิด แตกต่างกันหลากหลาย ๖. การแสดงลักษณะฉันท์บางชนิด มีบางอย่างไม่ถูกต้อง ดังนี้ ๖.๑ โทธก แสดงลักษณะว่า “กำหนดด้วย ๓ คณะ เป็น ภ คณะล้วน” ลักษณะที่ถูกต้องเป็นดังนี้ “แต่ละบาทกำหนดด้วย ภ คณะ ๓ คณะ กับครุ ๒ คำ” ๖.๒ โทธก แสดงตัวอย่างว่า “มิตรคณาทุรพาละทุพลมี นามก็กระลี หินะ ชาติ ประกาศภิปราย” แบ่งวรรคที่ถูกต้องเป็นดังนี้ “มิตรคณา ทุรพาละทุพลมี นามก็ กระลี หินะชาติประกาศภิปราย” ๖.๓ กุสุมิตลดาเวลลิกา แสดงตัวอย่างว่า “มนตรีมาตย์ผู้ฉลาดมละ ทุจริต ธรรม์ พึงผดุงสรร- พสิ่งสวัสดิ์” แบ่งวรรคที่ถูกต้องเป็น ดังนี้ “มนตรีมาตย์ผู้ฉลาด มละทุจริตธรรม์ พึงผดุงสรร พสิ่งสวัสดิ์” ๖.๔ สาลินี แสดงตัวอย่างว่า พราหมณ์ครูรู้สังเกต ตระหนักเหตุถนัดครัน ราชาวัชชีสรร- พจักสู้พินาศสม คำ “สู้” ในวรรคที่ ๔ ที่ถูกต้องเป็น “พจักสู่พินาศสม” ๖.๕ ธาตุมมิสสา แสดงตัวอย่างว่า “จักสำแดงมิตร สุจริตนามขนาน บัญญัติ คือสมาน สุขทุขเสมอประดุจกัน” คำ “จิต” “สุข” “ทุข” สะกดที่ถูกต้องเพื่อให้ออก เสียงตรงตามตำแหน่งครุ ลหุ ดังนี้ จักสำแดงมิตร สุจริตจิตรนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขะทุกข์เสมอประดุจกัน ๖.๖ กุมารลฬิตา แสดงตัวอย่างว่า “อนึ่งนุชมีจิต สนิทกรุณะเปรมปรี ดิสวามิ มะนะภักดี ภิบาลบมิอนาทร” วรรคที่ ๑ ที่ถูกต้องเป็น ดังนี้ อนึ่งอนุชมีจิต สนิทกรุณะเปรมปรี ดิสวามิมะนะภักดี ภิบาลบมิอนาทร ๖.๗ อินทรวิเชียร แสดงตำแหน่งสัมผัสนิยมระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ ดังนี้ องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน ตัดมูลเกลสมาร บมิหม่นมิหมองมัว หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว ราคีบพันพัว สุวคนธกำจร ตำแหน่งสัมผัสนิยมดังกล่าว ที่ถูกต้องเป็น ดังนี้ องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน ตัดมูลเกลสมาร บมิหม่นมิหมองมัว หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว ราคีบพันพัว สุวคนธกำจร พจนานุกรมเป็นหนังสือรวบรวมและให้ความรู้เกี่ยวกับคำที่มีใช้ในภาษา คำในตำรา ตลอดจนคำในหนังสือวรรณคดี และหนังสือทางศาสนา หากพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน จะรวมฉันท์ทั้ง ๑๐๘ ชนิด โดยนิยามและแสดงลักษณะฉันท์แต่ละ ชนิดเป็นแนวเดียวกัน สม่ำเสมอ ครบถ้วนและถูกต้องทุกประการตามกำหนดด้วย พจนานุกรมฯ ก็จะเป็นแหล่งสำหรับค้นคว้าและใช้อ้างอิงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับฉันท์ได้ อย่างสมบูรณ์ นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง อนุสาวรีย์ นักโทษการเมืองที่ไม่มีใครรู้จัก ความโดยสรุปว่า จุดมุ่งหมายของการก่อสร้าง