2705_1684

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ๘. นโยบายพลังงาน ๙. นโยบายด้านการศึกษา ๑๐. นโยบายด้านการบริการสาธารณสุข ๑๑. นโยบายอุตสาหกรรม ๑๒. นโยบายการท่องเที่ยว ๑๓. นโยบายการพัฒนาพื้นที่ชุมชนชนบท ๑๔. นโยบายพื้นที่ชายฝั่งทะเล ๑๕. นโยบายพื้นที่ต้นน้ำลำธารพื้นที่ลุ่มน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ ๑๖. นโยบายด้านการเกษตร ๑๗. นโยบายป้องกันภัยธรรมชาติและพื้นที่เสี่ยงภัย ๑๘. นโยบายพื้นที่ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ๑๙. นโยบายด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๒๐. ผลผลิต ผลลัพธ์ และตัวชี้วัดของนโยบายแต่ละด้าน • วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ผศ. ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “ การบูชา สูรยเทพหลังยุคพระเวท” ความโดยสรุปว่า ชาวอารยะเข้ามาในอินเดียเมื่อราว ๑,๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช บูชาดวงอาทิตย์ในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในช่วง เวลาต่าง ๆ ของวันในฐานะเป็นเทพหลายองค์ เช่น เทพสวิตฤ เทพที่คอย กระตุ้นเตือนสิ่งมีชีวิตในโลก ปูษัน เทพผู้ดูแลรักษาสิ่งมีชีวิตทั้งมวล วิษณุ เทพผู้ ก้าวยาว ชาวอารยะยุคพระเวทยังไม่มีความคิดว่าเทพเหล่านั้นมีรูปร่างอย่าง มนุษย์ และไม่มีเทวาลัยสำหรับเทพ เมื่อจะถวายเครื่องสังเวยก็จะประกอบยัชญ พิธี คือ พิธีถวายเครื่องสังเวยที่เป็นอาหารที่พวกเขาคิดว่าเทพชอบโดยเผาไฟ ถวาย โดยมีพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีสวดบทสวดในพระเวทในการประกอบพิธี คายัตรีมันตระเป็นมนตร์ที่สำคัญที่สุด คนในวรรณะพราหมณ์วรรณะกษัตริย์และ วรรณะแพศย์จะต้องสวดในพิธีทางศาสนาทั้งหมดซึ่งในมันตระนั้น เทพสวิตฤได้ รับการอ้อนวอนให้กระตุ้นสติปัญญาของผู้บูชา ต่อมาชนเผ่าสิเถียนหรือที่ชาวอินเดียเรียกว่าชาวศกะได้โจมตีและยึดครอง แคว้นบักเตรีย (Bactria) เมื่อถูกเผ่ายือห์-จีห์ (Yueh-chih ) รุกไล่ จึงได้โจมตี เผ่าปาร์เถียน (Parthian) ซึ่งปกครองอิหร่าน จากนั้นได้โจมตีชาวกรีกที่ปกครอง ภาคเหนือของอินเดีย ชาวศกะแผ่อำนาจไปในอินเดียจนถึงเมืองมถุรา กษัตริย์ ชาวศกะองค์แรกที่สุดที่ปกครองภาคเหนือของอินเดียจนถึงประมาณ พ.ศ. ๖๒๓ มีพระนามว่า เมาเอส (Maues) ต่อมาชาวหูนะเป็นชนเผ่าเอเชียกลางที่บุกรุก เข้าไปในอินเดียในรัชสมัยของพระเจ้ากุมารคุปตะที่ ๑ แห่งราชวงศ์คุปตะ (ราว พ.ศ.๙๕๘-๙๙๗) พระเจ้าสกันทคุปตะโอรสของกุมารคุปตะที่ ๑ ซึ่งปกครอง อินเดียต่อจากพระราชบิดา (ราว พ.ศ.๙๙๗-๑๐๑๐) สามารถหยุดการแผ่อำนาจ ของชาวหูนะไว้ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่เมื่อถึงราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ราชวงศ์คุปตะก็ไม่สามารถต้านทานอำนาจของชาวหูนะไว้ได้ ภาคตะวันตกของ อินเดียตกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ชาวหูนะ กษัตริย์ชาวหูนะที่มีอำนาจ ที่สุดคือ โตรมาณะและมิหิรกุละจากหลักฐานที่เป็นจารึกแสดงว่ากษัตริย์ชาวหูนะ นับถือพระสูรยเทพยุคหลังพระเวท หลักฐานแรกที่สุดที่แสดงว่ามีการบูชาสูรยเทพที่มีรูปร่างอย่างมนุษย์ ก็คือ ภาพสูรยเทพที่ปรากฏบนเหรียญของกษัตริย์ชาวศกะ ซึ่งปกครองแคว้นคุชราต ทางภาคตะวันตกของอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ ๖ เป็นศาสนาที่ชาวศกะนำมา จากเอเชียกลาง ซึ่งในคัมภีร์ปุราณะเรียกว่า ศกทวีป พราหมณ์ผู้ประกอบพิธี บูชาสูรยเทพที่มาจากเอเชียกลางมีชื่อเรียกว่า มคะ (Maga) ในยุคที่การบูชา สูรยเทพรุ่งเรืองในอินเดียมีการสร้างรูปเคารพสูรยเทพขึ้นเป็นจำนวนมาก และมี การสร้างเทวาลัยสำหรับสูรยเทพมากมายส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือของอินเดีย ที่สำคัญ คือ เทวาลัยสูรยเทพแห่งเมืองมูลสถานในปากีสถาน ซึ่งได้ถูกทำลาย โดยจักรพรรดิเอารังเซบแห่งราชวงศ์มุคัล (Mughal) เทวาลัยสูรยเทพโกณารัก ในรัฐโอริสสา ประเทศอินเดีย เป็นต้น ในสมัยราชวงศ์คุปตะของอินเดียได้เกิดการสู้รบระหว่างราชวงศ์คุปตะกับ เผ่าชนที่มาจากเอเชียกลาง ชาวศกะบางกลุ่มอาจจะอพยพมายังเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้และนำลัทธิบูชาสูรยเทพมาด้วย หลักฐานที่เก่าที่สุดที่แสดงว่ามีการ นับถือสูรยเทพในอาณาจักรเขมรโบราณคือจารึกภาษาสันสกฤตที่พบที่เวียนกัน เตล ในสมัยพระเจ้าภววรรมันที่ ๑ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ มีการพบ ประติมากรรมรูปสูรยเทพที่ได้รับอิทธิพลจากอิหร่านในประเทศไทย กัมพูชา และ เวียดนาม แต่ยังไม่พบเทวาลัยที่อุทิศแด่สูรยเทพ ในคัมภีร์พระไตรปิฎกกล่าวถึงสูริยเทวปุตตะ ในฐานะมีรูปร่างอย่างมนุษย์ เมื่อถูกราหูจับไว้ สูริยเทวปุตตะได้นึกถึงพระพุทธเจ้า และนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็น สรณะ พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเป็นคาถาขอให้ราหูปล่อยสูริยเทวปุตตะ ราหูจึง ปล่อยสูริยเทพเป็นอิสระเพราะถ้าไม่ปล่อยศีรษะของตนจะแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง แสดงว่าเทพและอสูรทั้งปวงมีฐานะและอำนาจต่ำกว่าพระพุทธเจ้า ความ ประนีประนอมระหว่างลัทธิบูชาสูริยเทพและพระพุทธศาสนาปรากฏให้เห็นใน ประติมากรรมสมัยทวาราวดี คือประติมากรรมที่มีรูปเทพถือดอกบัวซึ่งคงจะเป็น สูรยเทพปรากฏอยู่เบื้องล่างของธรรมจักรและเบื้องล่างของพระพุทธรูป ศ. ผุสดี ทิพทัส ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “ฮวงจุ้ยในงานสถาปัตยกรรม” ความโดยสรุปว่า ฮวงจุ้ย หมายถึง ที่อยู่อาศัย สามารถพลิกผันโชคชะตาของผู้ เกี่ยวข้องให้ดี ขึ้นได้ถ้าดำเนินการถูกต้องตามหลักการ การวางตำแหน่งอาคาร ในที่ดินคำนึงถึงความเชื่อพื้นฐานที่เป็นคตินิยมที่สืบทอดกันมา เช่น หลีกเลี่ยงรูป ที่ดินที่เป็นมุมแหลม แบบสามเหลี่ยมชายธง หลีกเลี่ยงทางสามแพร่งที่เปิดทาง เข้าตรงกับถนนที่พุ่งตรงมายังตัวอาคาร ช่วง พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๑๖ ในแง่ของ “ฮวงจุ้ย” ตำแหน่งที่เป็นทางสามแพร่ง หรือถนนที่พุ่งตรงมายังอาคารบ้านเรือนเปรียบเหมือนแม่น้ำที่ถาโถมเข้ามา เช่น ธนาคารแหลมทอง (ตึกโชคชัยเดิม) ตั้งที่ตั้งอยู่บนถนนที่เป็นสามแยก ระหว่าง ถนนสุขุมวิทกับซอยสุขุมวิท ๒๔ และ ๒๖ ลักษณะฮวงจุ้ยตามตำราทายว่า ผู้อยู่ อาศัยหรือทำงานทางด้านวิชาการมีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จ แต่เนื่องจาก ฮวงจุ้ยของสถานที่ตั้งอยู่ในทำเลน้ำไม่นิ่ง ปลาไม่กินเหยื่อ เปรียบเสมือนคูคลอง ที่ไหลลงสู่แม่น้ำใหญ่ จะทวีพลังความเชี่ยวมากขึ้น ผู้ประกอบการในอาคาร แม้ จะมีความสามารถ แต่มักไม่ค่อยประสบความสำเร็จในธุรกิจ เพราะอาคารตั้งอยู่ บนทางสามแพร่ง หรือธนาคารกรุงเทพ สาขาหัวลำโพง รูปทรงอาคารละม้าย กับประติมากรรมรูปสิงโตหมอบ ทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่ที่เป็นชาวจีนมีความเชื่อถือ ในรูปลักษณะอาคารว่าเป็นประดุจสิงโตเฝ้าหน้าถ้ำ อันแสดงถึงแหล่งเก็บเงินที่ ปลอดภัย มีรูปแบบยึดถือลักษณะที่ถูกต้องตามตำรา ธนาคารแห่งนี้จึงเป็น ธนาคารที่มียอดเงินฝากสูงมากแห่งหนึ่ง ช่วง พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๒๕ และช่วง พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๓๗ ในฮ่องกงเมื่อจะ ก่อสร้างอาคารสำนักงาน สิ่งแรกที่จะต้องทำคือติดต่อภูมิโหราจารย์ที่เก่งให้มาดู ทำเลที่ตั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมต้องมีเหลี่ยมมุมอย่างไรให้ถูกต้องตามตำรา เช่น BEIJING’S BANK OF CHINA ออกแบบอาคารตามหลักฮวงจุ้ย ไม่ว่าจะมอง มุมใดรอบด้านจะเห็นเป็นรูปดาบหรือมีดที่คมกริบเชือดเฉือนคู่แข่งให้ราบเรียบ อาคารในประเทศไทยในช่วงนี้มีการคำนึงถึงเรื่องฮวงจุ้ยของตำแหน่งและรูป แบบอาคารมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา ดังสรุปข้อคิดเห็นจากผู้ออกแบบและภูมิ โหราจารย์ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้ ๑. ที่ตั้งเป็นทางสามแพร่ง แก้เคล็ดด้วยการทำอาคารเป็นมุมแหลมคล้ายหัวเรือ ๒. สร้างอาคารเตี้ยในที่โล่งแจ้ง ธุรกิจดีแบบเงียบ ๆ เช่น โรงแรมสยามอิน เตอร์คอนติเนนตัล เป็นอาคารเตี้ย แผ่ออกทางแนวราบในเนื้อที่โล่งแจ้งขนาดใหญ่ รูปแบบอาคารโรงแรมเหมือน “เสือหมอบ” ถูกต้องตามตำราภูมิโหราศาสตร์ ๓. สร้างอาคารสูงในที่โล่งแจ้ง ต้องสร้างให้อาคารสูงหันหลังพิงกัน เช่น ศูนย์การค้ามาบุญครองเซ็นเตอร์ ที่สร้างอาคารสูงอื่น ๆ ขึ้นอีกในบริเวณทาง ด้านหลังของอาคารเดิมเพื่อให้เป็นที่พึ่งพิงกันเอง ๔. รูปแบบและส่วนประกอบแสดงความหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร งาน เช่น ธนาคารเอเซีย ถนนสาทร ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในจุดที่จะถึงก่อนขึ้น สะพานเปรียบเสมือนกระแสเงินชะลอตัวลง สามารถเก็บเกี่ยวได้ทัน ส่วน ประกอบของอาคารด้านหน้ามีเส้นแบ่งตัวอาคารเป็นสองส่วนตั้งแต่ช่วงบนซึ่ง ค่อย ๆ แยกเป็นช่องกว้างขึ้นจากแนวแกนกลางลงมาถึงทางเข้า เหมือนถูกผ่า เป็นแนวยาวตลอดจากข้างล่างถึงข้างบนสุด ตามหลักภูมิโหราศาสตร์ ว่า การ บริหารภายในต้องแบ่งออกเป็นสองฝักสองฝ่าย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=