2703_8243
6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน กับความลังเลและสงสัย KPIS ๒ ได้โอกาสทำจิตภาวนาโดยการสวดมนต์ให้มีเสียงเที่ยงตรงตาม เสียงปาฬิ จะนำพาจิตให้เห็นอริยสัจ ๔ โดยไม่ลังเล สงสัย การเห็นอริยสัจ ๔ ย่อมนำพาตนเข้าสู่สัมมาทิฐิ บนเส้นทางของพุทธวิถี KPIS ๓ เริ่มดำเนินการให้ ฐานกาย รับอาหาร ๔ อันประกอบด้วย หนึ่ง คำข้าว สอง ผัสสะ สาม สัญญาเจตนา และ สี่ วิญญาณ เพื่อฝึกจิตต่อเนื่อง เนือง ๆ ไม่ขาดสาย การรู้จริง ในปัจจัย ๒๔ อันเป็นฐานฝึกจิตที่ต่อเนื่อง เป็นการไต่ตามขั้นบันได รู้อาหารที่เหมาะเจาะกับการเข้าทาง มรรค ๘ นำพา จิตกายเข้าสู่ มัคคสัจจะ จนกว่าจะเข้า มรรค ๙ อันมีปัญญาและปัญญาญาณ มีปัญญา จนถึง ปัญญาญาณ จะสืบสร้างและชำระกายและจิตให้เกษมโสมนัส เป็นพุทธจิต คือ ตื่น รู้ เบิกบานตราบเท่าลมหายใจสุดท้าย การเข้าถึง มรรค ๙ เป็นเรื่องที่ “ถึง พูดไม่ได้” “พูดได้ก็ยังไม่ถึง” สำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ รศ.อัศนีย์ ชูอรุณ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ศัพท์บัญญัติสาขาวิชาศิลปะ จากศิลปสงเคราะห์ถึงพจนานุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณ- ฑิตยสถาน ความโดยสรุปว่า ศัพท์บัญญัติสาขาวิชาศิลปะมีปรากฏเป็นทาง ราชการครั้งแรกในหนังสือศิลปสงเคราะห์ของศาสตราจารย์ พระยา อนุมานราชธนมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ และต่อมามีในพจนานุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๓๐ และ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๑ ในหนังสือทั้ง ๓ เล่มมีศัพท์ตั้งที่ตรงกัน จำนวน ๗๘ ศัพท์ตั้ง และมีศัพท์บัญญัติจากศัพท์ตั้งที่ตรงกันนี้จำนวนทั้งสิ้น ๑๖๖ ศัพท์ การศึกษาศัพท์ตั้งดังกล่าว พบว่ามีหลายศัพท์ตั้งมีศัพท์บัญญัติ เหมือนกันและมีหลายศัพท์ตั้งมีศัพท์บัญญัติต่างกัน ศัพท์บัญญัติจากศัพท์ตั้งที่ตรงกันในศิลปสงเคราะห์และในพจนานุกรม ศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งมีศัพท์ตั้งที่ตรงกันอยู่ จำนวน ศัพท์ตั้งนี้ มี ๑๒ ศัพท์ตั้งที่มีศัพท์บัญญัติเหมือนกัน มี ๗ ศัพท์ตั้งที่มี บางศัพท์บัญญัติเหมือนกัน มี ๓ ศัพท์ตั้งที่มีศัพท์บัญญัติเหมือนกันแต่สะกด ต่างกัน และมี ๕๖ ศัพท์ตั้งที่มีศัพท์บัญญัติต่างกัน จึงเห็นได้ว่าพัฒนาการ ศัพท์บัญญัติสาขาศิลปะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงศัพท์บัญญัติเดิมไปจำนวน มากศัพท์ ศัพท์บัญญัติจากศัพท์ตั้งที่ตรงกันในศิลปสงเคราะห์และในพจนานุกรม ศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๖๖ ศัพท์ เป็นศัพท์บัญญัติที่ผูกตามไวยากรณ์ไทยอยู่ในศิลปสงเคราะห์จำนวน ๕๘ ศัพท์ อยู่ในพจนานุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน มี จำนวน ๕๗ ศัพท์ เป็นศัพท์บัญญัติที่ผูกตามไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตอยู่ ในศิลปสงเคราะห์จำนวน ๒๐ ศัพท์ อยู่ในพจนานุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ- ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน จำนวน ๒๘ ศัพท์ เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้การทับ ศัพท์อยู่ในศิลปสงเคราะห์ จำนวน ๑๖ ศัพท์ อยู่ในพจนานุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน จำนวน ๗ ศัพท์ จึงเห็นได้ว่าพัฒนาการ บัญญัติศัพท์สาขาศิลปะยังคงใช้การผูกคำตามไวยากรณ์ไทยเป็นหลักสำคัญ และใช้การทับศัพท์น้อยลง เหตุที่ศัพท์บัญญัติสาขาศิลปะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงศัพท์บัญญัติ เดิมไปจำนวนมากศัพท์ เป็นเพราะว่าศัพท์บัญญัติเดิมจำนวนมากยังไม่ “ติด” หรือยังไม่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการศิลปะ จึงจำเป็นต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้โดยง่าย และใช้ประโยชน์ทาง วิชาการได้เป็นสำคัญ และการที่ศัพท์บัญญัติสาขาศิลปะยังคงใช้การผูกคำ ตามไวยากรณ์ไทยเป็นส่วนมาก และมีการใช้การทับศัพท์น้อยลง ก็แสดงว่า ได้มีความพยายามใช้การผูกคำตามไวยากรณ์ไทยแทนที่การทับศัพท์ โดยจะ ใช้การทับศัพท์เท่าที่จำเป็นเท่านั้น การศึกษาศัพท์บัญญัติสาขาวิชาศิลปะจากศิลปสงเคราะห์ถึงพจนา- นุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ทำให้ได้เห็นพัฒนา การของศัพท์บัญญัติสาขาศิลปะของไทย อันจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์แก่ การปรับปรุงศัพท์บัญญัติหรือบัญญัติศัพท์ใหม่ในสาขาศิลปะของราชบัณ- ฑิตยสถานในโอกาสต่อไป ศ. ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ความสนพระราช- หฤทัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใน “คดีรหัส” ความโดย สรุปว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอัจฉริยภาพทาง วรรณศิลป์อย่างยิ่งยวด เป็นที่ประจักษ์ชัดในหมู่นักวรรณคดีและนักอ่าน ทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระราชนิพนธ์มีจำนวนกว่า ๑,๒๓๖ เรื่อง ในทุกประเภทวรรณศิลป์ หลังพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว มีผู้ถวายพระ ราชสมัญญาว่า พระมหาธีรราชเจ้า อันหมายถึงความเป็นปราชญ์ในทาง อักษรศาสตร์ และในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๔ อันเป็นวาระพระราช- สมภพครบ ๑๐๐ พรรษา องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณให้เป็นบุคคล ของโลกผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ทรงเป็นคนไทยคนที่ ๔ ที่ได้รับ ประกาศยกย่องจากยูเนสโก พระราชนิพนธ์ประเภทหนึ่ง คือ “คดีรหัส” หมายถึง