2704_7810

3 ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๔๘ เดือนมกราคม ๒๕๕๕ สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศ. ดร.ไผทชิต เอกจริยกร ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง โฉนดชุมชน : ทาง เลือกใหม่ในการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน ความโดยสรุปว่า ปัญหาที่ดินเป็นปัญหา สำคัญ โดยเฉพาะปัญหาการไร้ที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินซึ่งถือว่าเป็นปัญหาเกี่ยว กับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและการ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงตระหนักถึงความสำคัญ ของปัญหาและพยายามดำเนินการแก้ไขด้วยการนำเสนอแนวทาง วิธีการและ มาตรการต่าง ๆ มาตรการ “โฉนดชุมชน” ถูกนำเสนอครั้งแรกในการแถลง นโยบายการบริหารประเทศว่าด้วยการปรับโครงสร้างภาคเศรษฐกิจในภาค เกษตรของรัฐบาลต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยมีความมุ่ง มั่นที่จะจัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน และ เร่งรัดการออกเอกสารสิทธิ์ให้แก่เกษตรกรยากจน และชุมชนที่ทำกินอยู่ในที่ดิน ของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชน ปัจจุบันได้มีการดำเนินการเปิด สำนักงานโฉนดชุมชนขึ้น ณ บริเวณลานหน้าอาคารสำนักงานปลัดสำนักนายก รัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ออกโฉนดชุมชนให้แก่สหกรณ์บ้านคลองโยง จำกัด จังหวัดนครปฐม เป็นแห่งแรก มีเนื้อที่จำนวน ๑,๘๑๓ ไร่ ๓๑ ตารางวา และมีชุมชนซึ่งได้รับความ เห็นชอบให้ดำเนินงานโฉนดชุมชนแต่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการออกโฉนดอีก จำนวน ๓๔ ชุมชน นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่ได้ยื่นความประสงค์ขอออกโฉนด ชุมชนอีกจำนวน ๑๒๒ ชุมชน แนวความคิดของ “โฉนดชุมชน” คือ การให้ชุมชนบริหารจัดการโดยใช้ สิทธิของชุมชน ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามบัญญัติว่า ด้วย “สิทธิชุมชน” ในมาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗ วรรค ๑ รัฐธรรมนูญแห่งราช- อาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยให้กลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันนั้นมีสถานะเสมือน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แต่ยังคง หลักการในเรื่องของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เอาไว้ กล่าวคือ ที่ดินดังกล่าวเป็นของรัฐ ซึ่งไม่สามารถจำหน่ายจ่ายโอนให้กับบุคคลอื่นได้ ไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ หรือยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับรัฐเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินนั้นได้ และไม่สามารถ ยึดถือที่ดินดังกล่าวไว้โดยมีเจตนายึดถือเพื่อตนได้ การยึดถือโดยสมาชิกของ ชุมชนนั้นจึงเป็นเพียงการยึดถือแทนรัฐเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้ชาวบ้านซึ่ง เป็นสมาชิกของชุมชนกระทำการโอนขายที่ดินดังกล่าวให้กับนายทุนไปซึ่งอาจมี ผลทำให้บุคคลดังกล่าวนั้นต้องสูญเสียที่ดินทำกินอันจะเป็นปัญหาที่จะวนเวียนไป มาอยู่ตลอดในวัฏจักรที่มีลักษณะเช่นเดิม ขั้นตอนและกระบวนการดำเนินการโฉนดชุมชน มีดังนี้ ๑. การจัดให้มีโฉนดชุมชน รัฐจะออกโฉนดชุมชนให้แก่ชุมชนเมื่อ ชุมชนยื่นคำร้องขอต่อสำนักงานโฉนดชุมชนหรือหน่วยงานที่มีอำนาจดำเนินการ เกี่ยวกับโฉนดชุมชน ๒. การพิจารณาคำขอเพื่อดำเนินงานโฉนดชุมชน เมื่อได้รับคำขอ สำนักงานฯ ที่รับคำขอต้องตรวจสอบคำขอ เอกสารหรือหลักฐานของชุมชน ให้แล้ว เสร็จภายใน ๖๑ วันนับแต่วันที่รับคำขอ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการประสานงานเพื่อ จัดให้มีโฉนดชุมชน พิจารณาหรือภายในเวลา ๙๑ วัน ในกรณีมีความจำเป็นต้อง ทำการตรวจสอบพื้นที่ และหากจำเป็นต้องใช้เวลาเกินกว่านั้นให้เสนอเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งแจ้งเหตุผลการล่าช้าต่อคณะกรรมการพิจารณาเป็นรายกรณี ๓. ระยะเวลาของโฉนดชุมชน โฉนดชุมชนที่ออกให้แก่ชุมชนให้เป็นไป ตามระยะเวลาที่ชุมชนได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐจากหน่วยงาน