2703_8243
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน กลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ที่เป็นสมาชิกของ WBCSD ได้ดำเนินการ จัดทำแผนที่ทางสัญจรเทคโนโลยีปูนซีเมนต์ โดยมีเป้าประสงค์ในการลดการ ปล่อยออกก๊าซเรือนกระจก ในกรอบเวลาตั้งแต่ ค.ศ. ๒๐๑๐ ถึง ค.ศ. ๒๐๕๐ ผลที่ได้คือแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยี ๔ เรื่อง คือ - การเพิ่มประสิทธิภาพเชิงความร้อนและไฟฟ้า - การใช้เชื้อเพลิงทางเลือกทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล - การใช้วัสดุอื่นทดแทนเม็ดปูน - การเก็บและกักคาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณว่าจากการดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีตามแนวทางทั้ง ๔ เมื่อ สิ้นสุด ค.ศ. ๒๐๕๐ การปล่อยออกก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมปูน ซีเมนต์จะลดลง ๑๘ เปอร์เซ็นต์ ศ. ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิต และ ศ. ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ภาคีสมาชิก บรรยาย เรื่อง “มหาวิทยาลัยวิจัยกับการประเมินคุณภาพวิจัย ระดับสาขาวิชา กรณีศึกษากลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์” ความโดยสรุปว่า การจัดอันดับคุณภาพสถาบันการศึกษาระดับโลก มีจุด ประสงค์ต่างกัน เช่น Academic Ranking of World Universities เน้น เฉพาะคุณภาพการวิจัย QS World University Ranking เน้นคุณภาพการ เรียนการสอนระดับนานาชาติ ผลการประเมินเป็นคุณภาพวิจัยที่ค่อนข้างผิว เผิน เนื่องจากทุกสถาบันมีทั้งสาขาวิชาที่มีคุณภาพการวิจัยสูงและต่ำ สกอ. ได้ประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัยในประเทศ และได้จัดให้ ๙ มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นมหาวิทยาลัย “วิจัย” ที่ สกอ. ให้เงินสนับสนุนการ วิจัยเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการประเมินคุณภาพการวิจัยของ สมศ. ปรากฏว่ามหาวิทยาลัยวิจัย ๖ แห่งได้รับคุณภาพวิจัยระดับดีมาก ซึ่งเป็น ระดับสูงสุดของ สมศ. และมีอยู่ ๙ สถาบันเช่นเดียวกัน ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ สกว. ได้ประสานงานการประเมินคุณภาพการวิจัย ระดับสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับหน่วยงานสนับสนุน การวิจัยอีกหลายแห่ง ผลการประเมินปรากฏว่า ประเทศไทยมีสาขาวิชาที่มี คุณภาพการวิจัยระดับนานาชาติ ระดับภูมิภาค และระดับชาติ ประมาณร้อย ละ ๑๐, ๑๘ และ ๒๘ ของจำนวนสาขาวิชาที่สมัครเข้ารับการประเมิน ซึ่งมี มากกว่า ๔๐๐ สาขาวิชา จาก ๓๖ สถาบันอุดมศึกษา การประเมินของ สกว. ยังได้แสดงว่า สาขาวิชาของสถาบันอุดมศึกษา หลายแห่งที่ สกอ. มิได้จัดให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ได้รับการประเมินคุณภาพ การวิจัยระดับชาติขึ้นไป ในกรณีของกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีและ วิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งแบ่งเป็น ๑๐ สาขาวิชาหลัก ปรากฏว่ามีสาขาวิชาที่มิได้อยู่ ในมหาวิทยาลัยวิจัยถึง ๖ หน่วย ได้รับคุณภาพการวิจัยสูงกว่าระดับชาติ และมี สาขาวิชาในมหาวิทยาลัยวิจัยหลายหน่วย ที่มีคุณภาพการวิจัยต่ำกว่าระดับชาติ การประเมินระดับสาขาวิชาแสดงให้เห็นคุณภาพการวิจัยที่ชัดเจน มากกว่าการประเมินระดับสถาบัน หน่วยงานสนับสนุนการวิจัยต่าง ๆ รวม ทั้ง สกอ. ควรนำคุณภาพการวิจัยระดับสาขาวิชามาพิจารณาจัดสรรทุนวิจัย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น วันพุธที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศ. ยงวิมล เลณบุรี ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “ผลงานของศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านคณิตศาสตร์” ความโดยสรุปว่า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ ให้ความสำคัญกับงานวิจัยขั้นสูงทางด้านคณิตศาสตร์และการประยุกต์ ซึ่งรวมถึงคณิตศาสตร์ศึกษา เพื่อสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ ในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งประเทศจะสามารถแข่งขันกับ นานาประเทศได้ ทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ศูนย์รับบทบาทในการพัฒนา และให้การศึกษาระดับสูง แต่บุคลากรสาขาวิชาคณิตศาสตร์ในมาตรฐาน นานาชาติ ก่อให้เกิดโอกาสในการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างรัฐและเอกชน รวมทั้งปลูกฝังความสามารถในกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในประชากรรุ่นเยาว์จากระดับรากหญ้า เพื่อสร้างเป็นรากฐานที่เข้มแข็ง ของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศในต่อเนื่อง ยุทธศาสตร์ของศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ คือ สร้างความร่วม มือระหว่าง ๑๙ สถาบันมหาวิทยาลัย ในด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องมือที่ มีอยู่ เพื่องานวิจัยอย่างจริงจังในระดับนานาชาติ รวมทั้งให้การฝึกอบรมแก่ บุคลากรด้านการศึกษาให้ได้รับความรู้ทางคณิตศาสตร์ในระดับสูง สร้างความร่วมมือในด้านการวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาระดับสูงของ ต่างประเทศ ตอบสนองความต้องการภาคเอกชน โดยก่อให้เกิดการติดต่อ สื่อสารและความร่วมมือกับหน่วยงานในภาคอุตสาหกรรม ผ่านคณะ กรรมการอำนวยการศูนย์ฯ ซึ่งจะมีกรรมการรับเชิญจากภาคอุตสาหกรรมที่ เป็นเป้าหมายของศูนย์ฯ ศ. ดร.สุทัศน์ ยกส้าน ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “หนึ่งศตวรรษแห่งการ พบปรากฏการณ์สภาพนำยวดยิ่ง” ความโดยสรุปว่า ในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๑๑ Heike Kammerlingh Onnes ได้พบว่าความต้านทานไฟฟ้า ของปรอทบริสุทธิ์ลดสู่ศูนย์อย่างฉับพลันที่อุณหภูมิ ๔.๒ องศาสัมบูรณ์ ปีนี้ จึงครบหนึ่งศตวรรษที่วิทยาการด้านสภาพนำยวดยิ่งได้ถือกำเนิด นักฟิสิกส์ต้องใช้เวลาอีกนานถึง ๔๖ ปี จึงสามารถอธิบายสาเหตุของปรากฏ การณ์นี้ได้ด้วยทฤษฎี BCS ว่าเกิดจากการจับคู่ของอิเล็กตรอนที่มีสปินและ โมเมนตัมตรงข้ามกัน แม้จะมีประจุลบเหมือนกันก็ตาม หลังจากนั้นก็มีการพบตัวนำยวดยิ่งชนิดใหม่อีกมากมาย เช่น ชนิด heavy fermion, cuprate, organic และ iron-based ซึ่งมีสมบัติที่แปลก และแตกต่างจากตัวนำยวดยิ่งปกติมาก จนยังไม่มีทฤษฎีใด ๆ ที่สามารถ อธิบายพฤติกรรมที่ประหลาดได้แม้กระทั่งทุกวันนี้ ถึงกระนั้น ในด้านการประยุกต์ เทคโนโลยีตัวนำยวดยิ่งก็กำลังปฏิรูป การขนส่ง การแพทย์ การทหาร การค้นคว้าวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ การ สื่อสาร คอมพิวเตอร์ พลังงาน ฯลฯ ศ.มณีวรรณ กมลพัฒนะ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “จากร่างกาย สู่ การจัดสมดุลจิต” ความโดยสรุปว่า สรุปบทความต่อเนื่อง ๓ ปี ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๔ คือ จาก ฟาร์ม สู่ โต๊ะอาหาร From Farm to Table, จาก โต๊ะอาหาร สู่ ร่างกาย From Table to Body และ จาก ร่างกาย สู่ การจัดสมดุลจิต From Body to Spiritual Development ห่วงโซ่ของบทความทั้ง ๓ ปี คือ ฟาร์ม สู่ อาหาร, อาหาร สู่ กาย และ กาย สู่ จิต สามารถอธิบายได้ดังนี้ อาหาร คือ เหตุ ปัจจัย แห่งการเสริมสร้าง และย่อยสลาย ในร่างกาย เพื่อการหล่อเลี้ยงชีวิต อันมีจิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว นี่คือ “ชีวิต” ที่ บทความรวม ๓ ปี จะเจาะจงให้ปรากฏสิ่งพึงรู้จริง รู้ประจักษ์ และ รู้แจ้ง ใน การดำรงชีวิตอยู่เพื่ออะไร เป็นคำถามที่ปัญญาชน จำเป็นต้องหาคำตอบ คำ ตอบหาได้จาก “ปฏิบัติบูชา” ภายในกาย โดยมีอาหารเป็นฐานสร้าง กาย ในการนำสู่จิตที่ปฏิบัติให้ รู้จริง รู้ประจักษ์ และ รู้แจ้งได้ ลำดับความสำคัญ ในบทความทั้ง ๓ ได้สรุปรวบยอด ดังต่อไปนี้ ๑. ฟาร์ม คือ สถานที่ที่มีระบบการผลิตโดยมนุษย์สร้างขึ้นจากฐาน ความรู้ เรื่อง ดิน น้ำ ลม แสงแดด และ อากาศ อันมีพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และ พันธุ์คน เป็นห่วงโซ่ อาหาร ก่อให้เกิดการผลิต ที่หมุนเวียนด้วยภูมิปัญญา ท้องถิ่นร่วมกับภูมิปัญญาสากล และส่งต่อวัตถุดิบ อาหารในรูป ซากพืชและ ซากสัตว์สู่ตลาดเพื่อการบริโภคของคน ผู้คนในสังคม ร่วมกันประกอบ กิจ ปรุงแต่งอาหาร สู่ โต๊ะอาหาร พร้อมกินเข้าสู่ ร่างกาย ผู้คนในสังคม นิยมบริโภคด้วยการ ปรุงแต่งอาหาร ตามวัฒนธรรมและประเพณีของสังคม เป็นส่วนใหญ่ อันมีวิสัยของปุถุชนอยู่ในการสร้างรสนิยมการบริโภค สัจจธัมม์ ของชีวิตจะปรากฏก็ต่อเมื่อร่างกาย แสดงอาการสะสมของอาหารที่ไม่เป็น คุณแต่เป็นโรค ผู้ป่วยเริ่มแสวงหาการเสริมสร้างสุขภาพ ส่งผลให้เกิดการ เรียนรู้ วิธีกินอาหารที่ถูกกับตนเอง ๒. โต๊ะอาหาร คือ สถานที่ตั้งรับ อาหารที่จัดปรุงแต่งจากวัตถุดิบที่ผลิต
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=