2706_4060
3 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๐ เดือนมีนาคม ๒๕๕๕ สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ รศ. ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง องค์การความร่วม มือเซี่ยงไฮ้ ความโดยสรุปว่า ในขณะที่กลุ่มประเทศนาโตกำลังฮึกเหิม และ สหรัฐอเมริกาประกาศว่า ได้เกิดมี New World Order ขึ้นใหม่แล้ว โดยมี สหรัฐอเมริกาเป็นเพียงประเทศอภิมหาอำนาจของโลกเพียงประเทศเดียวเท่านั้น ใน พ.ศ. ๒๕๓๙ ทั้งจีนและรัสเซียซึ่งได้เล็งเห็นภัยคุกคามทางการทหารร่วมกันจาก องค์การนาโต จึงทำการหารือต่อเนื่องกันมาถึง พ.ศ. ๒๕๔๐ และได้ก่อตั้งองค์การ ความร่วมมือร่วมกัน โดยเชิญชวน ๓ ประเทศในเอเชียกลาง ได้แก่ ประเทศคาซัค สถาน คีร์กีซสถาน และทาจิกิสถาน มาร่วมด้วย ระยะแรก องค์การนี้ใช้ชื่อว่า “เซี่ยงไฮ้ ๕” และได้ประเทศอุซเบกิสถานเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี ๒๕๔๔ จึงได้ ประกาศการจัดตั้ง “องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (SHANGHAI COOPERATION ORGANIZATION-SCO)” ขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยมีสมาชิก ๖ ประเทศ คือ จีน รัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน ซึ่งมีพื้นที่รวมกันถึง ๓๐ ล้านตารางกิโลเมตร หรือคลุม พื้นที่ ๓ ใน ๕ ของยูเรเซีย มีประชากรรวมกัน ๑,๔๕๕ ล้านคน คิดเป็น ๑ ใน ๔ ของ ประชากรโลก เดิมการประกาศก่อตั้งองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้นั้น อ้างว่าเป็น เพียงความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับพรมแดนระหว่างรัสเซียกับ จีน และบรรดาประเทศในเอเชียกลางทั้ง ๕ ประเทศเท่านั้น แต่ในปี ๒๕๔๕ องค์การ ได้ประชุมกันที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย และได้ตกลงร่างกฎบัตรของ องค์การ และขยายความร่วมมือ จากการสร้างความไว้วางใจกัน ไปสู่ความร่วมมือ ด้านการเมือง ความมั่นคงและการทหาร การทูต เศรษฐกิจ การค้า กระทั่งได้เพิ่ม ความร่วมมือต่อต้านการก่อการร้ายเข้าไปด้วยในเวลาต่อมา ความร่วมมือด้านความ มั่นคงนั้น รวมถึงการซ้อมรบร่วมกันของประเทศสมาชิกในการต่อต้านการก่อการร้าย ร่วมกัน ข้อตกลงกำหนดว่า หากมีภัยคุกคามต่อสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคง ของภูมิภาค ประเทศสมาชิกจะประชุมปรึกษาหารือกันโดยทันที เพื่อตอบโต้ภัย คุกคามดังกล่าว ในการประชุมสุดยอดผู้นำเมื่อปี ๒๕๔๘ ที่ประชุมได้เรียกร้องให้มี การถอนทหารต่างชาติ (ตะวันตก) ออกจากภูมิภาค เช่น อัฟกานิสถาน ซึ่งรวมถึง การยุบฐานทัพสหรัฐออกจากอุซเบกิสถานด้วย ในกลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ผู้นำรัสเซีย จีน คาซัคสถาน คีร์กิซสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน ซึ่งเป็น สมาชิกองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ ประชุมกันที่เมืองบิเชค ประเทศคีร์กิซสถาน โดยผู้นำอิหร่าน อัฟกานิสถาน เติร์กเมนิสถาน มองโกเลีย ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม ด้วย เช่นเดียวกับอินเดียและปากีสถาน ได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าร่วม การประชุม ครั้งนี้มีความหมายทางยุทธศาสตร์อย่างยิ่ง เนื่องจากรัสเซียและเอเชียกลาง เป็นผู้ ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลก และมีน้ำมันและก๊าซ ธรรมชาติสำรองจำนวนมหาศาล ในขณะที่จีนเป็นผู้บริโภคพลังงานรายใหญ่ที่สุดของ โลก รองจากสหรัฐ หากอิหร่านได้รับอนุมัติให้เป็นสมาชิกถาวรในโอกาสต่อไป ความ สำคัญของกลุ่มนี้ในเชิงพลังงานโลก ย่อมมีความหมายทางยุทธศาสตร์อย่างมโหฬาร เลยทีเดียว เนื่องจากอิหร่านมีน้ำมันดิบสำรองเป็นอันดับ ๔ ของโลกและเป็นอันดับ ๒ ของภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นรองเฉพาะซาอุดีอาระเบียเท่านั้น ในวาระการ ประชุมสุดยอดปีนี้ ที่ประชุมได้ปรึกษาหารือถึงความเป็นไปได้ ที่จะตั้งกลุ่มผู้ผลิตและ ส่งออกพลังงานขึ้นมาอีกกลุ่มหนึ่ง โดยที่ภูมิภาคนี้มีเครือข่ายท่อน้ำมันและก๊าซ ธรรมชาติกว้างขวาง ซึ่งสามารถใช้เป็นฐานสำหรับ “ตลาดพลังงานเอเชีย” ได้ นัก สังเกตการณ์การเมืองระหว่างประเทศมองว่า นี่คือการรวมพลังเพื่อสู้กับอิทธิพลของ สหรัฐและตะวันตก เพื่อแสดงให้เห็นว่า โลกใบนี้ไม่ใช่มีแต่เฉพาะตะวันตกเท่านั้น แต่ ยังมีรัสเซีย จีน และเอเชียกลางด้วย ที่จะมองข้ามไม่ได้ และต่อไปองค์การความ ร่วมมือเซี่ยงไฮ้จะเพิ่มบทบาทในความร่วมมือกับสหภาพยุโรป ท่อน้ำมันและก๊าซ ธรรมชาติจะเชื่อม ๒ ทวีปเข้าด้วยกัน คล้ายกับ “เส้นทางสายไหม” ในอดีต นอกจาก นั้น ในการประชุมสุดยอดปีนี้ ที่ประชุมยังปรึกษาหารือถึงสถานการณ์ใน อัฟกานิสถาน ปัญหาการค้ายาเสพติด และความไร้เสถียรภาพทางการเมืองใน ภูมิภาคด้วย หลังจากการประชุม ผู้นำของประเทศสมาชิกทั้ง ๖ ได้เดินทางต่อไปยัง รัสเซีย เพื่อร่วมสังเกตการณ์การซ้อมรบร่วมกันระหว่าง ๖ ชาติ ซึ่งรียกว่า “ภารกิจ เพื่อสันติภาพ ปี ๒๕๕๐” องค์การนี้อาจมาแทน “องค์การสนธิสัญญาวอซอร์” ของ สหภาพโซเวียตและพันธมิตรในช่วงสงครามเย็นก็เป็นได้ หรือตะวันตกจะเรียกว่านี่คือ “องค์การนาโตฝั่งตะวันออก” จากที่กล่าวมาแล้วว่า องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้เป็นการริเริ่มของจีนที่ ต้องการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างชาติสมาชิก และลดกำลังรบที่ประจำอยู่ ตามพรมแดนติดต่อกัน การที่จีนริเริ่มและให้ความสำคัญกับองค์การความร่วมมือ เซี่ยงไฮ้มาก เพราะจีนมียุทธศาสตร์ที่จะผนึกกำลังกับรัสเซีย เป็นอีกกลุ่มหนึ่งเพื่อ แสดงบทบาทต่อการกำหนดชาตาของโลก เป็นการคานอำนาจสหรัฐอเมริกาและ ตะวันตก ลดการขัดแย้งกับรัสเซียบริเวณพรมแดน จีนมองรัสเซียและเอเชียกลาง เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ที่สามารถสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น ของจีนได้อย่างดี อีกทั้งการขนส่งสั้นกว่า สามารถใช้ครอบคลุมพื้นที่ตะวันตกและ ตะวันตกเฉียงเหนือของจีนได้ทั้งหมด ปีที่แล้วจีนนำเข้าน้ำมันจากเอเชียกลางคิดเป็น ร้อยละ ๑๓ ของที่นำเข้าทั้งหมด และสร้างท่อน้ำมันเชื่อมคาซัคสถาน-จีน จีนทำข้อ ตกลงสำรวจและขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติกับอุซเบกิสถาน นอกจากนั้น จีน ต้องการสร้างสัมพันธ์อันดีกับประเทศในเอเชียกลางซึ่งเป็นมุสลิม เพื่อไม่ให้สนับสนุน กลุ่มกบฏมุสลิมอุยกูร์ ที่ต้องการแยกเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน ทำให้ จีนขยายความร่วมมือด้านการก่อการร้ายกับรัสเซียและประเทศสมาชิก เพราะ รัสเซียก็เจอปัญหากลุ่มจากกบฏมุสลิมเชชเนียเช่นกัน ส่วนรัสเซียต้องการร่วมมือกับ จีน