2706_4060
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ๒ ช่วง ช่วงแรก ซ้อมรบในประเทศคาซัคสถาน ส่วนการซ้อมรบในช่วงที่ ๒ ทำกันที่ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่นั้นมาจีนกับรัส- เซียก็ร่วมมือกันซ้อมรบขนาดใหญ่ร่วมกันในนามองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ โดยตั้ง ชื่อว่าพันธกิจแห่งสันติภาพ (Peace Mission) ทุก ๒ ปี โดยเริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ สำหรับการซ้อมรบของพันธกิจแห่งสันติภาพครั้งล่าสุด มีขึ้นในประเทศคาซัคสถาน ในระหว่างวันที่ ๙-๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีสมาชิกขององค์การความร่วมมือ เซี่ยงไฮ้เข้าร่วมการซ้อมรบ ๕ ประเทศ คือ จีน รัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน และทาจิกิสถาน นอกจากนี้ ในทางโลจิสติกส์ทั้งทางการทหารและทางเศรษฐกิจ ก็ เกิดมีปรากฏการณ์โลกร้อน ทำให้น้ำแข็งในขั้วโลกทั้งสองละลาย ทำให้มีการเปิดเส้น ทางเดินเรือผ่านมหาสมุทรอาร์กติกในฤดูร้อนได้เป็นประจำแล้ว ซึ่งจะช่วยให้รัสเซียมี เส้นทางคมนาคมที่ได้เปรียบ เนื่องจากเส้นเดินเรือผ่านทางอาร์กติกนี้สั้นกว่าเส้นทาง เดินเรือคลองสุเอซถึง ๑ ใน ๓ ของระยะทางทีเดียว ดังนั้นองค์การความร่วมมือ เซี่ยงไฮ้จึงเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถมองข้ามไปง่าย ๆ เหมือนปัจจุบัน รศ. ดร.วรวุฒิ หิรัญรักษ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ตัวอย่างความสำเร็จ ของการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและการพัฒนาชุมชน ภาคเกษตรกรรม ความโดยสรุปว่า บทความได้นำเสนอตัวอย่างของบุคคลทั่วไป เกษตรกรทฤษฎีใหม่ กลุ่มเกษตรกรทฤษฎีใหม่และชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงที่ประสบ ความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต การ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการพัฒนาชุมชนในภาคเกษตรกรรม ซึ่งได้รับการ ประกันความสำเร็จ โดยได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในการประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้แก่ – นายแสนหมั้น อินทรไชยา อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ได้รับรางวัลชนะ เลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประเภทประชาชนทั่วไป – นายจันทร์ที ประทุมภา บ้านโนนรัง ตำบลตลาดไทร อำเภอชุมพวง จังหวัด นครราชสีมา ได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประเภทเกษตรกรทฤษฎีใหม่ – กลุ่มเกษตรทำสวนบ้านถ้ำ ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ได้ รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประเภทกลุ่ม เกษตรกรทฤษฎีใหม่ – ชุมชนบ้านดอกบัว ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมืองฯ จังหวัดพะเยา ได้รับรางวัล ชนะเลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประเภทชุมชนเศรษฐกิจพอ เพียง ซึ่งเกษตรกรและผู้ที่สนใจสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง การประกอบอาชีพเกษตรกรรม กลุ่มเกษตรกร และชุมชน ให้มีความพอเพียงและมี ความมั่นคงได้อย่างยั่งยืน โดยยึดหลักการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นฐาน ของการดำเนินชีวิต และกิจกรรมต่าง ๆ ไปในทางสายกลางที่เหมาะสมด้วยองค์ ประกอบที่สำคัญ ๓ ประการ คือ หลักความพอเพียง พอประมาณไม่มากเกินไป ไม่ น้อยเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น หลักความมีเหตุผล ทุกคนตัดสินปัญหา ต่าง ๆ ด้วยความมีเหตุมีผลโดยพิจารณาถึงสาเหตุของปัญหา