2703_8243
3 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๗ เดือนธันวาคม ๒๕๕๔ สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ รศ. ดร.ชาย โพธิสิตา ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ครัวเรือนไทย ในทศวรรษแห่งการพัฒนา ความโดยสรุปว่า ครัวเรือนเป็นหน่วยพื้นฐาน ทางสังคมที่ทำหน้าที่หลายอย่าง ทั้งด้านการผลิต การบริโภค การให้การ อบรมลี้ยงดูแก่อนุชนรุ่นต่อไป และการสืบทอดค่านิยมทางสังคมและ วัฒนธรรม นักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาได้สังเกตมานานแล้วว่า ใน การทำหน้าที่เหล่านี้ครัวเรือนมีการตอบสนองต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และสังคมในระดับมหภาค เสมือนว่าเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเหล่านั้น ดัง นั้นเมื่อสถานการณ์ในระดับมหภาคเปลี่ยนไป ครัวเรือนจึงมีการปรับตัว ทั้ง ในทางโครงสร้างและการทำหน้าที่ เพื่อการดำรงอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง จะมีผลต่อการอยู่รอดในระยะยาว ภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาจาก เกษตรกรรมไปสู่การเป็นอุตสาหกรรม ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการจ้างงานแบบ ใหม่นอกภาคเกษตรกรรมมากขึ้น สมาชิกของครัวเรือนจำนวนมากที่ต้องการ ได้รับประโยชน์จากโอกาสการจ้างงานแบบใหม่นี้ ต้องย้ายถิ่นเข้าสู่เมืองซึ่ง เป็นแหล่งที่มีการจ้างงาน การอยู่แยกกันของสมาชิกครัวเรือนจึงเป็นสิ่งที่ หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้โครงสร้างของครัวเรือนต้องเปลี่ยนไป ใน ชนบทมีครัวเรือนจำนวนมากต้องปล่อยให้เด็ก ๆ กับผู้สูงอายุอยู่กันตาม ลำพัง ส่วนสมาชิกวัยแรงงานย้ายถิ่นไปทำงานและอยู่ที่อื่น บ้างก็ไปไกลถึง ต่างประเทศ ทำให้ครัวเรือนมีโครงสร้าง เป็นแบบหัวกุด (มีแต่เด็ก) ปลายกุด (มีแต่ผู้สูงอายุ) หรือไม่ก็แหว่งกลาง (มีเด็กกับผู้สูงอายุ) ในหลายกรณีครัว เรือนเช่นนี้มีปัญหาการเลี้ยงดูเด็กและการดูแลผู้สูงอายุในชีวิตประจำวัน ใน อดีตการดูแลบ้านและการดูแลเด็กเป็นงานที่ผู้หญิงทำเป็นส่วนมาก เนื่องจาก ตามประเพณีผู้หญิงถูกคาดหมายว่าต้องรับหน้าที่นี้มากกว่าผู้ชาย แต่เมื่อ เศรษฐกิจเปลี่ยนไปเป็นแบบอุตสาหกรรม และผู้หญิงก็มีการศึกษามากขึ้น ทำให้การใช้เวลาของผู้หญิงในการทำงานบ้านและเลี้ยงลูกมีมูลค่าทางกิจต่ำ กว่ามูลค่าเวลาที่ใช้ไปในการทำงานที่ได้ค่าจ้าง ผู้หญิงจึงเลือกที่จะทำงาน นอกบ้านมากขึ้น เวลาที่จะให้แก่การมีลูกและเลี้ยงลูกจึงน้อยลง นำไปสู่ความ จำเป็นที่ต้องจำกัดจำนวนบุตร ทำให้ครัวเรือนมีขนาดเล็กลง และในกรณีการ พัฒนาด้านการศึกษา ซึ่งมักจะมาพร้อมกับการขยายโอกาสเพื่อให้ประชาชน ได้รับการศึกษาสูงขึ้น ครัวเรือนส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากโอกาสเช่นนี้ด้วย การส่งให้บุตรหลานของตนได้รับการศึกษาสูงขึ้น เพื่อจะได้มีโอกาสที่ดีในการ ทำงานและการมีชีวิตที่มั่นคงในอนาคต แต่การให้บุตรหลานได้รับการศึกษา สูงขึ้นนั้นเป็นการลงทุนที่มีราคาแพงสำหรับครัวเรือนส่วนใหญ่ คือแพงทั้งใน ด้านเงินทุนและเวลา เนื่องจากครัวเรือนต้องชะลอเวลาที่จะได้ใช้แรงงาน จากลูกไว้จนกว่าลูกจะเรียนจบ สภาวะเช่นนี้ทำให้มีความจำเป็นที่สามีภรรยา จำนวนมากต้องการมีลูกจำนวนน้อย ความต้องการนี้ถ้าบังเอิญสอดคล้องกับ การที่รัฐจัดให้มีบริการวางแผนครอบครัว คนก็จะพยายามมีลูกจำนวนน้อย เพื่อหวังจะให้ลูกที่เกิดมามีคุณภาพที่ดี ผลที่ตามมาในระดับครัวเรือนก็คือ ทำให้ครัวเรือนมีขนาดเล็กลง ดังเช่นที่เกิดขึ้นมาแล้วในสังคมไทยปัจจุบัน ดัง