อนุสาวรีย์ก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงคุณธรรมคุณงามความดีของบุคคลและ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ได้กระทำไปแล้วมิให้ลืมเลือนไปตามกาลเวลา เป็นสิ่งคอยเตือนใจ เป็นแรงบันดาลใจ และเป็นตัวอย่างแห่งการดำเนินชีวิตที่จะทำความดี สร้างคุณ ประโยชน์ต่อสังคมยิ่ง ๆ ขึ้นไป เช่น พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ การสร้างอนุสาวรีย์ส่วนใหญ่จะใช้ประติมากรรม เพราะสามารถติดตั้งได้ทุกสถานที่ที่มีที่ว่าง เช่น ประติมากรรมนูนต่ำ นูนสูง ลอยตัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ สถาบันศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้มี การจัดการประกวดอนุสาวรีย์ระดับนานาชาติขึ้นในหัวข้อ “นักโทษการเมืองที่ไม่มีใคร รู้จัก” (The Unknown Political Prisoner) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ประชาคมโลก ได้ตระหนักและรับรู้ถึงพิษภัยอันร้ายแรงและซ่อนเร้นที่โหดร้ายของสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยมีศิลปินจากทั่วโลกส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจำนวน ๓,๕๐๐ ผลงาน แต่มี ๒๐๐ ผลงานเท่านั้นที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมแสดงในการประกวดครั้งนี้ ซึ่งผล งานที่ชนะการประกวดเป็นผลงานของประติมากรชาวอังกฤษชื่อ Reg Butler (พ.ศ. ๒๔๕๖-๒๕๒๔) ผลงานอีก ๔ ชิ้นที่ได้รับรางวัลที่ ๒ คือ ชิ้นที่ ๑ ผลงานของศิลปินอเมริกันชื่อ Naum Gabo ชิ้นที่ ๒ ผลงานของศิลปินอิตาลีชื่อ Mirko Basaldella ชิ้นที่ ๓ เป็นของศิลปินหญิงชาวอังกฤษชื่อ Berbara Hepworth และผลงานชิ้นที่ ๔ เป็นผล งานของศิลปินชาวฝรั่งเศสชื่อ Anton Pevsner ศิลปินที่ได้รับรางวัลเหล่านี้ล้วนเป็น ประติมากรที่มีชื่อเสียงระดับโลกที่ได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์ของการสร้างสรรค์ ประติมากรรม นับได้ว่าการประกวดอนุสาวรีย์ครั้งนี้เป็นการประกวดระดับโลกอย่าง แท้จริง ผลงานที่ส่งเข้าประกวดส่วนใหญ่เป็นผลงานศิลปะร่วมสมัยซึ่งส่วนใหญ่ สร้างสรรค์ด้วยรูปทรงนามธรรม ถือได้ว่าเป็นมิติใหม่ของการสร้างสรรค์อนุสาวรีย์ใน รูปแบบศิลปะร่วมสมัย ซึ่งก่อนหน้านั้นนิยมใช้รูปแบบสัจนิยมและการใช้รูปคนเป็น หลัก การประกวดครั้งนี้มีศิลปินไทยส่งผลงานเข้าประกวดด้วยและได้รับรางวัล ชมเชย คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เขียน ยิ้มศิริ ซึ่งผลงานที่สร้างสรรค์มีลักษณะโดด เด่น ที่มาจากแรงบันดาลใจอาศัยคุณค่าทางสุนทรียภาพที่อ่อนช้อยงดงามที่ได้มาจาก ศิลปะไทยตามแบบประเพณีนิยมทั้งจากจิตรกรรมและประติมากรรม รูปแบบการ สร้างสรรค์เป็นแบบอุดมคติและเนื้อหาของผลงานที่นำมาจากดนตรีไทย ชีวิตไทย และการละเล่นของไทยเป็นหลัก โดยเฉพาะผลงานชื่อ “เสียงขลุ่ยทิพย์” เป็นผลงาน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=