2704_7810

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ระเบียบ บริโภคนิยมและบ้าวัตถุ มีแต่จะสร้างปัญหาให้กับโลกใบนี้ นอกจากนี้ยัง เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต สุขภาวะและสุขภาพจิตของตัวมนุษย์เองด้วย ได้มีการ ค้นพบแล้วว่าความสุขที่ได้จากวัตถุมิได้สร้างความสุขแบบยั่งยืน ได้วัตถุมาไม่นาน ก็เบื่อและจากนั้นก็วิ่งหาอีก เป็นวงจรที่ไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่แท้จริงนั้นเป็น เรื่องอัตวิสัย ขึ้นอยู่กับวิธีการมองโลกและมองชีวิต บุคคลที่มองโลกในแง่ดี มี เมตตาธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความซาบซึ้งในบุญคุณคนจะมีความสุขมากกว่า ดังนั้น การใช้ชีวิตที่วิ่งหาแต่วัตถุแต่จิตวิญญาณไม่ได้รับการพัฒนาจะทำให้มีชีวิต ที่ไม่มีการเติมเต็ม ไร้ความหมาย สร้างความทุกข์และความเหงาท่ามกลางวัตถุที่ มากมาย นอกจากนี้แล้วบริโภคนิยมและวัตถุนิยมยังทำให้ปัญหาของโลกเพิ่มมาก ขึ้นด้วย การเน้นการพัฒนาทางวัตถุแต่ละเลยจิตใจ นอกจากจะเสริมปัญหาโลก ร้อนแล้วยังทำให้ชีวิตไม่น่าอยู่ ด้วยเหตุนี้ การมีและการได้อยู่ในชุมชนที่มีศรัทธา จะช่วยเติมเต็มชีวิตให้มีความสุขและมีความหมาย การเน้นความสุขทางจิต วิญญาณจะสามารถลดกระแสวัตถุนิยมและชะลอปัญหาโลกร้อนได้ด้วย เพราะถ้า คนบริโภคน้อยลง การบุกรุกป่า บุกรุกธรรมชาติ ก็ลดน้อยลงไปด้วย ดังนั้น ความสุขและความยั่งยืนของมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับวิธีใช้ชีวิตของมนุษย์เอง เรายังมี โอกาสที่จะช่วยโลกได้ด้วยการมีสติ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงและมีความเอื้อเฟื้อ สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศ. ดร. ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “การระบุตัว บุคคลโดยใช้คลื่นสมอง” ความโดยสรุปว่า การระบุตัวบุคคลเพื่อเข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์สามารถทำได้หลายวิธีจากข้อมูลที่เกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ลายนิ้วมือ ลาเส้นเลือดในตา ใบหน้า เสียงพูด แต่ข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ปลอดภัย พอเนื่องจากสามารถทำปลอมได้โดยไม่ยาก ดังนั้น เราจึงทดลองใช้คลื่นสมอง ที่วัดจากตำแหน่งต่าง ๆ บนกะโหลกแทนข้อมูลที่กล่าวมาแล้ว คลื่นสมองเป็น สัญญาณที่เลียนแบบยาก และขึ้นกับท่าทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย คลื่นที่วัดจุถูกแยกให้ชัดเจนและการรู้จำโดยใช้เทคนิคของการแบ่งกลุ่มข้อมูล ผลการทดลองการรู้จำอยู่ระดับที่ดีมาก วันพุธที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร. นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “การศึกษาสภาพ จิตจากภาพวาดของผู้ประสบอุทกภัย” ความโดยสรุปว่า อุทกภัยรุนแรง ที่เกิดขึ้นหลายจังหวัดเกือบทุกภาคของประเทศ ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ก่อความทุกข์ลำเค็ญแก่ประชาชนจำนวนมาก คณะศิลปกรรม- ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ออกไปให้ความช่วยเหลือบรรเทา ความเดือนร้อนแก่ผู้ประสบภัย พร้อมกันนั้นฝ่ายทัศนศิลป์ของคณะฯ ก็ได้ออก ไปศึกษาหาประสบการณ์ด้านศิลปกรรมด้วย จากการศึกษาโดยวิเคราะห์ ภาพวาดของผู้ประสบภัยจำนวน ๗๔ คน พบว่ามีผู้แสดงออกเหตุการณ์ ที่เกี่ยวกับอุทกภัยที่ตนประสบถึง ๒๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๓ ซึ่งในจำนวน ผู้แสดงประสบการณ์ ๒๑ คนนี้ มี ๑๒ คน (ร้อยละ ๕๗.