2705_1684
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สิทธิเลือกตั้งจะได้เรียนรู้ปัญหาและตัดสินในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนายก รัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างเหมาะสม เงื่อนไขความสำเร็จในการจัดให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง ควร ดำเนินการเป็นลำดับขั้นตอน ๔ ประการ ดังนี้ (๑) ส่งเสริมการเรียนรู้การปกครองท้องถิ่นซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการ ปกครองในระดับชาติ โดยการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง ท้องถิ่นให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้ถึงข้อดีของ การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง และข้อเสียของการเลือกผู้บริหารท้องถิ่น โดยอ้อม รวมถึงข้อเสียของระบบรัฐสภาที่นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการ สนับสนุนของเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร (๒) ทำความเข้าใจกับประชาชนว่า การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง ไม่ กระทบต่อต่อพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และส่งผลดีต่อระบบการเมือง ในแง่ความมีเสถียรภาพของรัฐบาล ทำให้มีการพัฒนาทางการเมืองและการแข่ง ขันในระหว่างประเทศ (๓) จัดให้มีการแสดงประชามติในประเด็นการจัดให้มีการเลือกตั้งนายก รัฐมนตรีโดยตรงภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (๔) ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในหมวด ๙ คณะ รัฐมนตรี มาตรา ๑๗๑-๑๗๓ ให้เป็นไปตามแนวคิดในการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี โดยตรงของประเทศไทยตาม ข้อ ๖ โดยดำเนินการตามมาตรา ๒๙๑ ของ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ในกรณีที่รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมนี้มีผลบังคับใช้ แล้ว ปรากฏว่าอายุของสภาผู้แทนราษฎรยังเหลืออยู่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้ดำเนิน การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่ม เติมครั้งแรกพร้อมกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นการเลือกตั้ง ทั่วไป เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามวาระ • วันพุธที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ นายสงวน ลิ่วมโนมนต์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “การพัฒนาใหม่ของ จีน” ความโดยสรุปว่า ในบรรดาผู้นำของโลก กล่าวได้ว่า หู จิ่นเทา มีภาวะ ความเป็นผู้นำ (leadership) ซึ่งมีวิสัยทัศน์ แนวคิด และผลงานในทางปฏิบัติอยู่ ในทำเนียบผู้นำระดับแถวหน้าของโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมทั้งพัฒนาคุณภาพ มนุษย์เพื่อเป็นรากฐานของความเจริญและความเข้มแข็งของสังคมจีนให้ สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมสมัยใหม่ ลักษณะเป็นผู้นำแบบเป็น ทางการ คือ ผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ในระดับบริหารงาน เป็นหัวหน้าตามสายบังคับ บัญชา หรือเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่ง หรือ กำหนดให้เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎระเบียบขององค์กร แนวคิดตามทฤษฎีที่สามารถนำมาปรับใช้ ประเทศจีนภายใต้การนำของ หู จิ่น เทา ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทและมีอำนาจในการต่อรองทางเศรษฐกิจ และทางการ ทหารของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ ลักษณะผู้นำของ หู จิ่นเทา สามารถนำมา ประยุกต์ใช้กับสังคมไทยได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ความสามารถ และคุณ ธรรมของนักการเมืองไทยเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะก้าวเข้ามาดำรง ตำแหน่งเป็นผู้นำของประเทศสามารถประยุกต์ลักษณะของผู้นำมาใช้ได้ เช่น ตัดสินใจเด็ดขาดเมื่อประเทศอยู่ในสถานการณ์คับขัน ใช้ความรู้ความสามารถ วิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล กล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าลงมือกระทำ ต้องกระทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี บริหาร ประเทศด้วยความโปร่งใส ไม่กระทำการทุจริตคอร์รัปชัน ต้องมีคุณธรรม ต้องมี ความกล้าหาญที่จะวางแผนในระยะยาวเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีไว้สำหรับผู้นำรุ่น ต่อไป มิใช่จุดมุ่งหมายเฉพาะรักษาผลประโยชน์ของตนเพียงเพื่อให้สามารถดำรง สถานะและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ ต้องมีความสามารถที่จะให้ผู้ที่อยู่ใต้บังคับ บัญชาเชื่อถือในศักยภาพของตน สามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้อื่นคล้อยตามเพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน ผู้นำต้องปรับตัวได้เร็ว เรียนรู้เร็ว เฉลียว ฉลาด ต้องมีปัญญา สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดี ที่สำคัญคือ ต้อง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน