2705_1684

7 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๔๙ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ๕. การใช้สีเปลี่ยนเป็นคุณ เช่น อาคารใบหยก ถนนราชปรารถ ตั้งอยู่ย่าน ประตูน้ำตามหลักฮวงจุ้ย ถือว่าเป็นทำเลเศรษฐีมีเงินทุนหมุนเวียนโดยรอบสูง มาก ผู้ใดอยู่อาศัยหรือทำกิจการค้าจะพลอยประสบความสำเร็จ สีที่ทาบนตัว อาคารล้วนเป็นสีที่ส่งเสริมพลังของอาคารได้มาก ๖. ใช้ส่วนประกอบอาคารเป็นตัวเลขที่เป็นมงคลหรือเลขนำโชค สำหรับ ชาวจีน ตัวเลข ๘ เชื่อกันว่า จะนำความเจริญมาให้ หรือหอรัชมงคล ใน สวนหลวง ร.๙ ผู้ออกแบบจึงใช้เลข ๙ เป็นตัวเลขมงคล ๗. ออกแบบให้รูปแบบขอทางเข้าหลัก ตำแหน่งโถงสัญจร และบริการให้ สอดคล้องกับตำราภูมิโหราศาสตร์ ๘. การดูลักษณะที่ดินและรูปแบบอาคาร เหมือนการนำจิตวิทยามา ประยุกต์ใช้ในการทำนาย ลักษณะที่ดินที่มีเขาโอบล้อมที่เรียกว่า มังกรโอบ นั้น เป็นที่ดินที่มีเขาล้อมสองด้าน มีคูน้ำร่มรื่น ซึ่งตามสามัญสำนึกย่อมเป็นที่ดิน ที่ดีกว่าทุ่งนาราบ โล่ง แห้งแล้งอยู่แล้ว ผู้ซื้อบ้านในโครงการบ้านจัดสรร ดูทางเข้า - ออกที่ถูกต้องตามตำรา บ้านเดี่ยวในแปลงที่ดิน ที่ผู้ซื้อจะตรวจสอบ ลักษณะฮวงจุ้ยของที่ดินและทางเข้าออกของตัวบ้านให้เป็นมงคล ๙. การแก้เคล็ดด้วยการติดตั้งสิ่งคุ้มกันรูปแบบต่าง ๆ ผู้ซื้อที่มีความเชื่อใน ด้านทำเลที่ตั้งตามหลักภูมิโหราศาสตร์ อย่างคอนโดมิเนียมริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้สะพานขึง ได้รับคำแนะนำจากซินแสให้จัดหา “สิ่ง” มาช่วยรับพลังข่มจาก สะพาน เช่น ลูกกลมทำด้วยอะลูมิเนียม กระจกแปดทิศ ความเชื่อในเรื่องเหล่านี้ บางครั้งทำให้สถาปนิกต้องนำมาเป็นเครื่อง ประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับการออกแบบรูปแบบและส่วนประกอบอาคาร • วันอังคารที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ รศ. ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “ศาลหลักเมือง” ความโดยสรุปว่า การสร้างศาลหลักเมือง ตรงกลางศาลเป็นที่ตั้งของหลักเมือง ปิดทองคำเปลว รอบ ๆ หลักเมืองมีเทพารักษ์ ๕ องค์ ได้แก่ เจ้าพ่อหอกลอง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬ และเจ้าพ่อเจตคุปต์ (หรือเรียกอย่าง สามัญว่า เจตคุก) เทพารักษ์ ๔ องค์ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์และปิดทอง ส่วนอีก องค์เป็นไม้แกะสลักแล้วปิดทอง การที่พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬ และเจ้าพ่อเจตคุปต์มารวมอยู่ในศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อาจด้วยศาลเดิมที่เคย ประดิษฐานถูกรื้อและไม่มีการสร้างศาลใหม่ด้วยเหตุการณ์บ้านเมืองที่ เปลี่ยนแปลงไป ทางการจึงได้อัญเชิญให้มาประดิษฐานในที่เดียวกัน สำหรับพระ หลักเมือง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระกาฬ เป็นเทพารักษ์ที่พระมหา กษัตริย์ ประชาชนได้เคารพนับถือมาแต่โบราณ โดยยกย่องว่าเป็นเทพารักษ์ที่ สามารถอำนวยความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล ป้องกันภัยพิบัติให้แก่ผู้เคารพได้ ทุก สมัยในพระราชพิธีต่าง ๆ ต้องอัญเชิญเทพารักษ์เหล่านี้เสด็จมาประทับเป็น ทิพสักขีด้วย เมื่อใดที่ประชาชนมีทุกข์ภัยก็มาบวงสรวงเทพารักษ์เหล่านี้ เมื่อได้ ผลสมปรารถนาก็จะมีละครหรือปี่พาทย์ถวาย ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างพระสยาม เทวาธิราชแล้ว ก็ถือกันว่าพระสยามเทวาธิราชเป็นประมุขของเทพารักษ์ มีพระ เสื้อเมือง พระทรงเมือง พระหลักเมือง พระกาฬเป็นเทพบริวาร โดยมอบให้พระ เสื้อเมืองคุ้มครองป้องกันทางบกทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากรครอบคลุม เมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข มอบให้พระทรงเมืองมีหน้าที่ป้องกันไพร่ฟ้าประชากรทั่ว ประเทศ มีปู่เจ้าเขาเขียว ปู่เจ้าสมิงพรายเป็นบริวาร มอบให้พระหลักเมืองมีหน้า ที่คุ้มครองพระราชกำหนดกฎหมาย ให้ขุนศาลตุลาการดำเนินไปด้วยความเที่ยง ธรรม เป็นหลักค้ำจุนบ้านเมืองมิให้ซวนเซ และมอบให้พระกาฬมีหน้าที่ป้องกัน ผู้คนทำความชั่ว ป้องกันความเจ็บไข้ สอดส่องบุคคลอันธพาลในยามค่ำคืนด้วย การขี่นกแสกตรวจตรา หากบุคคลใดถึงฆาตก็นำตัวไปให้พระยมชำระ ถ้ามีความ ดีก็ส่งไปสวรรค์ ถ้ามีความชั่วก็ส่งลงนรก เทพารักษ์หลักเมืองเป็นที่เคารพ สักการะของประชาชนทุกชั้นบรรดาศักดิ์ นับแต่พระมหากษัตริย์ลงมาจนถึง ประชาชนพลเมือง ความเลื่อมใสศรัทธานั้นยังได้สืบเนื่องมาจนทุกวันนี้ ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “อิทธิพลของ พระจันทร์กับนาฏศิลป์ไทย” ความโดยสรุปว่า อิทธิพลของพระจันทร์ที่มีต่อการ แสดงนาฏศิลป์ไทยเกิดจากการจินตนาการของศิลปินโดยนำความเป็นพระจันทร์ มาจาก ตำนาน โหราศาสตร์ รูปทรง สีสัน สัญลักษณ์ของความรัก ความสงบ และพลัง พระจันทร์ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยมีบทบาทมากมายหลากหลาย ลักษณะ ดังนี้ - พระจันทร์ในฐานะเทพเจ้า - พระจันทร์ในตำราโหราศาสตร์ - พระจันทร์ในการประดิษฐ์กระบวนท่ารำ - พระจันทร์ในการเปรียบเทียบความงดงามของสตรี - พระจันทร์ในการเปรียบเทียบความงามของบุรุษ - พระจันทร์ตัวแทนของความสุข ความรัก การเกี้ยวพาราสี ความสงบและพลัง พระนามของพระจันทร์ปรากฏมีมากมาย เช่น จันทร์ จันทร จันทรา โสม โสมเทพ รัชนี แข ดวงเดือน เดือน ศศิ ศศิธร การแสดงนาฏศิลป์ไทยที่ได้รับ อิทธิพลจากพระจันทร์ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ - ละครเทพนิยายเบิกโรง เรื่อง กำเนิดสุริยะและโสมเทพ - บทละครเทพนิยายเบิกโรง เรื่องกำเนิดสุริยะและโสมเทพ ประพันธ์ บท โดยอาจารย์เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ - การแสดงโขน ชุดรามาวตาร - ระบำสตวาร - ระบำสวัสดิรักษา - รำแม่บทใหญ่ - รำวงมาตรฐาน - ฟ้อนดวงเดือน พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิชัย มหินทโรดม - การแสดงละครนอกเรื่องสังข์ทอง ตอนเลือกคู่ - ละครเรื่องเลือดสุพรรณ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ประพันธ์บท - บทโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด สำมนักขาหึง - รำกระทบไม้ - ฟ้อนจันทราพาฝัน - การแสดงโขนชุดหนุมานชาญสมร (กำเนิดหนุมาน)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=