2704_7810
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ๖. การเพิกถอนโฉนดชุมชน หากพบว่าชุมชนใดที่ดำเนินงานโฉนด ชุมชน มีการกระทำขัดต่อกฎหมายหรือข้อกำหนดตามประกาศของคณะ กรรมการ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาตให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ ในที่ดินของรัฐ ให้สำนักงานแจ้งเป็นหนังสือเพื่อให้ชุมชนทำการปรับปรุงแก้ไข ภายในระยะเวลาอันสมควร หากชุมชนเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติตามแต่ ยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ให้สำนักงานแจ้งเตือนเป็นหนังสืออีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ชุมชน ปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งไม่น้อยกว่า ๓๑ วันแต่ไม่เกิน ๙๑ วัน หาก ชุมชนยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องให้สำนักงานนำเสนอคณะกรรมการพิจารณา และ หากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นชอบให้เพิกถอนการดำเนินงานโฉนดชุมชน ให้สำนักงานแจ้งต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลที่ดินนั้น เพื่อ พิจารณาเพิกถอนการอนุญาตให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ เมื่อหน่วย งานของรัฐที่ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลที่ดินเพิกถอนการอนุญาตให้ชุมชนได้ใช้ ประโยชน์ในที่ดินของรัฐแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวแจ้งเป็นหนังสือแก่ สำนักงานเพื่อยกเลิกโฉนดชุมชนและประกาศให้บุคคลทั่วไปทราบ โฉนดชุมชนเป็นมาตรการในการจัดการที่ดินแบบหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เป็น แนวทางการแก้ปัญหาที่ดินที่สร้างความคล่องตัวในการดำเนินการแก่รัฐ ซึ่งดำเนิน การตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ ว่าด้วย สิทธิชุมชน โดยรัฐจัดสรรที่ดินของรัฐและที่ดินอื่นใดนอกจากที่ดินของรัฐให้แก่ ชุมชนเพื่อให้ชุมชนร่วมกันบริหารจัดการ ครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น ๆ ร่วมกัน อันทำให้เกิดความร่วมมือกันในการดำเนินงาน การจัดสรรที่ดินรูปแบบนี้ เป็นการกระจายการถือครองที่ดินซึ่งทำให้ประชาชนมีที่ดินเพื่อใช้อยู่อาศัยและ ที่ดินทำกิน เมื่อประชาชนมีที่อยู่และมีอาชีพ ประชาชนก็ไม่จำต้องเดินทางเข้า เมืองเพื่อหางานทำ เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น อีกทั้งยัง เป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สภาพสังคมของชุมชนอีกด้วย ผศ. ดร.วงเดือน นาราสัจจ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง นโยบายของ สหรัฐอเมริกาต่อผู้อพยพชาวจีนก่อน ค.ศ. ๑๙๖๕ ความโดยสรุปว่า สหรัฐ อเมริกาเป็นดินแดนของผู้อพยพทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นชาวผิวชาวจากยุโรป ตะวันตก โดยเฉพาะจากอังกฤษ ชาวยุโรปกลุ่มอื่น ๆ ทั้งจากไอร์แลนด์ สแกน ดิเนียเวีย ยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ และชาวจีนซึ่งเป็นชาวเอเชียกลุ่มใหญ่ ที่สุดที่อพยพเข้าไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อแสวงหาโอกาสให้รอดพ้นจากความ แร้นแค้นที่ประสบอยู่ในแผ่นดินเกิด ในช่วงแรก สังคมอเมริกันได้เปิดรับผู้อพยพ ชาวเอเชียโดยไม่มีข้อจำกัดเนื่องจากต้องการแรงงานสูง เพื่อการขยายดินแดน ไปทางตะวันตกและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง แต่ในเวลาต่อมา รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเริ่มดำเนินนโยบายกีดกันชาวจีน นโยบายของสหรัฐอเมริกาต่อผู้อพยพชาวจีนก่อน ค.