2703_8243
7 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๗ เดือนธันวาคม ๒๕๕๔ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ มีเรื่องสืบสวนสอบสวนที่เป็นผลงานแปลของผู้อื่นลงพิมพ์ เผยแพร่อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิยายสืบสวนสอบสวนชุดนักสืบเชอร์ล็อก โฮล์มส์ และชุดนักสืบอาแซน ลูแปง แสดงให้เห็นกระแสนิยมของนิยายนักสืบใน วงวรรณกรรมไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างดี พระราชนิพนธ์คดีรหัสที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระราชนิพนธ์ขึ้นด้วยพระองค์เองมี ๒๗ เรื่องเช่นกัน เริ่มจากพระราช- นิพนธ์เรื่อง จับขโมยที่ เมืองอังกฤษ เป็นพระราชนิพนธ์ตั้งแต่ครั้งดำรงพระ อิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ขณะทรง ศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ มีพระชนมายุประมาณ ๑๕ พรรษา ทรงใช้ตัว ละครเป็นชาวอังกฤษและฉากในประเทศอังกฤษ และทรงจบเรื่องด้วย คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับความสามารถของตำรวจไทย พระราชนิพนธ์คดีรหัสเรื่องสำคัญและเป็นที่รู้จักกันดี คือ ชุดนิทานทอง อิน ดังได้กล่าวมาแล้วว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระ ชนมายุเพียง ๑๒ พรรษาได้ทรงพระราชนิพนธ์นิทานสั้น ๆ เรื่อง ไม่กลัวผี ไว้ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์เรื่องแรก ต่อมาขณะที่ทรงศึกษาอยู่ในประเทศ อังกฤษ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เรื่องสั้น ชื่อ The Second Ghost of Phra Kanông เป็นเรื่องการสืบคดีลึกลับเกี่ยว กับปีศาจนางนิ่มมาหลอกลูกและสามี พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ยังไม่จบ เรื่อง เพราะวิธีคลี่คลายคดียังไม่ได้เปิดเผย พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นลาย พระหัตถ์บันทึกในสมุดโน้ต ยังไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ พระองค์ทรงใช้พระนาม แฝงว่า C.H.T. ซึ่งย่อมาจาก Calton H. Terris พระราชนิพนธ์เรื่อง ไม่กลัวผี และเรื่อง The Second Ghost of PhraKanông จึงน่าจะเป็นต้นแบบของเรื่อง นากพระโขนงที่สอง ซึ่งเป็น เรื่องสั้นเรื่องแรกในคดีรหัสชุดนิทานทองอิน จะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำชื่อนายชมจากเรื่อง ไม่กลัวผี และเรื่องผู้ บัญชาการกรมตำรวจและนักสืบซิดนี่ย์ คิงสเวลล์วางแผนจับผีนางนิ่มจาก The Second Ghost of Phra Kanông มาใช้ในเรื่อง นากพระโขนงที่สอง โดยทรงให้นายชมร่วมมือกับนายชื่นผู้เป็นน้องชายปลอมเป็นผีแม่นาก (ซึ่ง เป็นแม่ที่เสียชีวิตไปแล้ว) มาหลอกพันโชติผู้เป็นพ่อเพื่อขัดขวางไม่ให้แต่งงาน ใหม่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนตัวละครจาก ผู้บัญชาการกรมตำรวจและนักสืบซิดนี่ย์ คิงสเวลล์เป็นนายทองอิน ซึ่ง ทำงานคล้าย “พลตระเวนลับ” อาจเทียบได้กับนักสืบอิสระในปัจจุบัน และ นายวัด ซึ่งเป็นเพื่อนคู่หู นิทานทองอิน เป็นเรื่องสั้นชุด รวม ๑๕ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงพระราชนิพนธ์ขณะดำรงพระ ราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎ- ราชกุมาร ลงพิมพ์ใน ทวีปัญญา พ.