คำนึงถึงประเทศชาติเป็น สำคัญ สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร. นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “ปรัชญาการ พิจารณาแต่งตั้งราชบัณฑิต” ความโดยสรุปว่า “การช่วยเหลือสนับสนุนพรรค พวกญาติพี่น้องเป็นความชอบธรรม ความยุติธรรมเป็นสุดยอดของความ ชอบธรรม” ราชบัณฑิตยสถานเปรียบได้กับครอบครัวหนึ่งเดียว นับเป็นครอบครัว ย่อยของประเทศ เมื่อจะมีการแต่งตั้งสมาชิกในครอบครัวให้รับตำแหน่งใด ๆ ทุกคนสมควรมีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาด้วยความเที่ยงธรรม ด้วยความถูกต้อง และยุติธรรมเท่าเทียมกัน ต้องหลีกเลี่ยงการช่วยเหลืออย่างไม่โปร่งใสที่จะ เป็นที่ครหา ดังนั้นในการพิจารณาแต่งตั้งราชบัณฑิตจากภาคีสมาชิกทุกครั้ง ควร มีกติกาที่ปฏิบัติอย่างเปิดเผย ไม่ให้เป็นที่ครหาในภายหลัง • วันพุธที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.ปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ราชบัณฑิต และ ศ. ดร. นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “EM: ความสับสนของผู้ใช้บนความคิดต่างทางวิชา การ” ความโดยสรุปว่า EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms ซึ่งหมาย ถึง จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมทางชีวภาพบางอย่าง เช่น ย่อย สลายสารอินทรีย์บางชนิด (ไขมัน โปรตีน เป็นต้น) ผลิตสารชีวภาพบางชนิด (กรดแลคติก แอลกอฮอล์ เอสเทอร์ เป็นต้น) คำว่า “EM” ถูกนำมาใช้ครั้งแรก โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ชื่อ ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ แห่ง มหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ใช้เรียกผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพที่ใช้ เพื่อปรับปรุงคุณภาพดินในสวนส้ม คำว่า “EM” ในปัจจุบันมี ๒ ความหมาย คือ ใช้เรียกผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่ผลิตโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ และใช้ เป็นชื่อสามัญในการเรียกผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียและทาง ด้านการเกษตร ผลิตภัณฑ์ EM ที่มีใช้ในปัจจุบันคือ EM EM ball และน้ำหมัก ชีวภาพ โดยผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะมีความเฉพาะในการใช้งานและข้อจำกัดที่ แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของจุลินทรีย์หรือสารชีวภาพที่จุลินทรีย์ชนิดนั้น ๆ ผลิตออกมา ข้อจำกัดของการใช้ผลิตภัณฑ์ EM ข้างต้นคือ คุณภาพและความ สม่ำเสมอในประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ความคงทนของจุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์ และ/หรือสารชีวภาพที่เกิดจากจุลินทรีย์นั้น ๆ ในน้ำเสียที่ต้องการบำบัด ผลของ จุลินทรีย์ของผลิตภัณฑ์ต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ศ. ดร.จงรักษ์ ผลประเสริฐ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “เทคโนโลยีการ จัดการน้ำเสียที่ยั่งยืนโดยการผลิตโปรตีน” ความโดยสรุปว่า ประชากรโลกได้ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีจำนวนประมาณ ๗,๐๐๐ ล้านคน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ทำให้มีความต้องการอาหารมากขึ้น รวมทั้งปริมาณน้ำเสียจากบ้านเรือนและ ภาคอุตสาหกรรมก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ส่งผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและความ ยั่งยืนของมนุษย์ชาติ เทคโนโลยีที่ใช้บำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป มีราคาแพง ใช้ พลังงานสูง งานวิจัยนำร่องนี้ได้ทดลองใช้ระบบธรรมชาติ แบบบ่อผึ่ง (waste stabilization pods) เพื่อผลิตสาหร่ายและแบคทีเรีย สำหรับบำบัดน้ำเสียจาก ชุมชนและโรงงานผลไม้กระป๋องซึ่งไม่มีโลหะหนักและสารพิษอื่น ๆ เจือปน สาหร่ายที่ผลิตได้ใช้เป็นอาหารของปลานิลโดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้ จ่ายในการแยกเก็บเกี่ยวสาหร่าย ผลผลิตของปลานิลมีค่าเฉลี่ยประมาณ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อปี (ประมาณ ๔๐,๐๐๐บาท ต่อไร่ ต่อปี) คุณภาพของเนื้อปลา ได้ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก และน้ำจากบ่อเลี้ยงปลาสามารถนำไปใช้ ทางเกษตรกรรมได้อีก ผลงานวิจัยได้สรุปเป็นวิธีออกแบบระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย สำหรับเลี้ยงปลานิล และการจัดการที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลานิล การทดลองโดยใช้ปลานิลแปลงเพศเป็นเพศผู้อย่างเดียว สามารถเพิ่มผลผลิต ปลานิลเป็นสองเท่า เป็นการเพิ่มรายได้กับผู้ประกอบการบำบัดน้ำเสีย และส่ง เสริมการอนุรักษ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน มีหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียและยุโรปได้นำเทคโนโลยีการจัด การที่ยั่งยืนไปบำบัดน้ำเสีย และผลิตโปรตีนจากการเลี้ยงปลาเพื่อใช้เป็นอาหาร คนหรือสัตว์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=