ศ. ๑๙๖๕ อาจแบ่ง เป็น ๒ ช่วงเวลากว้าง ๆ คือ ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๔๘-๑๘๘๒ เป็นช่วงเวลาที่ สหรัฐอเมริกาเปิดรับผู้อพยพชาวจีนและยังไม่มีนโยบายกีดกันชาวจีน และ ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๘๒-๑๙๖๕ เป็นช่วงเวลาที่สหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายกีดกัน ชาวจีน ทั้งนี้การดำเนินนโยบายแต่ละช่วงเวลามีความแตกต่างกันทั้งปัจจัยที่ กำหนดนโยบาย และผลกระทบที่มีต่อผู้อพยพชาวจีนและบุตรหลานของผู้อพยพ เหล่านั้น ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มีข่าวการพบทองคำในแคลิฟอร์เนียได้แพร่ ออกไปทั่วโลก จึงมีชาวจีนเดินทางเข้าไปยังสหรัฐอเมริกาจำนวนมากและต่อ เนื่องจนถึง ค.ศ. ๑๘๘๒ ซึ่งเป็นปีที่สหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายกีดกันผู้อพยพ ชาวจีน ทำให้มีผู้อพยพชาวจีนกลุ่มใหม่ ๆ ก็ลดน้อยลง ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๔๘- ๑๘๘๒ จำนวนผู้อพยพชาวจีนมีสูงถึงประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คน เฉพาะช่วง ๕ ปี แรก ซึ่งเป็นช่วงตื่นทองในแคลิฟอร์เนีย มีประมาณ ๔๕,๐๐๐ คน ส่วนใหญ่เป็น เด็กหนุ่มจากชนบทของจีน โดยมีสตรีชาวจีนเดินทางเข้าไปเพียง ๑๖ คน ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๔๘-๑๘๘๒ นโยบายดังกล่าวปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านกฎหมายสำคัญ ๒ ฉบับ คือ สนธิสัญญาเบอร์ลิงเกม ค.ศ. ๑๘๖๘ (Burlingame Treaty of ๑๘๖๘) และรัฐบัญญัติกีดกันชาวจีน ค.ศ. ๑๘๘๒ (Chinese Exclusion Act of ๑๘๘๒) ซึ่งอาจแบ่งช่วงออกเป็น ๒ ช่วงเวลา คือ ช่วงก่อนการทำสนธิสัญญาเบอร์ลิงเกม และช่วงหลังการทำสนธิสัญญาเบอร์ลิง เกม แต่ช่วงเวลาเกิดจากปัจจัยที่แตกต่างกันและผลกระทบที่มีต่อผู้อพยพชาวจีน ก็แตกต่างกันด้วย หลัง ค.ศ. ๑๘๘๒ การกระทำความรุนแรงต่อชาวจีนได้ขยาย ตัวออกไปนอกมลรัฐแคลิฟอร์เนีย เหตุการณ์สำคัญที่แสดงถึงความขัดแย้ง ระหว่างแรงงานผิวขาวและชาวจีน เช่น ใน ค.ศ. ๑๘๘๔ สหภาพแรงงานเหมือง แร่หลายกลุ่มที่เมืองบุตต์ (Butte) ดินแดนมอนแทนา ได้เรียกร้องนายจ้างให้ขับ ไล่แรงงานชาวจีนออกไปโดยไม่มีต้องมีเหตุผลใด ๆ ในต้น ค.ศ. ๑๘๘๕ บริษัท รถไฟยูเนียนแปซิฟิกซึ่งให้บริการเดินรถไฟและมีธุรกิจเหมืองถ่านหินหลายแห่ง รอบ ๆ เมืองร็อกสปริงส์ (Rock Springs) ในดินแดนไวโอมิง ได้ถือโอกาสจ้าง แรงงานชาวจีนเข้าทำงานแทนกลุ่มสหภาพแรงงานที่ประท้วงเรียกร้องค่าจ้าง และสวัสดิการที่ไม่เป็นธรรม ทำให้แรงงานผิวขาวโกรธแค้นชาวจีน ในปีเดียวกัน เครือข่ายขององค์กรแรงงานระดับประเทศคือ อัศวินแห่งแรงงาน (Knights of Labor) ได้ก่อการประท้วงเรียกร้องให้นายจ้างเพิ่มค่าแรงและชักชวนให้แรงงาน ทุกเชื้อชาติรวมทั้งชาวจีนร่วมประท้วงด้วย แต่กลุ่มแรงงานชาวจีนไม่ได้ให้ความ ร่วมมือ ดังนั้นพวกแรงงานผิวขาวจึงพากันเผาทำลายที่พักคนงานของชาวจีน มี ชาวจีนจำนวนมากถูกทำร้าย และมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย ๒๘ คน บ้านถูกเผา ๗๕ หลัง ทรัพย์สินของชาวจีนถูกทำลายไปคิดเป็นมูลค่าประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ เหตุการณ์ลุกลามใหญ่โตจนกระทั่งรัฐบาลกลางต้องส่งทหาร