2706_4060
5 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๐ เดือนมีนาคม ๒๕๕๕ นวัตกรรม การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์และ M-education การจัดการโดยอาศัย เทคโนโลยี กลุ่มนี้มีบทบาทสูงแต่เป็นลักษณะเครื่องมือ กำลังเป็นสาระในตัว ใช้ชีวิต อยู่กับเทคโนโลยี และเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใหม่ ความเข้มแข็งทางปรัชญาคือทางออก สร้างคนไทยรุ่นใหม่ให้มีลักษณะวิเคราะห์วิจารณ์ (อย่าเชื่อง่าย) สร้างสรรค์ (คิดใหม่) มีผลงาน (สร้างสิ่งใหม่) รับผิดชอบ (ดูแลสังคม) ด้วยกระบวนการเปลี่ยนกระบวน ทัศน์ (Paradigm) ไปสู่ฐานการคิด (Thinking-Based) เปลี่ยนบทบาทผู้สอนจาก หาความรู้ให้ของผู้สอนไปสู่การหาความรู้ด้วยตัวเองของผู้เรียน เปลี่ยนวัฒนธรรม การรับ (Receiving Culture) เป็นวัฒนธรรมการผลิต (Producing Culture) เพื่อ เป้าหมายในอนาคตการอุดมศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ ศ. ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ปรัชญาสิ่งแวดล้อม ความโดยสรุปว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมสัมพันธ์กับปัญหาการพัฒนาในลักษณะเป็นเนื้อ เดียวกันตามที่เข้าใจและเชื่อถือกันทั่วไปในโลกปัจจุบัน การพัฒนา หมายถึง การ เพิ่มพูนและการยกระดับความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น ให้มีการอยู่ดีกินดี สะดวก สบายยิ่ง ๆ ขึ้น (และสนุก) มีการศึกษาดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตแห่งสุขภาพกายและ สุขภาพจิต มิใช่แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ทั้งสององค์ประกอบชีวิตบูรณาการเข้าด้วย กัน แต่เหตุปัจจัยในการพัฒนามนุษย์ยังไม่ประสบผลสมหวังเท่าที่ควรตราบเท่าทุกวัน นี้ น่าจะเป็นเพราะยังไม่รู้แจ้ง รู้จริงและรู้รอบตัวปัญหา สาเหตุแห่งปัญหาและ แนวทาง ยุทธวิธี หรือมรรควิธีในการแก้ไขปัญหาของความด้อยพัฒนาอย่างแท้จริง นโยบายและแผนการพัฒนาที่ฝังใจอยู่กับค่านิยมและคตินิยมที่ว่า “ความเจริญทาง วัตถุธรรมเท่านั้นคือการพัฒนาที่แท้จริงและถือเป็นแบบอย่าง” ต้องตามสูตรความคิด และความเชื่อสุดโต่งแนววัตถุนิยม ประโยชน์นิยม บริโภคนิยม และสุขกามนิยม ตาม ลำดับ โดยเจริญรอยตามแนวนโยบายและแผนการพัฒนาภายใต้อิทธิพลของระบบ ปรัชญาดังกล่าว ด้วยความจงรักภักดีสุดจิตสุดใจและสุดความคิด ที่นิยมอ้างเป็นนัก เป็นหนาให้ถือเป็นแบบอย่างการพัฒนาที่สมบูรณ์ จนเกิดดุลยภาพความพอดีพองาม สำหรับสังคมตนเอง โดยขาดความเป็นตัวของตัวเอง ศึกษาวิเคราะห์ (แม้การศึกษา เองก็สำเนากันมา) วิจัย คัดสรร กลั่นกรองและสรุปประเมินให้ได้เหตุได้ผลพอเพียง ก่อน การพัฒนาที่ทำลายทรัพยากรและใช้ทรัพยากรเหล่านั้น บนรากฐานแห่ง ทรัพยากรธรรมชาติทั้งมวลอย่างไม่บันยะบันยังสมเหตุสมผลและเกินพอดี มุ่งพัฒนา สังคมเมืองมากกว่าสังคมชนบท ให้คนทั้งหลายผู้ด้อยการศึกษา เหตุผลและคุณธรรม ศีลธรรมปลูกฝังความสำคัญผิดคิดว่า ความเป็นอยู่ของคนเมืองคือแบบอย่างอัน ประเสริฐและสำเร็จรูปที่ควรค่าแก่ความมุ่งมาดปรารถนาในความสำเร็จของชีวิต อัน เป็นสัญลักษณ์ของอารยชนผู้รับการพัฒนาแล้ว ความพยายามในการพัฒนาดังกล่าว ข้างต้นของมนุษย์ที่ตนเองแท้ ๆ ก็เป็นเพียงสิ่งแวดล้อมส่วนหนึ่งเท่านั้น ท่ามกลางสิ่ง แวดล้อมอื่น ๆ ด้วยความพยายาม “เป็นเจ้า” ครองทรัพยากรธรรมชาติและอยู่เหนือ ธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมแม่ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีย่อมให้คุณ อนันต์ และขณะเดียวกันก็ให้โทษมหันต์ ในการพัฒนาทางการเกษตร อุตสาหกรรม และอื่น ๆ โดยอาศัยแนวคิดและความเชื่อกำหนดโดยระบบปรัชญาในระดับที่สุดโต่ง ดังกล่าวข้างต้น นำพาการพัฒนามนุษย์ในสมัยต่อมาซึ่งล้วนช่วยส่งเสริมทัศนคติเกี่ยว กับธรรมชาติ เป็นเพียงวัตถุทรัพย์ที่มนุษย์มีสิทธิอำนาจจับจองเป็นเจ้าของ จัดการ และใช้สนองความประสงค์ใด ๆ ของมนุษย์เองได้ตามอำเภอใจ โลกทัศน์และชีวทัศน์ หล่อหลอมขึ้นแนววัตถุนิยม ฯลฯ สุขกามนิยมดังกล่าว สอนและอบรมมนุษย์ให้เชื่อ ว่าโลกธรรมชาติปราศจากชีวิตจิตใจและความรู้สึกนึกคิด เป็นเพียงแหล่งที่มาแห่ง สรรพกำลังและพลังงาน สนองตัณหากิเลสอันหาขอบเขตจำกัดมิได้ในมิติ กาละ เทศะ และบุคคล จะเห็นว่าการพัฒนาแนวปรัชญาสุดโต่งเหล่านี้ หวังให้ประเทศอื่น ๆ กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งชาติพัฒนาใหม่ เดินตาม สูตร รูปแบบ เนื้อหา และวัตถุประสงค์ เอาแบบอย่างชนชาติตะวันตก ที่รวมพลัง การบริโภคและอุปโภคทรัพยากรธรรมชาติได้ผลมาก่อน และอ้างตนเองว่าเป็นชาติ พัฒนาแล้วอย่างไรอย่างนั้น จึงจักได้ชื่อว่า พัฒนา เจริญรอยตามแบบอย่างนั้น ทั้ง หลายทั้งปวงดังกล่าวนี้ มีนัยสำคัญยิ่งทำให้โลกมนุษย์ต้องประสบปัญหาสิ่งแวดล้อม จากภัยมนุษย์เอง จนกำลังถึงขั้นวิกฤติเข้าทุกที ๆ มนุษย์จึงได้ประสบวิบากกรรมของ ตนจากภัยธรรมชาติและภัยอื่น ๆ เป็นผลตามมา อาทิ วาตภัย อุทกภัย อัคคีภัย ทุพภิกขภัย โจรภัย และราชภัย ภัยประการหลังนี้หมายถึงภัยพิบัติเกิดจากการ ปกครองบริหารประเทศชาติของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐที่ไม่ตั้งอยู่ ในธรรม ขาดความเป็นธรรมและความยุติธรรม ดังที่ประสบกันทั่วหน้าในโลกปัจจุบัน ในความพยายามแก้ไขปัญหาและการบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมให้ประสบผลสำเร็จได้ นั้น ควรต้องอาศัยปรัชญาสิ่งแวดล้อมแนวมัชฌิมนิยม เป็นทั้งหลักการและวิธีการที่ สำคัญและจำเป็นยิ่ง ซึ่งต้องเริ่มที่การจัดการสิ่งแวดล้อมมนุษย์ด้วยกัน มนุษย์ผู้ถูก ผลักดันด้วยพลังแห่งความละโมบโลภมาก ใช้เกินพอดีกินอยู่เกินพอดี ได้เปรียบหมู่ มนุษย์ที่กำลังทุกข์ยากอดมื้อกินมื้อ อันเป็นวิถีชีวิตสุดโต่งอีกข้างหนึ่งในสังคมมนุษย์ แต่อดีตจนปัจจุบัน ความจริงแนวปรัชญาธรรมชาตินิยมมีอยู่ว่า ธรรมชาติย่อมคืน สภาพตัวเองได้ หากไม่โดยน้ำมืออันโหดเหี้ยมเบียดเบียนของมนุษย์ประกอบทุจริต กรรมต่อธรรมชาติซ้ำแล้วซ้ำอีก อย่างไร้คุณธรรมศีลธรรมและกฎกติกาอันชอบธรรม ผ่านกระบวนการวัฒนธรรมทางการศึกษาที่ถูกต้องเพียงพอ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิด จากน้ำมือมนุษย์ผู้ปราศจากน้ำใจ ที่ขาดการปลูกฝังคุณธรรมศีลธรรมและจิต วิญญาณแห่งธรรมชาตินิยม ย่อมเป็นปัญหาที่ค่อย ๆ เพิ่มความรุนแรงโหดร้ายขึ้น ตามลำดับ การแก้ไขบำบัดฟื้นฟูและป้องกัน ย่อมทำได้ยากด้วยวิทยายุทธแนว วัตถุนิยม เป็นต้น หากไม่สามารถจัดการมนุษย์ให้ได้ผลดีก่อน เริ่มด้วยการศึกษาที่ดี ถูกต้องและเพียงพอ ให้คนมีวุฒิภาวะทางเหตุผลและคุณธรรม เป็นได้ทั้งคนเก่งและ คนดีไปพร้อม ๆ กัน ด้วยจิตสำนึกผิดชอบชั่วดี คุณโทษ ความรัก ความหวงแหน ความทะนุถนอม ความสันโดษ (ไม่ใช่ในความหมายมักน้อย) มีจิตสำนึก สาธารณประโยชน์และต่อสมบัติสาธารณะ เพื่อประโยชน์สุขส่วนรวมแก่มนุษยชาติ และสรรพสัตว์อื่น ๆ สำนึกในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่นใน ระบบนิเวศเดียวกัน โดยปราศจากวิสัยทัศน์ นโยบายและแผนอันกว้างไกลสำหรับลูก หลานในอนาคต ก็อย่าได้หวังเลยว่า การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจะบรรลุผล การ จัดการสิ่งแวดล้อมทั้งธรรมชาติและมนุษย์ที่ยืนนาน อันเป็นหลักสำคัญของการ พัฒนาที่ยืนนาน ได้จากการมีส่วนร่วมของทุกคนเพื่อประโยชน์สุขแก่ทุกคนทุกรุ่น และแก่สรรพสิ่งแวดล้อมมนุษย์ เพราะมนุษย์บนผืนโลกใบนี้ ล้วนได้คุณประโยชน์จาก สิ่งแวดล้อมที่บริหารถูกต้องแล้วทั้งสิ้น แต่จะได้รับโทษหากมนุษย์บริหารผิดพลาด ธรรมชาติย่อมยุติธรรมแก่ทุกคนและสรรพสิ่งมีชีวิตอื่นเสมอ โลกมนุษย์ใบนี้มีเพียง หนึ่งไม่มีสำรอง ผลกระทบเกิดในโลกใบนี้ ใต้ดิน บนดิน ใต้น้ำ บนน้ำ ในอากาศ ย่อม มีผลกระทบต่อเนื่องถึงกันทั่วโลก พึงละเว้นแนวทางแก้ปัญหาใด ๆ แบบตัวใครตัวมัน ถือคติ รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดคน ย่อมนำพาสู่ความหายนะแก่มวลมนุษย์ด้วยกัน เพราะทุกคนเป็นหุ้นส่วนได้เสียในโลกใบนี้ และทรัพยากรธรรมชาติอันจำกัดนี้ ต้อง ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมความคิด และร่วมน้ำใจกัน ไม่แบ่งแยกเป็นนายเป็นบ่าว เพื่อ ปกป้องคุ้มครองและบำรุงรักษาโลกนี้และชีวิตนี้ ให้คงอยู่และดำเนินไปอย่างยั่งยืน และยาวนาน แต่มิใช่ชั่วนิรันดร์ ซึ่งผิดกฎธรรมชาติ คือ กฎไตรลักษณ์ ทั้งมิใช่เพื่อ มนุษย์แต่เพื่อธรรมชาติและสิ่งในธรรมชาติด้วยความสมดุลแห่งความเป็นอยู่มีอยู่รวม และร่วมกัน สำนักวิทยาศาสตร์ ๏ วันพุธที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ. ดร.วงจันทร์ วงศ์แก้ว ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง มหาอุทกภัย : สาเหตุ และผลกระทบ ความโดยสรุปว่า รายงานผลการสัมมนา เรื่อง วิกฤตอุทกภัยใน ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๔ : แนวทางแก้ไขด้วยสหวิทยาการ จัดโดยคณะกรรมการ สหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา ราชบัณฑิตยสถาน และมหาวิทยาลัยราชภัฏ จันทรเกษม เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมชั้น ๓ อาคาร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยมีวิทยากร รศ. ดร.ชูเกียรติ ทรัพย์ไพศาล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายจุมพล สำเภาพล รองปลัดกรุงเทพมหานคร นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดี กรมชลประทาน นายวีระพงษ์ บุญญานุสนธิ์ รศ. ดร.สุจริต คุณธนกุลวงศ์ ภาค วิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ศ. ดร.ธวัชชัย ติงสัญชลี เลขานุการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สำนักนายกรัฐมนตรี ผศ.เพ็ญพรรณ เจริญพร มหาวิทยาลัยศิลปากร ดร.วิชญ์ ศรีวงษา วิศวกรปฏิบัติการกรมชลประทาน ดร.ธงชัย โรจนกนันท์ สถาปนิกชำนาญ การพิเศษ ศูนย์ศึกษาและติดตามภัยแผ่นดินไหว มีผู้เข้าร่วมประชุม ๑๗๗ คน การ แบ่งกลุ่มวิทยาศาสตร์ ๕๐ คน กลุ่มสังคมศาสตร์ ๕๔ คน และกลุ่มศิลปวัฒนธรรม ๕๑ คน สรุปได้ว่า สาเหตุการเกิดน้ำท่วมคือ มีน้ำในปริมาณมากกว่าค่าเฉลี่ย ๓๐ ปี มีน้ำเต็มเขื่อนและเกินขีดความสามารถของแม่น้ำและเขื่อนจะรับได้ และขาดความ เข้าใจในการบริหารจัดการระบบนิเวศ หากฝนตกหนักเช่นนี้ น้ำก็จะท่วมอีก แต่จะ รุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ ซึ่งต้องคำนึงถึงระบบนิเวศของลุ่มน้ำ ใน มิติต่าง ๆ ต้องปลูกป่าให้ได้ร้อยละ ๔๐ ของพื้นที่ลุ่มน้ำ สร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนให้ ได้ครบตามศักยภาพของธรรมชาติของพื้นที่ (Tophography) เช่น ลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำสะแกกรังและแม่น้ำป่าสักอีกบางส่วน กำหนดพื้นที่ใช้สอยให้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=