2705_1684

5 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๔๙ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ศ. ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “ราชบัณฑิตยสถาน ทำลายระบบอักขรวิธีไทยจริงหรือไม่” ความโดยสรุปว่า ในภาษาไทย พยางค์ ประกอบด้วยหน่วยเสียง ๓ หน่วย คือ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ถ้าขาด หน่วยเสียงใดหน่วยเสียงหนึ่งก็จะไม่เป็นพยางค์ การศึกษาวิธีการเขียนภาษาไทย ผู้เรียนต้องเรียนรู้รูปอักษรทั้ง ๓ ชนิดก่อน ขั้นต่อไปจึงเรียนวิธีประสมรูปใน ระบบอักขรวิธีของไทย คำอาจเขียนด้วยพยัญชนะเพียงตัวเดียวหรือเขียนด้วย รูปพยัญชนะกับสระ หรือเขียนด้วยรูปพยัญชนะกับสระและวรรณยุกต์ แต่ไม่ว่า รูปวรรณยุกต์จะมีหรือไม่ทุกพยางค์จะมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ทั้งสิ้น ทางภาษาศาสตร์ถือว่าเสียงพูดเป็นภาษาที่แท้จริง มนุษย์ทุกสังคมมีภาษา ใช้แต่หลายกลุ่มไม่มีการเขียนจึงต้องยืมอักษรชาติอื่นมาเขียน เช่น ประเทศ มาเลเซียที่ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษใช้ภาษามลายูที่เขียนด้วยตัวอักษร โรมัน ส่วนภาษาไทยนั้น พ่อขุนรามคำแหงทรงคิดตัวอักษรและระบบการเขียน เป็นของไทยเอง มีกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างแน่นอน ปัญหาเรื่องอักขรวิธีไทย เกิดจากการยืมคำภาษาต่างประเทศ ทุกภาษามี คำที่รับมาจากภาษาอื่นที่เรียกว่า คำยืมทั้งนั้น คำยืมในภาษาไทยเมื่อรับเข้ามา ใหม่ ๆ จะแปลงเสียงให้ใกล้กับเสียงของคำภาษาไทย เช่น กัดฟันมัน ยากะแร็ต มิชชันนารี สกรูไร แป๊บ ไอติม ต่อมามีผู้ที่รับการศึกษาจากประเทศทางตะวันตก เขียนบทความวิชาการเสนอความรู้เป็นภาษาไทย และใช้คำภาษาอังกฤษที่ไม่ อาจแปลหรือเทียบมาเป็นภาษาไทย บทความภาษาไทยจึงมีอักษรโรมันเขียน ภาษาอังกฤษปนอยู่ ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ได้เสนอวิธีถ่ายตัว อักษรโรมันเป็นอักษรไทยทีละตัวโดยให้เห็นเค้าของคำภาษาอังกฤษ แต่ไม่ได้ พิจารณาว่าเมื่อเขียนเป็นอักษรไทยแล้วจะออกเสียงได้ตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกวิธีการนี้ว่า ทับศัพท์ คำทับศัพท์เป็นคำที่ใช้ชั่วคราวก่อนจะมีศัพท์บัญญัติ ในขณะนั้นราชบัณ- ฑิตยสถานก็ได้บัญญัติศัพท์วิชาการต่าง ๆ ขึ้น คำใดมีศัพท์บัญญัติแล้วก็ไม่ ต้องใช้คำทับศัพท์อีกต่อไป เช่น post ทับศัพท์ว่า โปสต์ ศัพท์บัญญัติว่า ไปรษณีย์ tram ทับศัพท์ว่า แทรม ศัพท์บัญญัติว่า รถราง คำใดไม่สามารถบัญญัติเป็นคำภาษาไทยได้ หรือคำที่บัญญัตินั้นไม่เป็นที่ นิยมก็จำเป็นต้องใช้คำภาษาต่างประเทศนั้นเป็นคำยืม เช่นคำว่า column บัญญัติศัพท์ว่า สดมภ์ แต่ไม่นิยมจึงใช้ว่า คอลั่มน์ ต่อมา ราชบัณฑิตยสถานพิจารณาตั้งเกณฑ์การเขียนคำภาษาต่างประเทศ แต่แทนที่จะพิจารณาการเขียนคำที่ไม่สามารถบัญญัติซึ่งจำเป็นต้องรับเข้าเป็น คำยืมในภาษาไทย กลับไปกำหนดการเขียนเป็น คำทับศัพท์ ผลก็คือ คำยืมเป็น คำที่อ่านไม่ตรงกับเสียงที่ใช้ในภาษาไทย เช่น คำว่า badminton ออกเสียงว่า แบ๊ดมินตั้น ให้เขียน แบดมินตัน clinic ออกเสียงว่า คลิหนิก ให้เขียน คลินิก คำทับศัพท์เหล่านี้ไม่เขียนตามระบบ อักขรวิธีของไทย จึงทำให้การเขียนคำภาษาไทยรวนเร เรียกได้ว่า คำทับศัพท์ นั้นเป็นคำที่ทำลายระบบอักขรวิธีไทย ตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๔๗๖-๒๕๔๔ นั้น ราชบัณฑิตยสถานมีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย การอนุรักษ์ภาษาไทยมิให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม และการส่งเสริมภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของ คณะกรรมการราชบัณฑิตยสถานขัดกับพระราชบัญญัติโดยตรง เพราะทำให้ ระบบอักขรวิธีไทยรวนเร ราชบัณฑิตยสถานควรเร่งปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตรง ตามการจัดตั้งราชบัณฑิตยสถานแก้ไขการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษ และจาก ภาษาอื่นให้ตรงตามเสียงที่ใช้ในภาษา ดร.