ของกองทัพเข้ามาควบคุมสถานการณ์ นอกจากนี้รัฐบาลยังต้องจ่ายเงินชดเชย การเสียชีวิตของชาวจีนและค่าเสียหายของทรัพย์สินให้กับรัฐบาลจีนด้วย แต่ ชาวจีนที่ได้รับความเสียหายแต่ละรายและครอบครัวของชาวจีนเหล่านั้นไม่ได้รับ เงินชดเชยแต่อย่างใด ในปีต่อมา การต่อต้านชาวจีนด้วยความรุนแรงได้เกิดขึ้น ที่เมืองซีแอตเติล โดยกลุ่มต่อต้านชาวจีนได้รวมตัวกันบุกเข้าไปในย่านชุมชนชาว จีน แล้วจับคนจีนทั้งหมดลงเรือเพื่อส่งกลับไปยังเมืองแซนแฟรนซิสโก เหตุการณ์นี้ทำให้รัฐบาลต้องส่งกองทัพมาควบคุมสถานการณ์และประกาศ ภาวะฉุกเฉิน หลังจากนั้นไม่นานนัก การก่อหวอดทำนองเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้น ต่อมาที่เมืองทาโคมา ในดินแดนวอชิงตัน รวมทั้งการลอบสังหารหมู่ชาวจีน จำนวน ๓๑ คนในเขตวอลโลวา เคาน์ตี (Wallowa County) มลรัฐออริกอนใน ค.ศ. ๑๘๘๗ ด้วย กระแสการต่อต้านชาวจีนโดยใช้ความรุนแรงอย่างมากดังกล่าวเป็นปัจจัย สำคัญต่อการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับผู้อพยพชาวจีนของสหรัฐอเมริกา ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงพยายามผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับผู้อพยพชาวจีนเพื่อลด ความรุนแรงที่กำลังขยายออกไปอย่างต่อเนื่อง ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ จนถึง ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหรัฐอเมริกายังคงดำเนินนโยบายกีดกันไม่ให้ชาวจีน เดินทางเข้าไปในสหรัฐอเมริกา ในช่วงเวลานี้ สหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายอีก หลายฉบับเกี่ยวกับผู้อพยพชาติต่าง ๆ ที่สำคัญเช่น กฎหมายกำหนดโควต้า ของผู้อพยพเข้าสหรัฐอเมริกา ค.ศ. ๑๙๒๔ หรือ “National Origins Act of ๑๙๒๔” ซึ่งกำหนดจำนวนผู้อพยพตามโควต้าของประเทศหรือถิ่นกำเนิดของผู้ อพยพเท่ากับร้อยละ ๒ ของจำนวนผู้ที่ได้โอนสัญชาติใน ค.ศ. ๑๘๙๐ รวมปีละ ประมาณ ๑๖๔,๐๐๐ คน ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ กระแสต่อต้านชาว จีนในสังคมอเมริกันได้ลดลง และมีการต่อต้านผู้อพยพชาวญี่ปุ่นอย่างรุนแรงจาก เหตุการณ์ที่กองทัพญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล ในหมู่เกาะ ฮาวาย ประกอบกับสหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีนซึ่งเป็นพันธมิตรต่อ ต้านญี่ปุ่น ดังนั้น ในปลาย ค.ศ. ๑๙๔๓ สหรัฐอเมริกาจึงออกกฎหมายเพื่อยกเลิก การกีดกันชาวจีน กฎหมายเกี่ยวกับผู้อพยพและสัญชาติ ค.ศ. ๑๙๖๕ ทำให้ ปัญหาของผู้อพยพชาวจีนซึ่งเป็นชนชาติเดียวที่ถูกกีดกันด้วยความหวาดระแวง อคติและความเกลียดชังมายาวนานยุติลง จึงเป็นการสมานบาดแผลในอดีต และเปิดโอกาสให้ชาวอเมริกันได้แสดงความใจกว้างต่อเพื่อนมนุษย์โดยที่ชาว อเมริกันก็ไม่ได้สูญเสียอะไร แต่ขณะเดียวกันจะช่วยให้ชาวอเมริกันยืนอยู่บนหลัก การของประชาธิปไตย • วันพุธที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ศ. ดร.เดือน คำดี ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง พุทธปรัชญา : อัตถิตา-นัตถิตา สู่ศูนยตา ความโดยสรุปว่า แม้พระพุทธศาสนาทุกนิกาย สอนว่าสรรพสิ่งเป็น อนัตตา และถือว่าวิมุติ ความหลุดพ้นจากอัตตา คืออหังการและมมังการเป็นจุด หมายสูงสุดเป็นเอกรส แม้ทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานเห็นตรงกันก็ตาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=