๑) แสดงว่าอาจได้รับผล กระทบทางจิตใจ รายละเอียดของผลการศึกษาแสดงอยู่ในรายงาน. วันพุธที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.นิวัตต์ ดารานันทน์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “น้ำท่วมบ้าน น้ำท่วมเมือง” ความโดยสรุปว่า น้ำท่วมนับว่าเป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงก่อให้ เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประสบภัย และเกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ของบ้านเมือง เมืองใหญ่และชุมชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่ลุ่ม มีโอกาสมาก ที่จะประสบภัยดังกล่าวนี้ สาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดน้ำท่วมมาจากพายุฝนซึ่งตกหนัก ต่อเนื่องหลายวัน ประกอบกับน้ำแม่น้ำมีระดับสูงล้นเข้าท่วมเมืองและหมู่บ้าน บทความเรื่องนี้ได้กล่าวถึงสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดน้ำท่วมและวิธีป้องกันการ เกิดน้ำท่วมไว้อย่างละเอียด ศ. ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “การประเมิน ศักยภาพและเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากมวลชีวภาพในประเทศไทย : Potential and Technology Assessment for Liquid Fuel Production from Biomass in Thailand” ความโดยสรุปว่า โครงงานการวิจัยนี้มีวัตถุ ประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพและเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากมวล ชีวภาพในประเทศไทย ชนิดของเชื้อเพลิงเหลวที่ศึกษาได้แก่ เอทานอล ไบโอดีเซล และเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์ ศักยภาพวัตถุดิบที่ศึกษาได้แก่ มันสำปะหลัง กากน้ำตาล และชานอ้อย สำหรับการผลิตเอทานอล ปาล์มน้ำมันสำหรับ การผลิตไบโอดีเซล และลำต้น ยอด ใบและซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สำหรับการผลิต เชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์ การประเมินศักยภาพจะวิเคราะห์ข้อมูลการผลิต การนำมาใช้ภายในประเทศ และการส่งออกในระหว่างปี ๒๐๐๗-๒๐๐๙ จากการ ประเมินเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงเหลวชีวภาพ พบว่า การผลิตเอทานอลจาก วัตถุดิบลิกโนเซลลูโลสโดยใช้เทคโนโลยีการแปรสภาพเป็นแก๊ส การผลิตไบโอ ดีเซลโดยใช้เทคโนโลยีการใช้กรดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน และการผลิตแกโซลีนสังเคราะห์โดยใช้เทคโนโลยีการแยกสลายด้วยความร้อนมี แนวโน้มต้นทุนการผลิตรวมต่ำที่สุดและมีศักยภาพการผลิตเอทานอล ไบโอดีเซล และแกโซลีนสังเคราะห์ประมาณ ๓.๘๒, ๑.๒๔ และ ๐.๗๔ ล้านลิตรต่อวัน ตาม ลำดับ การผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาลและมันสำปะหลังด้วยวิธีการหมักใช้น้ำ ในการผลิตรวมทั้งหมด เท่ากับ ๔๙.๙๒ และ ๑๓๖.๖๙ ลิตรต่อเมกะจูล ตาม ลำดับ และการผลิตไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมันใช้น้ำในการผลิตรวมทั้งหมด เท่ากับ ๒๘๗.