งานประพันธ์แนว เรื่องลึกลับ (mystery) ซึ่งมักจะมีการสืบสวนคดีฆาตกรรมหรืออาชญากรรม ที่ซ่อนเงื่อนยากแก่การคลี่คลาย พระองค์ทรงใช้คำนี้เป็นครั้งแรกเมื่อทรง แปลเรื่อง แมลงป่องทอง จากเรื่อง The Golden Scorpion ของ แซ็กซ์ โรห์เมอร์ (Sax Rohmer) พระราชนิพนธ์คดีรหัสแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ คดี รหัสที่เป็นพระราชนิพนธ์แปล และคดีรหัสที่ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องขึ้นเอง คดีรหัสที่เป็นพระราชนิพนธ์แปลจากภาษาอังกฤษมีจำนวน ๒๗ เรื่อง ทั้งเรื่องสั้น นวนิยาย และเรื่องสั้นต่อเนื่องเป็นชุด ได้แก่ เรื่อง สร้อยคอ เพชรห้าร้อย พระองค์น่าจะทรงแปลตอนหนึ่งจากนวนิยายเรื่อง The Mystery of the Five Hundred Diamonds ซึ่งเป็นงานเขียนชุดนักสืบ เออแฌน วัลมงต์ ของโรเบิร์ต บาร์ เรื่องสั้น ๗ เรื่อง “ใครเป็นผู้ฆ่า” ของ “วอร์ดรูม” ต่อมาทรงแปลเรื่องสั้นชื่อ “ออกงานครั้งที่สุด ราชการ ราชสงครามของเชอร์ล็อก โฮล์มส์” จากเรื่อง “The Last Bow : The War Service of Sherlock Holmes” ผลงานของเซอร์ อาเธอร์ คอนัน ดอยล์ จากนั้นพระองค์ทรงแปลนวนิยายเรื่อง แมลงป่องทอง จากเรื่อง The Golden Scorpion ซึ่งเป็นตอนหนึ่ง ในชุด ดร.ฟู แมนจู อาชญากรตัวเอ้ (The Mystery of Dr.Fu-Manchu) ของ แซ็กซ์ โรห์เมอร์ ลงพิมพ์ติดต่อ กันนาน ๗ เดือน คดีรหัสเรื่องต่อมาที่ทรงแปลคือ คดีลึกลับแห่งมหานคร จากเรื่องชุด Mysteries of a Great City ของวิลเลียม ที. เลอคิว (William Tufnell Le Queux) ซึ่งเป็นงานรวมเรื่องสั้น ๑๒ เรื่อง ต้นฉบับ ลายพระหัตถ์บนหน้ากระดาษขนาดเอสี่มีความยาวถึง ๒๒๙ หน้า แสดง ให้เห็นพระวิริยะอุตสาหะของ พระองค์เป็นอย่างยิ่ง คดีรหัสพระราชนิพนธ์แปล เรื่องสำคัญอีกเล่มหนึ่ง คือ ประติภาณแห่งมองสิเออร์ปัวโรต์ เป็นผลงาน รวมเรื่องสั้นชุดนักสืบแอร์กืล ปัวโรต์ (Hercule Poirot) ของอากาธา คริสตี้ (Agatha Christie) พระองค์ทรงแปลไว้ ๑๑ เรื่อง พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นคนไทยพระองค์แรกที่ทรงแปลเรื่องของนักสืบ ปัวโรต์ ซึ่งต่อมากลายเป็นนักสืบลือนามในบรรดาผลงานนิยายนักสืบของ อกาธา คริสตี้และในทำเนียบนักสืบในวรรณกรรมของโลก พระองค์ทรง แปลเรื่องสั้นของอกาธา คริสตี้ตั้งแต่เธอเพิ่งเขียนงานชุดนักสืบปัวโรต์ เพียง ๓ เรื่อง และเพิ่งเริ่มมีชื่อเสียงในวงวรรณกรรม คดีรหัสที่เป็นพระราชนิพนธ์แปลจำนวนมากมายนี้ แสดงให้เห็นว่า ๒๕พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชื่นชอบงานประพันธ์แนวนี้ อย่างจริงจัง เพราะหลายเรื่องที่ทรงแปลมีขนาดยาวมาก พระองค์ทรงแปลต่อ เนื่องกันเป็นเวลา ๖–๑๒ เดือน นอกจากพระราชนิพนธ์แปลของพระองค์แล้ว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=