2704_7810
5 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๔๘ เดือนมกราคม ๒๕๕๕ แต่ฝ่ายมหายานอธิบายอนัตตาเพิ่มเติมให้พิสดารออกไป และแม้ทุกนิกายถือว่า รสแห่งพุทธธรรม มีรสเดียวคือความหลุดพ้น แต่ฝ่ายมหายานแบ่งความหลุดพ้น ออกเป็น ๒ ชนิด ชนิดแรก คือหลุดพ้นรสเพื่อตัวเอง เป็นวิมุติหรือธรรมรส ของ ฝ่ายหินยานนั้นคือ อหัตผล ชนิดหลัง คือ ความหลุดพ้นเพื่อมหาชนเพราะการ ปณิธานเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อพุทธภูมิ ดังนั้นนิกายมหายานจึงเน้นเรื่องโพธิสัตว์ และพุทธภูมิเพื่อมหาชนเป็นพิเศษ ซึ่งทัศนะว่าด้วยศูนยตาในมหายานอาจสรุปลง ได้ ๒ ทัศนะ คือ อัสสติวาทิน และมัธยามิกวาทินซึ่งอาจอธิบายโดยย่อได้ดังนี้ ๑. อัสสติกวาทิน มีทัศนะว่าศูนยตาหมายถึงความเป็นจริงแท้มีอยู่อย่างปรมัตถ์ เรียกจิตสากลบ้างเรียกอาลยวิญญาณบ้าง แยกออกไปอีก ๒ ทัศนะ คือ จิตตภูต- ตถตาวาทิน และ จิตตนิจจตาวาทิน แต่ละทัศนะตีความลักษณะแห่งศูนยตาแตก ต่างกัน เนื่องจากฝ่ายมหายานแสดงหลักศูนยตาอยู่บนหลักศูนยตา ๒ ระดับ คือ ระดับบุคคลศูนยตา ความเห็นแจ้งในบุคคลและทำลายความยึดถือในเรื่องอัตตา แต่ก็ยังติดยึดถือในเรื่องขันธ์ ๕ ธาตุ ๔ อายตนะ ๑๒ สภาวธรรมทั้งหลายอยู่ และระดับธัมมศูนยตา คือ ความเห็นแจ้งทั้งในบุคคลศูนยตาและธรรมศูนยตา จิตตภูตถตาวาทิน กล่าวถึง มูลการณะของโลกและชีวิตว่าเป็นภาวะที่มีอยู่ โดย ตัวมันเอง ซึ่งเรียกว่า จิตสากล อันเป็นสภาวะที่ทรงอยู่ทั่วไปของในสรรพสัตว์ เรียกชื่อต่าง ๆ กัน เช่น พุทธภาวะ ตถาคตครรภ์ หรือ ธรรมกาย เป็นต้น ซึ่ง แสดงให้เห็นว่า ปรากฏการณ์ต่าง ๆ เป็นเพียงพฤติภาพของจิตสากลอันนี้เท่านั้น วิชญาณวาทิน หรือ บางครั้งเรียกโยคาจารวาทิน กล่าวถึงจิต หรือ อาลย- วิญญาณว่า เป็น มูลการณะของสรรพสิ่งมีภาวะเป็นอัพยากฤต ถ้าไร้อาลย- วิญญาณนี้แล้ว สรรพสิ่งก็ไม่มีไม่ปรากฏจิตนี้ มีสภาวะเกิดดับ เป็นสันตติธรรม สืบเนื่องตั้งแต่กาลไม่ปรากฏ ปรากฏการณ์ทั้งหลายเป็นเงาสะท้อนของจิต แต่ สภาพความเกิดดับเนื่องกันตลอดจนเหตุปัจจัยของปรากฏการณ์ที่เรียกว่า พลังงานบ้าง พีชะบ้าง อันเก็บอยู่ในจิตธาตุนั้นมีอยู่โดยปรมัตถ์ ดังนั้นความหลุด พ้นจึงเป็นภาวะตรงกันข้ามของสังสารวัฏเช่นเดียวกับที่กระบวนการเกิดของ ภาวะต่างๆมีด้านตรงกันข้ามคือกระบวนการดับแต่การดับในที่นี่มิได้หมายถึงจิต หรืออาลยวิญญาญที่สร้างโลกภายนอกดับหรือสูญสลายไปและไม่ได้หมายความ ว่าประสบการณ์ต่างๆสิ้นสุดลงแต่การดับหมายถึงการสิ้นสุดแห่งอัตตาตัวตน การแบ่งแยกทวิภาวะ เมื่อจิตเข้าถึงความเป็นตถตา คือเห็นว่าสรรพสิ่งเกิดขึ้น และมีอยู่ได้เพราะจิตสร้างจึงไม่ควรยึดถือว่าเป็นสัจจะ เพราะถ้าวิญญานต่างๆ ดับไปหมดพระพุทธเจ้ารวมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายจะรับรู้ความทุกข์ของสรรพ- สัตว์ได้อย่างไร เป็นการปฏิเสธมูลภารณะของโลกที่เป็นอมตภาวสากลแผ่ซ่านไป ทั่วอย่างที่จิตตภูตตถตาวาทินแสดงไว้ ๒. ศูนยตวาทิน ถือว่า สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี โดยสภาพปรมัตถ์แล้วย่อมมีภาวะอันเดียว คือ ศูนยตา แต่ส่วน โลกียสมมติรับรองตามบัญญัติว่ามีนั่นมีนี่ บุญ บาป สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา แม้กระนั้น นิพพานว่าโดยโลกิยบัญญัติแตกต่างกันก็จริง แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ แล้วมีสภาพเท่ากันหมดคือ เป็นศูนยตา ดังนั้น ศูนยตวาทิน ไม่กล่าวถือมูลการ ณะของโลกและชีวิต ในฐานะเป็นสภาวะอันมีอยู่เป็นอยู่ด้วยตัวมันเอง และ ปฏิเสธภาวะความมีอยู่โดยตัวมันเองอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นโลกิยธรรมหรือ โลกุตตรธรรม ซึ่งตรงกันข้ามกับทัศนะทั้งสอง คือ จิตตภูตตถตาวาทิน และ จิต- นิจจตาวาทิน ที่กล่าวแล้ว ในขณะเดียวกันทั้งสองทัศนะก็ถือว่า ทัศนะศูนยตาของ นิกายมาธยามิก เป็นนัตถิกทิฏฐิ เพราะทั้งสองทัศนะเห็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรจะ สูญทั้งหมดเพราะเป็นการล้มล้างหลักปฏิจจสมุปบาท อัสสติกวาทิน โดยทั่วไป ยอมรับว่า สังสารวัฏและนิพพานมีอยู่อย่างศูนยตา ถึงแม้กระนั้น จิตตภูตตถตา- วาทิน ก็แสดงทัศนะว่า พฤติภาพการมีกิเลสและอวิชชาต่าง ๆ เป็นของไร้สาระ และสูญได้ แต่จิตสากลจะพลอยสูญไปด้วยไม่ได้ ต้องเป็นตัวยืนโรงอยู่ตลอด อนันตกาล แต่ฝ่าย จิตตนิจจตาวาทิน หรือ โยคาจารวาทิน ถือว่าเป็นความรู้ผิด ไป ที่ไปยึดถือว่ามีปรากฏการณ์อยู่ต่างหากนอกเหนือจากเงาสะท้อนของจิต ความรู้ผิดนี้เท่านั้นที่ควรจัดเป็นสูญถือว่าพีชะต่าง ๆ ใน อาลยวิญญาณ อันเป็น เหตุเป็นปัจจัยของปรากฏการณ์โดยตรงพลอยไร้สาระและสูญไปด้วยไม่ได้ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น การละกิเลสและการบรรลุนิพพานก็ไม่มีความหมาย นิพพานก็ยังคงดำรงอยู่และเป็นอารมณ์แห่งใจได้ และที่ฝ่ายมาธยามิกถือว่า นิพพานเป็นความว่างจากภาวะและอภาวะ ดุจดอกฟ้า เขากระต่ายหรือนางหินมี ครรภ์ เพราะไม่มีการเกิดขึ้นนั้น ฝ่ายโยคาจารก็ยังยืนยันว่า หามิได้ นิพพานที่ชื่อ ว่าว่างนั้น เพราะสูญจากอัตตา ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา หรืออหังการ มมังการ ปรมังการ และกิเลสทั้งปวงต่างหาก นิพพานมีอยู่จริงเป็นอารมณ์แห่ง มรรคจิตและผลจิตที่บุคคลผู้แทงทะลุในไตรลักษณ์แล้ว ก็จักปรากฏแก่เขาผู้นั้น แม้กระนั้นฝ่ายโยคาจารก็ยังยืนว่าศูนยตาหรือความว่างคือความไม่มีทวิภาวะไม่ แบ่งแยก บางสิ่งหรือภาวะอาจมีอยู่จริงได้ในสภาพว่างหรือในอาลยวิญญาณ รศ.นพมาศ อุ้งพระ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง จิตวิทยาสังคมและอนาคต ที่ยั่งยืนของมนุษย์ (Social Psychology and Humanity’s Sustainable Future) ความโดยสรุปว่า บทบาทของจิตวิทยาสังคมคือเปลี่ยนความตระหนักรู้ เกี่ยวกับจิตใจที่ปรับได้ไม่รู้จักพอ และการเปรียบเทียบที่ทำให้อยากได้บ้าง ควร จะสอนให้ตระหนักรู้ในความสำคัญของความพอเพียง ลดความโลภ รู้จักพอใจใน สิ่งที่ตนมีอยู่ และให้ความสำคัญต่อจิตวิญญาณแทนวัตถุ หาความหมายที่ลึกซึ้ง ในชีวิต มีการพบว่าเมื่อให้คนเปรียบตัวเองกับคนที่ด้อยกว่า เขาจะพอใจชีวิตตัว เองมากขึ้น การเห็นคนที่ด้อยกว่าทำให้รู้สึกว่าตนโชคดี วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์น่า จะทำให้คนสำรวจตนเองมากขึ้น และปรับตัวเข้ากับมาตรฐานความหวังที่ลดลง และบรรยากาศสังคมที่คนเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก การเปรียบลง (downward social comparison) ทำให้คนพอใจในชีวิตมากขึ้น จิตวิทยาสังคมได้ค้นพบว่า ชีวิตที่ดีและยั่งยืน มีคุณสมบัติของสิ่งเหล่านี้ คือ ๑. มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและ มีการสนับสนุนให้กำลังใจแก่กัน คนที่มีเพื่อน มีชีวิตสมรสที่มั่นคง มีเครือญาติที่ เข้มแข็งจะมีความ ๒. มีชุมชนแห่งศรัทธา (faith communities) หรือองค์กร อาสาสมัครที่สร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ให้ความหมายและความหวังในชีวิต การสำรวจในสหรัฐอเมริกาของ National Opinion Research Center ซึ่ง สำรวจคนอเมริกัน ๔๒,๐๐๐ คน ตั้งแต่ปี ๑๙๗๒ พบว่า มีคนร้อยละ ๒๖ ที่ไม่ ค่อยหรือไม่เคยไปโบสถ์บอกว่ามีความสุขมาก แต่มีคนเข้าโบสถ์บ่อย ๆ ร้อยละ ๔๗ บอกว่าตนมีความสุขมาก ๓. การมีนิสัยมองโลกในแง่ดี การมองโลกในแง่ดี การมีความภูมิใจในตน