ศ. ๒๔๔๗–๒๔๔๘ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๖๔ ทรงปรับปรุงใหม่และลงพิมพ์ใน ดุสิตสมิต ในการปรับปรุงเพื่อพิมพ์ซ้ำนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนชื่อชุดของพระราชนิพนธ์ เรื่องนี้จาก นิทานทองอิน เป็น ประพฤตติการของนายทองอิน รัตนะ- เนตร์ ทรงตัดเรื่องสั้นออก ๔ เรื่อง นายทองอินนับเป็นตัวละครนักสืบตัวที่ สองที่ได้รับพระราชทานนามสกุล จาก นิทานทองอิน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระ ราชนิพนธ์คดีรหัสที่เป็นเรื่องแต่งล้อ (parody) หลายเรื่อง ได้แก่ เรื่อง ทดลองความไหวพริบ และเรื่อง ชุดนายสวัสดิ์นักสืบ ซึ่งมีเรื่องสั้น ๕ เรื่อง ทุกเรื่องมีนาย สวัสดิ์ คติจินดา เป็นนักสืบ นายสวัสดิ์ คติจินดา เป็นตัวละคร นักสืบตัวแรกที่ได้รับพระราชทานนามสกุล เพราะทรงพระราชนิพนธ์คดีรหัส เรื่องชุดนี้ก่อนที่จะทรงปรับปรุงแก้ไขคดีรหัสชุด นิทานทองอิน และเป็นเวลา หลังจากทรงตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลแล้ว นายสวัสดิ์ นักสืบไม่ ฉลาดเฉลียวจึงมักพลาดท่าแก่ฝ่ายผู้ร้าย ถูกคนร้ายหลอกหรือมีเหตุให้ลงเอย อย่างพลิกความคาดหมายทุกครั้งไป คดีรหัสชุด นายสวัสดิ์นักสืบ จึงเป็นเรื่อง ให้อารมณ์ขันหรรษา พระราชนิพนธ์คดีรหัสอีกชุดหนึ่ง เป็นประเภทบทละครพูดแบบ ภาพยนตร์ ชุดเยมส์ วิลสัน เป็นเรื่องจบในตอนมี ๕ เรื่องต่อเนื่องกัน แต่ เรื่องราวทั้งหมดยังไม่จบบริบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้แสดงหลังการประลองยุทธเสือป่าที่ค่าย บ้านโป่ง-โพธารามในแต่ละปี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๒–๒๔๖๗ ยกเว้น พ.ศ. ๒๔๖๕ ลักษณะของบทละครพูดแบบภาพยนตร์ คือ มีเฉพาะเนื้อเรื่องทำนอง เรื่องสั้น บรรยายฉาก กำหนดตัวละครที่เข้า-ออกจากฉาก เรื่องแบ่งเป็นฉาก สั้น ๆ และให้ผู้แสดงคิดบทพูดเอาเอง เรื่องราวจะต่อเนื่องกันยาวแบบ ภาพยนตร์เงียบในสมัยนั้น แม้ว่าจะมีชื่อชุดและชื่อตัวละครเอกเป็นฝรั่ง แต่ เป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเอง โดยทรงซึมซับเรื่องราวบางอย่างจากนิยายนักสืบหลายเรื่องที่ทรงอ่าน ผสานเข้ากับจินตนาการของพระองค์ และพระองค์ทรงแสดงเป็นนักสืบเยมส์ วิลสันทุกครั้ง นอกจากบทความนี้จะแสดงความสนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใน ‘คดีรหัส’ และแสดงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ ในการประพันธ์วรรณกรรมประเภทนี้ ซึ่งมีหลากหลายประเภทแล้ว ผู้เขียนยัง เน้นการศึกษาจากสำเนาต้นฉบับลายพระหัตถ์เพื่อให้ชื่อเรื่อง ชื่อตอน การ ลำดับตอนที่พิมพ์ถูกต้อง สมบูรณ์ ต่างกับที่อ้างอิงจากหนังสืออื่น ๆ นอกจาก นี้ ผู้เขียนยังคัดค้านข้อสรุปที่ว่านายทองอินเป็นนักสืบคนแรกในวรรณกรรม ไทย นิทานทองอินเป็นนิยายสืบสวนสอบสวน เรื่องแรกของไทย และนาย ทองอินเป็นตัวละครตัวแรกที่ได้รับพระราชทานนามสกุล โดยเสนอข้อมูลให้ เห็นว่ามีผู้แต่งเรื่องสืบสวนสอบสวนเป็นเรื่องขนาดสั้นหลายเรื่องแล้ว ในรัช- สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นายทองอินจึงไม่ใช่นักสืบคน แรกของไทยและไม่ใช่ตัวละครนักสืบตัวแรกที่ได้รับพระราชทานนามสกุล แต่ นายทองอินเป็น ตัวละครนักสืบที่มีผลงานต่อเนื่องเป็นคนแรก นอกจากนี้ ผู้ เขียนยังวิเคราะห์ว่าแม้วรรณกรรมประเภทคดีรหัส หรือที่เรียกกันว่านิยาย นักสืบ หรือนิยายสืบสวนสอบสวน จะมีขึ้นแล้วในวงวรรณกรรมไทยตั้งแต่ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรุ่งเรืองพอสมควรใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่วรรณกรรม ๙ ประเภทนี้ กลับไม่มีพัฒนาการเท่ากับวรรณกรรมประเภทอื่น ๆ ในขณะที่นักอ่านไทย จำนวนไม่น้อยนิยมอ่านคดีรหัสที่เป็นเรื่องแปลจากต่างประเทศ แต่กลับมีนัก เขียนร่วมสมัยของไทยไม่กี่คนที่สืบสานการสร้างสรรค์คดีรหัสของไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=