แนวทางของการแก้ไข ปัญหาและผลที่เกิดขึ้นตามมาของการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง และสมาชิก ในครอบครัว กรณีของกลุ่มใช้การประชุมปรึกษากันภายในกลุ่ม กรณีของชุมชนใช้ การประชาคมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพิจารณา หลักการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดย ทุกคนมีการเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก ครอบครัว กลุ่ม และชุมชน เช่น การดูแล สุขภาพของตนเองและคนในชุมชนให้มีสุขภาพแข็งแรงดีตลอดเวลา มีการสะสมเงิน ออมไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน การสร้างกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มอื่น ๆ ไว้ใน ชุมชน เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การทำเกษตรผสมผสานหรือเกษตรประณีต ตาม หลักเกษตรกรรมทฤษฎีใหม่ โดยการปลูกพืชไร่นาสวนหลากหลายชนิดผสมกับการ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา แทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพียงอย่างเดียว เพื่อป้องกันความ เสี่ยงทางการเกษตร มีตลาดหลักและตลาดรองเพื่อลดความเสี่ยงทางการตลาด มี อาชีพหลักและอาชีพเสริมหลากลายชนิดทำให้มีรายได้เข้ามาสู่ครอบครัวและชุมชน ตลอดทั้งปี มีการออมทรัพย์ ออมดิน ออมน้ำ บำรุงรักษาป่าไม้และแหล่งน้ำ ธรรมชาติ มีการปลูกป่าชุมชน เพื่อทดแทนส่วนที่ตัด เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบ อาชีพเสริม ทำให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี และมีแหล่งทุนทรัพย์และทุนทาง ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งมีการสร้างเครือข่ายกลุ่มและเครือข่ายชุมชนใน ระดับอำเภอและระดับจังหวัด เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในระดับสูงขึ้นไป อีก ทั้งนี้ต้องตั้งมั่นอยู่บนเงื่อนไขสำคัญคือ เงื่อนไขความรู้ โดยทุกคนต้องหมั่น แสวงหาความรู้ทางวิชาการต่าง ๆ ให้รอบด้านอยู่เสมอ โดยการศึกษาเรียนรู้จาก ศูนย์การเรียนรู้หรือปราชญ์ชาวบ้าน (ภูมิปัญญาท้องถิ่น) ภายในชุมชนหรือภายนอก ชุมชน และโดยผ่านการฝึกอบรมดูงานต่าง ๆ ที่จัดโดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และนำความรู้ใหม่ที่ได้รับมาถ่ายทอดให้แก่กันโดยผ่าน ศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆ และมีความรอบคอบระมัดระวังในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติ ทั้งในการลงทุนในการเกษตรและการประกอบอาชีพเสริมต่าง ๆ และในการวางแผน กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน เงื่อนไขคุณธรรม ทุกคน ต้องมีความตระหนักในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน อดออม รู้จัก ประมาณตน อดกลั้นต่อความอยากได้ ขยันหมั่นเพียร ไม่หมกมุ่นในสิ่งของมึนเมา และอบายมุข เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งบัน และใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ซึ่งชุมชน สามารถมีส่วนร่วมได้โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมศาสนาและคุณธรรม การอบรมสั่ง สอน และการประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ในชุมชน การพัฒนาตนเอง ครอบครัว กลุ่ม และชุมชน ให้ประสบความสำเร็จตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงได้อย่างยั่งยืนจะต้องทำเป็นลำดับขั้นตอน โดยเริ่มต้นจาก “ระเบิดข้างใน” คือทุกคนมีจิตสำนึก มีความศรัทธาเชื่อมั่น เห็นคุณค่าและนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ด้วยตนเอง