การมีความรู้สึกสามารถควบคุมชีวิตตนเอง และการมี นิสัยเปิดเผยคบคนง่าย (extraversion) จะทำให้คนมีความสุข ๔. การไหลหรือ ง่วน (Flow) การทำงานหรือทำงานอดิเรกที่ได้ใช้ทักษะที่ตนถนัดจะทำให้มีความ สุข การไหลหรืออาการง่วนเป็นสภาพที่คนได้ทำเต็มที่ ง่วนกับการทำกิจกรรมจน ลืมนึกถึงตัวเอง และเวลาในการทำอย่างใจจดใจจ่อเพลินจนลืมนึกถึงตัวเอง และเวลาคนจะมีความสุขมากเมื่อได้ทำสิ่งที่ตนถนัดและชอบ ที่แปลกคือ กิจกรรมที่ไม่แพงแต่ทำแล้วเพลิน เช่น ทำสวน ทำงานฝีมือ ทำให้คนมีความสุข มาก มีการพบว่าการบริโภคน้อยแต่ทำเรื่องง่าย ๆ ไม่แพง กลับทำให้คนมีความ สุขมาก และ ๕. การเข้าถึงคำสอน ศาสนาและปรัชญา เนื่องจากคำสอนศาสนา และปรัชญาเป็นแหล่งความหมายของชีวิต สร้างโลกทัศน์ที่ดีในการดำรงชีวิต เป็นแหล่งความสุขในเชิงคุณภาพชีวิตนอกเหนือจากวัตถุ ปรากฏการณ์วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์และวิกฤตโลกร้อนทำให้เราตระหนักรู้ว่า ถึงเวลาแล้วที่มนุษย์จะต้องให้ความสำคัญต่อจิตวิญญาณและความหมายของชีวิต จริงอยู่รายละเอียดของคำสอนศาสนาคริสต์มีส่วนไม่ถูกต้อง แต่แก่นของศาสนา ก็ยังดีอยู่ การสอนให้รักมนุษย์ รักแม้กระทั่งศัตรู เป็นการพูดถึงสปิริตของชุมชน และการแคร์ผู้อื่น ซึ่งสำคัญมากต่อการดำรงอยู่ร่วมกันของมนุษย์ คำสอนของ ศาสนามีทั้งรายละเอียดและแก่น รายละเอียดอาจจะผิดบ้างเมื่อเวลาผ่านไปและ มีการพิสูจน์ แต่แก่นของคำสอนของทุกศาสนาล้วนสอนให้เป็นคนดี คำสอน ศาสนาเป็นแหล่งความหมายชีวิตและสร้างค่านิยมที่สร้างสรรค์ แม้รายละเอียด ของศาสนาหลายศาสนาอาจจะขัดกับเวลาและสถานที่ปัจจุบัน เพราะราย ละเอียดเหล่านั้นถูกตราขึ้นในสภาพและเวลาซึ่งมีอยู่เมื่อหลายพันปีที่แล้ว จึงอาจ ขัดกับข้อเท็จจริงในปัจจุบันจึงต้องมีการสังขยานาคำสอนศาสนา ปรับปรุงแก้ไข และตีความใหม่ แต่โดยเนื้อแท้แล้วศาสนาและปรัชญายังเป็นแหล่งค้นหาความ สุขและความหมายที่แท้จริงของชีวิต โลกจะยั่งยืนหรือไม่นั้นส่วนหนึ่งต้องอาศัย การพัฒนาทางจิตวิญญาณซึ่งนอกเหนือจากวัตถุด้วย สังคมทั่วโลกมีการระบาด ของความคลั่งไคล้ในวัตถุอย่างมากจนเกิดการเสียดุลระหว่างจิตวิญญาณและ วัตถุ ความยั่งยืนของอนาคตมนุษย์นั้นจึงขึ้นอยู่กับการกระทำของมนุษย์เอง สังคมโลกจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะใช้ชีวิตอย่างไร วิถีชีวิตมนุษย์ที่ไร้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=