2704_7810

7 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๔๘ เดือนมกราคม ๒๕๕๕ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ อักษรโรมันตามระบบ Pinyin เป็นชื่อสากล ซึ่งอาจจะแตกต่างจากที่ไทยเคยใช้ อยู่เดิม ก็ได้เก็บไว้ทั้ง ๒ แบบ โดยชื่อแรกเป็นระบบ Pinyin ชื่อหลังเป็นระบบ เดิม เช่น Anhui; Anhwai อานฮุย Fujian; Fukien ฝูเจี้ยน จะเห็นได้ว่า ภาษา ไทยเขียนตามชื่อสากล ส่วนชื่อเดิมนั้นให้ไว้เป็นข้อมูลเพื่อการอ้างอิง ในกรณีที่ ชื่อเดิมเป็นชื่อที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายก็จะให้ไว้ด้วย เช่น Beijing; Peking เป่ย์จิง, ปักกิ่ง หากรูปการเขียนมีเพียงรูปเดียว แต่ชื่อที่สังคมไทยคุ้นเคยเขียน เป็นอื่น ก็ให้ไว้ด้วย เช่น Hainan ไห่หนาน, ไหหลำ ชื่อตั้ง หมายถึงชื่อที่ประเทศหนึ่งตั้งชื่อให้อีกดินแดนหนึ่ง ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ ตั้งชื่อให้ดูเป็นไทย เช่น เกาะหมาก ไทรบุรี เวียงจันทน์ หงสาวดี อิรวดี ตั้งชื่อโดยดัดแปลงเสียงมาจากชื่อที่เคยได้ยิน เช่น เกาหลี จีน ญี่ปุ่น โปรตุเกส ฝรั่งเศส พม่า ย่างกุ้ง เวียดนาม สิงคโปร์ ฮาวาย ตั้งชื่อโดยถอดจากรูปการเขียนอักษรโรมัน เช่น กัลกัตตา (Calcutta) ลอนดอน (London) ปารีส (Paris) ในกรณีของภาษาจีน ชื่อที่คนไทยเคยรู้จักมาก่อนอาจจะถือว่าเป็น “ชื่อตั้ง” ก็ได้ เช่น ปักกิ่ง กวางตุ้ง เสฉวน จุงกิง เซี่ยงไฮ้ เทียนสิน ไหหลำ ยูนนาน ชื่อเหล่า นี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “ชื่อไทย” ที่เราใช้เรียกดินแดนเหล่านั้น ไม่ใช่การทับศัพท์ ชื่อพื้นเมือง คำว่า “พื้นเมือง” ในที่นี้หมายถึงชื่อที่เจ้าของดินแดนใช้เรียก ตามภาษาของตน ในกรณีของภาษาเยอรมัน ถึงแม้ว่าจะใช้อักษรโรมันเขียนชื่อ เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ แต่ภาษาเยอรมันก็มี “ชื่อพื้นเมือง” ที่ออกเสียงตาม ภาษาของตนเอง เช่น Bayern (ไบเอิร์น) Berlin (แบร์ลิน) Humburg (ฮัม บวร์ก) Mü nchen (มึนเชิน) ในกรณีของภาษาเวียดนาม ซึ่งใช้อักษรโรมันประกอบเครื่องหมายพิเศษ ก็ มีการออกเสียงตามแบบภาษาของตนเอง เช่น Ha No i (ห่าโหน่ย) คำนี้คนไทย อ่านตาม “ชื่อสากล” Hanoi ว่า “ฮานอย” ความผสมผสานระหว่างชื่อทั้ง ๓ แบบ ในกรณีของภาษาบาฮาซา มาเลเซียหรือที่เดิมเรียกว่าภาษามลายูนั้น การเรียกชื่อประเทศ ดินแดน เขต และคอลัมน์สุดท้ายนั้นมีทั้งที่ตรงกันและไม่ตรงกัน บทสรุป จะเห็นได้ว่าการเรียกชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และ เมืองหลวงนั้น มีถึง “สามชื่อ สามมุม” เพื่อความเหมาะสมของเนื้อหาที่ใช้ บาง กรณีเราก็ใช้ “ชื่อตั้ง” เช่น “สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย” บางกรณีเราก็ใช้ “ชื่อสากล” เช่น “ฮานอยเป็นเมืองหลวงของประเทศ เวียดนาม” เป็นที่น่าสังเกตว่า เราไม่นิยมใช้ “ชื่อพื้นเมือง” ด้วยเหตุผลหลาย ประการ เช่น ความไม่คุ้นเคย (เช่น มีผู้อ่านชื่อ Bayern เป็น “บาเยิร์น” แทนที่ จะเป็น “ไบเอิร์น” ตามการออกเสียงแบบพื้นเมือง) ความไม่สุภาพเมื่อออกเสียง เป็นไทย (เช่น ห่าโหน่ย ซึ่งเป็นเสียงที่ถูกต้องของเมืองหลวงเวียดนาม) มีผู้เสนอว่า เราน่าจะระบุไว้ทั้ง ๓ ชื่อ แล้วให้ผู้ใช้เลือกใช้ตามความเหมาะ สม เช่น ชื่อตั้ง ยะโฮร์ (เมื่ออยู่ในข้อความภาษาไทย) ชื่อพื้นเมือง Johor อ่านว่า “โจโฮร์” (เมื่ออยู่ในข้อความภาษาบาฮาซา มาเลเซีย หรือต้องการจะออกเสียงให้ตรงตามที่เจ้าของประเทศเรียก) ชื่อสากล Johore อ่านว่า “โจฮอร์” หรือ “เจอฮอร์” (เมื่ออยู่ในข้อความ ภาษาอังกฤษ) ในหลักเกณฑ์การทับศัพท์ที่กำลังปรับปรุงอยู่นี้ จะกำหนดเสียงอ่านตามที่ เจ้าของชื่อออกเสียงจริง หรือใกล้เคียงที่สุดเท่าที่อักขรวิธีไทยจะทำได้ ทั้งนี้ไม่ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมือง หลวง ซึ่งมีเงื่อนไขต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ศ. ชวน เพชรแก้ว ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “ผู้รจนา/นักประพันธ์/กวี ผู้สร้างวรรณกรรมทักษิณ” ความโดยสรุปว่า สมัยก่อนการพิมพ์ วรรณกรรมส่วน ใหญ่บันทึกลงในหนังสือบุด (สมุดข่อย) และใบลาน โดยที่ผู้แต่งเป็นผู้เขียนหรือให้ ผู้อื่นเขียนแทน ในสมัยนี้มักไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง การไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งดูเหมือนว่า เป็นการจงใจไม่บอก เพราะแม้แต่วรรณกรรมที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ก็ไม่มีรายละเอียด ของผู้แต่งแต่ประการใด ลักษณะเช่นนี้มีความเป็นไปได้ว่าเป็นไปตามคตินิยม ที่แต่ เดิมชาวภาคใต้มุ่งสร้างหนังสือเป็นวิทยาทานจึงไม่จำเป็นต้องระบุว่าใครคือผู้แต่ง วรรณกรรมบางเรื่องได้ระบุเกี่ยวกับการเขียนแต่ไม่มีรายละเอียดแน่ชัดว่า ผู้เขียน หมายถึงผู้แต่งหรือผู้คัดลอกกันแน่ วรรณกรรมบางเรื่องกล่าวถึงผู้สร้างซึ่งมีนัยให้ คิดว่าอาจจะหมายถึงผู้แต่ง หรือผู้จัดให้มีการแต่งหรือคัดลอกก็ได้ นอกจากนี้ยัง ปรากฏว่ามีการกล่าวถึง การซ่อมแปลงและการแต่งต่อ ลักษณะเช่นนี้แม้จะไม่ใช่ผู้ แต่งโดยตรง แต่ก็ช่วยให้ทราบว่าวรรณกรรมเรื่องนั้นมีผู้แต่งมาก่อนหน้านั้นแล้ว สำหรับวรรณกรรมที่บอกชื่อผู้แต่งไว้ชัดเจน ในสมัยก่อนการพิมพ์มีน้อยมาก ที่ทราบแน่ชัด คือ ภิกษุอินท์ พระยาตรัง นายสิทธิ์ พระมีนายเรืองนาใน พระครูวินัยธร ชูปราชญ์ สุขปราชญ์ และพระครู วิจารณ์ศีลคุณ (ชู) ในสมัยเริ่มต้นการพิมพ์ซึ่งเริ่มแพร่หลายในภาคใต้ประมาณปลายสมัย รัชกาลที่ ๖ การบันทึกวรรณกรรมในหนังสือบุด (สมุดข่อย) และใบลาน มีน้อย ลง ยังคงมีบันทึกอยู่บ้างในช่วง พ.ศ.๒๔๖๐ – ๒๔๗๐ เมื่อการพิมพ์แพร่หลายผู้ แต่งนอกจากจะแต่งวรรณกรรมเป็นวิทยาทานแล้ว ยังจำหน่ายเพื่อหาเงินเป็นค่า พิมพ์อีกด้วย ผู้แต่งหนังสือสมัยที่การพิมพ์แพร่หลาย นอกจากพระภิกษุแล้วยังมี ชาวบ้านที่มีความรู้ ความสนใจ หรือไม่ก็เป็นนักเล่นเพลงหรือนักแสดงมหรสพ พื้นบ้าน ร่วมสร้างวรรณกรรมกันอย่างกว้างขวาง ผู้แต่งวรรณกรรมในช่วงนี้ ได้แก่ พระธรรมโมลี (เกตุ ธรรมรัชชะ) พระเทพรัตนกวี (เกตุ ธมฺมวโร) เพียร นะมาตร์ แดง สุวรรณบัณฑิต เสือ ชำนาญภักดี ปาน ชีช้าง เนตร ชลารัตน์ กราย พัฒจันทร์ ทอง หนองถ้วย เป็นต้น รัฐและเมืองหลวง เขียนตามภาษาบาฮาซามาเลเซีย คำทับศัพท์ตามการออกเสียง ในภาษาบาฮาซามาเลเซีย ชื่อตามประกาศ พ.ศ. ๒๕๔๔ Selangor เซอลางอร์ Selangor สลังงอร์ Pulau Pinang ปูเลาปีนัง Penang; George Town ปีนัง Perlis เปอร์ลิซ Perlis ปะลิส Melaka เมอลากา Melaka; Malacca มะละกา Johor โจโฮร์ Johore ยะโฮร์ การปกครอง และเมืองหลวงค่อนข้างปะปนกัน เช่น ในตารางข้างต้นนี้ คำในคอลัมน์แรกคือ “ชื่อพื้นเมือง” คอลัมน์ที่ ๒ คือ ออกเสียงแบบพื้นเมือง ส่วนคอลัมน์สุดท้ายคือชื่อที่ปรากฏในประกาศฯ ซึ่งมีทั้ง “ชื่อตั้ง” และ “ชื่อสากล” จะเห็นได้ว่าชื่อที่เขียนด้วยอักษรโรมันในคอลัมน์แรก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=