ทำให้ตนเองและครอบครัวมีความพอเพียงได้ด้วยตนเองเสียก่อน โดย การวิเคราะห์ปัญหาและหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไขต่าง ๆ ให้ได้ด้วย ตนเองและสมาชิกในครอบครัว หาหนทางเพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย และต้นทุนการ ผลิตต่าง ๆ มีการออมทรัพย์ทั้งในครอบครัวและในกลุ่มและชุมชน เพื่อเป็นทุน สำหรับลงทุนครั้งต่อไป และช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายในชุมชน เมื่อตนเอง ครอบครัว กลุ่มและชุมชน มีความพอเพียงแล้ว จึงขยาย ความร่วมมือสร้างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงไปนอกชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความพอเพียงในระดับประเทศต่อไป ๏ วันพุธที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ศ. ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ปรัชญาอุดมศึกษาไทย ความโดยสรุปว่า ปรัชญาอุดมศึกษาไทย แบ่งเป็น ๕ กลุ่ม คือ อุดมคตินิยม ปัญญา นิยม ชุมชนนิยม ปฏิบัตินิยม เทคโนโลยีนิยม แนวทางการศึกษาปรัชญาการศึกษามี ๔ รูปแบบ คือ รูปแบบที่ ๑ ศึกษาแนวคิดของบุคคล รูปแบบที่ ๒ ศึกษาความ หมายที่แท้จริงของคน รูปแบบที่ ๓ ศึกษาตามปรัชญาพื้นฐาน รูปแบบที่ ๔ ศึกษา ภาพรวมของกลุ่มความคิด มนุษย์ต้องอยู่ในสังคมและต้องการเป็นปัจเจกบุคคล ใน ขณะที่โลกกำลังเปลี่ยน วิทยาศาสตร์ของมนุษยชาติ เราต้องการสังคมแบบไหน สุขภาพแข็งแรง สมอง วิธีทำงาน จิตใจ และจิตวิญญาณ ใครควรจะดูแล ในอดีตคือ ศาสนา แต่ปัจจุบันอาจไม่พอเพียง เราขาดหายจากการศึกษาไม่ได้ เพราะนั่น คือ ความเป็นคน ปรัชญาอุดมศึกษาไทย ๕ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ ๑ ปรัชญาอุดมศึกษากลุ่ม อุดมคตินิยม มีเป้าหมาย คือ มนุษย์สามารถไปสู่ความหลุดพ้น สาระเน้นด้านศาสนา จิตใจ คุณธรรมจริยธรรม และวิถีพุทธ ด้วยการอบรมเพื่อเป้าหมายสูงสุดทางศาสนา การจัดการด้านความยึดถืออาวุโส ประเพณี วัฒนธรรม กลุ่มนี้ยังไม่มีภาพรวมที่ สมบูรณ์ ยังไม่เข้มแข็งพอ ปัจจุบันอ่อนแรงไปมาก เป็นบัณฑิตอุดมคติ กลุ่มที่ ๒ ปรัชญาอุดมศึกษากลุ่มปัญญานิยม มีเป้าหมาย คือ มนุษย์ต้องมีความสามารถทาง ปัญญา สาระเน้นด้านที่มา ประวัติศาสตร์ ประมวล อภิปราย วิเคราะห์ ด้วยการ พัฒนาปัญญา แยกแยะ ตีให้แตก มีความคิดของตนเอง การจัดการโดยใช้คณะ กรรมการตัดสินใจเป็นคณะ ประสบการณ์ ข้อมูล กลุ่มนี้ยังไม่ชัดเจน ไม่จริงจัง ไม่มี การวางแผนที่สมบูรณ์ ไม่มีสำนักทางความคิด (School of Thought) กลุ่มที่ ๓ ปรัชญาอุดมศึกษากลุ่มชุนชนนิยม มีเป้าหมายคือ มนุษย์รู้จัก เข้าใจ ใช้ชีวิตกับชุมชน สาระเน้นด้านวัฒนธรรม ที่มา สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลง ด้วยการตระหนัก เรียนรู้ อยู่กับชุมชน พัฒนาชุมชน การจัดการด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน คืนการ ศึกษาสู่ชุมชน กลุ่มนี้มีบทบาทพอสมควร มีรูปแบบอยู่บ้าง แต่ยังสร้างความตระหนัก ไม่พอ สิ่งแวดล้อมศึกษายังไม่ชัดเจน กลุ่มที่ ๔ ปรัชญาอุดมศึกษากลุ่มปฏิบัตินิยม มี เป้าหมายคือ มนุษย์สามารถปรับเปลี่ยนตามโลก สาระเน้นด้านความเป็นสมัยใหม่ ภาษา ธุรกิจและนานาชาติ ด้วยโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยี การจัดการใช้แนวคิดแบบ บริหารจัดการนิยมและพาณิชยนิยม กลุ่มนี้มีภาพชัด ความเป็นนานาชาติ กลุ่มที่ ๕ ปรัชญาอุดมศึกษากลุ่มเทคโนโลยีนิยม มีเป้าหมายคือ มนุษย์ใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยี สาระเน้นด้านเทคโนโลยีในลักษณะและรูปแบบต่าง ๆ เทคโนโลยี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=