๓๖ ลิตรต่อเมกะจูล สำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕ ๕๔ ดร. นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “สามชื่อ สามมุม” ความโดยสรุปว่า ใน พ.ศ. ๒๕๔๔ มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี และ ประกาศ ราชบัณฑิตยสถาน เรื่องกำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมือง หลวง ซึ่งมีหลักเกณฑ์พอสรุปได้ว่า ๑. ชื่อประเทศได้ใช้ชื่อที่เรียกกันอยู่แพร่หลายเป็นปรกติ เช่น Iran อิหร่าน Italy อิตาลี และบอกชื่อเป็นทางการต่อไว้ข้างหลัง โดยใช้เครื่องหมายทวิภาค ( : ) คั่น ๒. ชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง หรือเมืองหลวงที่มี ๒ ชื่อ หรือ สะกดได้ ๒ อย่าง ได้เก็บไว้ทั้งคู่ โดยใช้เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่น ในชื่อ ภาษาต่างประเทศ และใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , ) คั่นในชื่อภาษาไทย ๓. ชื่อเขตปกครองและเมืองหลวงของจีน มีวิธีเขียนตามระบบทางการ (Pinyin) แตกต่างจากที่เคยใช้อยู่เดิม ได้เก็บไว้ทั้ง ๒ แบบ โดยชื่อแรกเป็นระบบ Pinyin ชื่อหลังเป็นระบบเดิม ๔. ชื่อเขตการปกครองและเมืองหลวงของอินเดียที่เป็นภาษาฮินดี ได้ให้วิธี เขียนแบบภาษาฮินดีไว้ด้วย ๕. ชื่อเขตปกครองและเมืองหลวงของเยอรมนี ที่มีทั้งชื่อภาษาอังกฤษและ เยอรมัน ได้เก็บไว้ทั้ง ๒ อย่าง โดยชื่อแรกเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อหลังเป็นภาษา เยอรมัน ๖. ตัวสะกดชื่อภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษได้ถอดอักษรตามหลัก เกณฑ์ทับศัพท์ภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยของราชบัณฑิตยสถาน และตาม การออกเสียงที่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับ Merriam Webster’s Geographical Dictionary ส่วนชื่อที่เป็นภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษได้ถอดอักษรตามหลัก เกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ของราชบัณฑิตยสถาน โดยได้สอบทาน กับการอ่านออกเสียงของบางประเทศ เพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จากหลักเกณฑ์ข้างต้นนี้ อาจจะกล่าวได้ว่า ชื่อประเทศ ดินแดน เขตการ ปกครอง และเมืองหลวง มีการใช้เกณฑ์การกำหนดชื่ออันหลากหลายด้วยเหตุผล ต่าง ๆ กัน จึงทำให้มีชื่อต่างกันถึง ๓ ชื่อ คือ ชื่อสากล ชื่อตั้ง และ ชื่อพื้นเมือง ชื่อสากล คือชื่อภาษาอังกฤษที่กำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นที่เข้าใจร่วมกันใน ระดับสากล ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือชื่อเขตปกครองและเมืองหลวงของเยอรมนี ที่มีทั้งชื่อภาษาอังกฤษและเยอรมัน หนังสือเล่มนี้ได้เก็บไว้ทั้ง ๒ อย่าง โดยชื่อ แรกเป็นภาษาอังกฤษชื่อหลังเป็นภาษาเยอรมัน เช่น Bavaria; Bayern บาวา เรีย, ไบเอิร์น Munich; Mü nchen มิวนิก, มึนเชิน การเขียนชื่อภาษาเยอรมันข้างต้นนี้เขียนตามเกณฑ์การทับศัพท์ของ ราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งประกาศใน พ.ศ. ๒๕๓๕ อย่างไรก็ตามในหนังสือเล่มนี้ หากชื่อนั้นเขียนเพียงอย่างเดียว ก็ให้อ่านแบบภาษาอังกฤษ เช่น Berlin เขียน ว่า “เบอร์ลิน” ไม่ใช่ “แบร์ลิน” ในกรณีของภาษาจีนซึ่งถือว่าการเขียนด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=