เพื่อสร้างพลังในการต่อต้านอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาและตะวันตก และถือว่าจีน เป็นลูกค้าสำคัญแห่งหนึ่งในตลาดพลังงานของรัสเซีย ที่รัสเซียสร้างท่อส่งน้ำมัน มายังจีน อีกทั้งความร่วมมือในองค์การดังกล่าว เท่ากับทำให้รัสเซียสามารถมี อิทธิพลเหนือเอเชียกลางซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตในอดีต โดยรัสเซีย ถือว่าเอเชียกลางเป็นเขตอิทธิพลของตนที่ต้องรักษาไว้ ไม่ให้สหรัฐอเมริกาและตะวัน ตกรุกเข้ามาได้ รัสเซียยังมีความมุ่งหมายที่จะมีส่วนในการกำหนดราคาน้ำมันและ ก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกด้วย หากอิหร่านเข้าเป็นสมาชิกสมบูรณ์ เพราะรัสเซียและ อิหร่านเป็นประเทศที่มีก๊าซธรรมชาติสำรองมากที่สุดเป็นอันดับ ๑ และ ๒ ของโลก รัสเซียมีแผนที่จะสร้างท่อก๊าซธรรมชาติเชื่อมอิหร่านมาปากีสถานและอินเดีย “สโมสรพลังงานใหม่” นี้ จะรวมพลังระหว่างประเทศผู้ผลิต ผู้บริโภค และประเทศ ทางผ่าน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้ภูมิภาค ในขณะที่เอเชียกลางที่เข้าร่วม กับรัสเซียและจีน เพื่อเพิ่มบทบาทและความสำคัญของตนในเวทีโลกและตลาด พลังงานมากยิ่งขึ้น เพราะประเทศในเอเชียกลางไม่อาจอยู่ได้ด้วยตนเอง เนื่องจาก เกิดความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงได้หลักประกันความ มั่นคงจากรัสเซียและจีน ไม่ต้องทำให้เอเชียกลางเอนเอียงไปกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นอกจากนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒ ทั้งรัสเซียและจีนได้ร่วมกันเสนอเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ช่วยเหลือ ประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียกลางทั้ง ๔ ประเทศ เป็นจำนวนเงินถึง หนึ่งหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ใน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในการประชุมสุดยอดของผู้นำทั้งหมด ขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ที่ประเทศคาซัคสถาน ได้มีการประกาศร่วมกันของ ผู้นำประเทศสมาชิกทุกประเทศ แสดงถึงความจำเป็นในการที่จะร่วมมือกันป้องกันผล เสียหายร้ายแรงที่มากับปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ การขยายตัวของบรรษัทข้ามชาติ โดยจะต้องไม่มีการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศต่าง ๆ ทั้งสิ้น จะใช้เรื่องสิทธิ มนุษยชนหรือลัทธิประชาธิปไตยมาอ้างเพื่อการแทรกแซงจะกระทำมิได้ นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซีย นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ ยังได้ ประกาศว่า “การรวมตัวกันขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ ได้เปิดโอกาสให้มี การบูรณาการกันในเชิงภูมิรัฐศาสตร์รูปแบบใหม่” ในช่วงไม่กี่ปีมานี้กิจกรรมของ องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางในความร่วมมือทางการ ทหาร การแชร์ข่าวกรองและความร่วมมือในการปราบปรามผู้ก่อการร้าย มีการซ้อม รบร่วมกันของประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้เป็นประจำ การซ้อมรบ ร่วมครั้งแรกขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้มีขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยแบ่งเป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=