ของรัฐ และหากชุมชนใดประสงค์จะดำเนินงานโฉนดชุมชนต่อไป ให้ชุมชนนั้น ยื่นคำขอต่อสำนักงานเพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณา ก่อนครบกำหนดระยะ เวลาที่หน่วยงานอนุญาตให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐอย่างน้อย ๙๑ วัน เมื่อคณะกรรมการมีมติว่าควรให้ชุมชนนั้นดำเนินงานโฉนดชุมชนต่อไป ให้ สำนักงานแจ้งมติของคณะกรรมการแก่หน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ ดูแลที่ดินนั้นเพื่อพิจารณาอนุญาตให้ชุมชนใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐต่อจากการ อนุญาตก่อนหน้านั้น ๔. การดำเนินงานโฉนดชุมชน ในการดำเนินงานโฉนดชุมชน ให้คณะ กรรมการชุมชนที่ดำเนินงานโฉนดชุมชน มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้สอดคล้อง กับลักษณะของชุมชน ดังนี้ ๑.) จัดทำระเบียบของชุมชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการชุมชน การจัดสรรที่ดิน และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินหรือทรัพยากรธรรมชาติที่ เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ โดยระเบียบดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบร่วม กันของสมาชิกในชุมชนและมีความเป็นธรรมต่อสมาชิกในชุมชน ๒.) จัดทำและปรับปรุงระบบข้อมูลและแผนที่ขอบเขตการจัดการ ที่ดินของชุมชนให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยครอบคลุมถึงที่ดินรายแปลงที่จัดสรรให้ กับสมาชิกของชุมชนเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน ที่ดินส่วนกลางที่ชุมนชนใช้ ประโยชน์ร่วมกัน และที่ดินที่ชุมชนได้รับอนุญาตให้เป็นผู้บริหารจัดการ ๓.) กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของชุมชน โดยได้รับความเห็นชอบร่วมกันของสมาชิกในชุมชนและสอดคล้องกับสภาพ เศรษฐกิจ สังคม และภูมินิเวศของชุมชน ๔.) กำหนดแผนการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการจัดการระบบการ ผลิตให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ โดยคำนึงถึงการผลิตที่พึ่งพาตัวเองโดยการ ทำการเกษตรกรรมที่ยั่งยืนและการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ ๕.) กำหนดแผนการอนุรักษ์ การดูแลรักษา และการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืนตลอดจนสอดส่องดูแลและแจ้งเหตุแก่หน่วยงาน ของรัฐเมื่อพบภัยพิบัติทางธรรมชาติ การบุกรุกหรือการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ หรือทรัพย์สินของทางราชการในบริเวณพื้นที่ที่ชุมชนรับผิดชอบหรือพื้นที่ใกล้เคียง ๖.) ดำเนินการให้มีการจัดตั้งกองทุนที่ดินของชุมชนเพื่อดำเนิน งานเกี่ยวกับโฉนดชุมชน ๗.) ดำเนินงานตามนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์และวิธีการที่ เกี่ยวกับโฉนดชุมชนตามที่คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการกำหนด รวมทั้ง ปฏิบัติตามระเบียบฯฉบับนี้อย่างเคร่งครัด ๘.) จัดทำรายงานผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคประจำปี ให้คณะกรรมการทราบเพื่อประโยชน์ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โฉนดชุมชนในแต่ละพื้นที่นอกจากหลักเกณฑ์ วิธีและเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาตให้ ชุมชนได้รับประโยชน์ในที่ดินของรัฐจากหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ ดูแลที่ดินแล้ว ๕. การสิ้นสุดของโฉนดชุมชน ชุมชนที่ดำเนินงานโฉนดชุมชน หากไม่ ประสงค์ที่จะดำเนินงานโฉนดชุมชนต่อไป ให้แจ้งความประสงค์ พร้อมทั้งแผน งานในการยุบเลิกการดำเนินงานโฉนดชุมชนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน หนี้สินและ ภาระที่มีต่อทางราชการเป็นหนังสือต่อสำนักงานฯ เพื่อเสนอคณะกรรมการ พิจารณาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๙๑ วันก่อนการยุบเลิก เมื่อคณะกรรมการมีมติให้ ยุบเลิกแล้ว ให้สำนักงานฯ แจ้งมติของคณะกรรมการแก่หน่วยงานของรัฐที่ทำ หน้าที่รับผิดชอบดูแลที่ดินนั้นเพื่อพิจารณายกเลิกการให้ชุมชนใช้ประโยชน์ใน ที่ดินของรัฐและให้ถือว่าชุมชนนั้นพ้นจากภาระการดำเนินงานโฉนดชุมชนในที่ดิน ของรัฐนั้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=