ชลิตภากร วีรพลิน ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “การใช้ประโยชน์ที่ดิน ในการพัฒนาประเทศ ภาค และจังหวัด” ความโดยสรุปว่า การใช้ประโยชน์ที่ดิน ของประเทศไทยจำแนกตามสาขาการผลิตจากผลิตภัณฑ์จังหวัดซึ่งจำแนกเป็น ๒ สาขาการผลิต ได้แก่ ๑. สาขาการผลิตภาคเกษตร จำนวน ๒ สาขาคือ ๑.๑ เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ ๑.๒ การประมง ๒. สาขาการผลิตภาคนอกเกษตร จำนวน ๑๔ สาขาคือ ๒.๑ การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน ๒.๒ การผลิตอุตสาหกรรม ๒.๓ การไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา ๒.๔ การก่อสร้าง ๒.๕ การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน ๒.๖ โรงแรมและภัตตาคาร ๒.๗ การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม ๒.๘ ตัวกลางทางการเงิน ๒.๙ บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจ ๒.๑๐ การบริหารราชการแผ่นดิน และการป้องกันประเทศ รวมทั้งการ ประกันสังคมภาคบังคับ ๒.๑๑ การศึกษา ๒.๑๒ การบริการด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ ๒.๑๓ การบริการชุมชน สังคม และการบริการส่วนบุคคลอื่น ๆ ๒.๑๔ ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ภาค และจังหวัด มีสาขาการผลิตอยู่ ๑๖ สาขา ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับการผังเมือง (เมือง และชนบท) ตามสภาพพื้นที่ของท้องที่ต่าง ๆ ทุกระดับของประเทศ ตามการ ประกอบกิจกรรมภาคเกษตร และภาคนอกเกษตรตามนโยบายการพัฒนาพื้นที่ ของประเทศ ๒๐ ด้าน ตามคุณภาพของพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาทุกระดับของ ประเทศ แนวคิดในการวางและจัดทำผังประเทศ โครงการวางและจัดทำผังประเทศ จะมีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้ง ประเทศ เช่นเดียวกับโครงการวางและจัดทำผังภาคเป็นงานที่ทำคู่ขนานกันไป และรายละเอียดของการพัฒนาพื้นที่จำกัดเฉพาะอยู่ในเขตชุมชนเมือง หรือ ชุมชนชนบท หรือชุมชนเมืองและชนบท ผังประเทศ หมายถึง แผนผังที่เป็นตัวชี้แนะในการพิจารณาและตัดสิน ว่าควรเลือกพื้นที่แห่งใดในระดับประเทศ เป็นปริมาณเท่าใดเพื่อพิจารณา กิจกรรมประเภทใดในอนาคตที่จะให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาทาง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของชาติ ประกอบด้วย ๑. แนวทางการพัฒนาด้านกายภาพ เป็นกรอบการวางผังในระดับภาค ซึ่งจะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น ๒. เป็นเครื่องมือประสานการพัฒนาให้โครงการพัฒนาทั้งหลายของรัฐ และเอกชน ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นผสมผสานกันเป็นเอกภาพไปสู่การ ปฏิบัติให้ได้ประโยชน์สูงสุดสิ่งที่เสนอแนะในผังประเทศ คือ ๑. นโยบายการพัฒนา ๒. กรอบสำหรับการให้ความช่วยเหลือท้องถิ่นด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย - ด้านการวางผัง - การจัดการเมือง ให้เกิดการปฏิบัติพัฒนาอย่างเป็น “องค์รวม และบูรณาการ” องค์ประกอบ ผังนโยบายของประเทศ : ๒๐ หัวข้อ ๑. นโยบายการพัฒนาพื้นที่ด้านเศรษฐกิจ ๒. นโยบายด้านการกระจายตัวของประชากรและแรงงาน ๓. นโยบายและแผนผังรวมของการใช้ประโยชน์ที่ดินระบบชุมชน ๔ นโยบายการพัฒนาเมือง ๕. นโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน ๖. นโยบายการคมนาคมขนส่ง ๗. นโยบายโครงสร้างพื้นฐานและการสื่อสาร

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=