ที่กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นความจริงอย่างหนึ่งว่า ครัวเรือนมีการตอบสนองต่อ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในระดับมหภาค และในการทำเช่นนั้น ครัวเรือนมีการปรับตัว ทั้งในทางโครงสร้าง (structure) และการทำหน้าที่ (function) จึงอาจกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำหน้าที่ ของครัวเรือนนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากปัจจัยทางประชากรภายในครัวเรือนเอง (เช่น การเกิด และการตาย) เพียงอย่างเดียว แต่เกิดมาจากการที่ครัวเรือน เข้าไปมีส่วนในกระบวนการในระดับมหภาคด้วย ในมุมมองเช่นนี้ ครัวเรือน ไม่ใช่หน่วยพื้นฐานที่ดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระจากกระบวนการทางเศรษฐกิจ และสังคม แต่ครัวเรือนมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในกระบวนการเหล่านั้น และ ขณะเดียวกันก็ได้รับผลกระทบจากกระบวนการเหล่านั้นด้วย โดยภาพรวมของครัวเรือนไทยในช่วง ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งมีการ พัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ก้าวหน้าไปมาก ทั้งนี้โดยอาศัยแนวคิดทาง สังคมศาสตร์ที่ว่า ครัวเรือนเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจและสังคมใน ระดับมหภาค ภายในระบบนี้ ครัวเรือนตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิด ขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมีผลทำให้ครัวเรือนได้รับทั้งผลประโยชน์ (ทางบวก) และผลกระทบ (ทางลบ) ทั้งหมดนี้ทำให้ครัวเรือนต้องปรับตัว เพื่อการดำรง อยู่อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงนั้น การปรับตัวใน ระยะยาวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในครัวเรือน และการเปลี่ยนแปลงที่ สำคัญอย่างหนึ่งคือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโครงสร้างของครัวเรือน ซึ่ง จะกำหนดได้จากการอยู่อาศัยรูปแบบต่างๆ สิ่งสำคัญที่พบในการศึกษานี้ คือ ในช่วงเวลา ๒ ทศวรรษมานี้ โครงสร้างครัวเรือนไทยเปลี่ยนไปมาก อย่าง หนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ สัดส่วนครัวเรือน ๒ รุ่นอายุ ซึ่งประกอบด้วยพ่อแม่-ลูก และ/หรือญาติ หรือคนอื่นที่ไม่ใช่ญาติมีแนวโน้มลดลง ขณะที่สัดส่วนครัว เรือนแบบอื่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาพความเปลี่ยนแปลงนี้สะท้อนให้เห็นทั้งใน เขตเมืองและในเขตชนบท และในระดับภาค ตลอดเวลานี้ครัวเรือนไทยมี ขนาดเล็กลงอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกเฉลี่ยครัวเรือนละ ๓ คนเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือครัวเรือนที่มีหัวหน้า เป็นหญิงมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น หญิงที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนนั้น ถ้าเป็นกรณี ครัวเรือน ๒ รุ่นอายุ และครัวเรือน ๓ รุ่นอายุ ส่วนใหญ่มักจะมีสถานภาพ สมรสเป็นหม้าย หย่า หรือแยก จากคู่สมรส แต่สำหรับครัวเรือนคนเดียว และครัวเรือน ๑ รุ่นอายุ หัวหน้าที่เป็นหญิงมักจะเป็นคนโสด ทั้งนี้อาจเป็นสิ่ง สะท้อนพฤติกรรมการดำรงชีวิตของคนจำนวนหนึ่งในสังคมก็ได้ ประเทศไทย ในปัจจุบันมีผู้สูงอายุมากขึ้น แต่ก็น่าสังเกตว่า สัดส่วนครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุ สำหรับครัวเรือน ๓ รุ่นอายุ และครัวเรือน ๓ รุ่นอายุ ไม่ได้เพิ่มขึ้น กลับมี แนวโน้มลดลงเล็กน้อยด้วยซ้ำขณะที่สำหรับครัวเรือนแบบอื่นสัดส่วนในเรื่อง นี้เพิ่มขึ้น นี่อาจจะเป็นหลักฐานอันหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงรูป แบบการอยู่อาศัย ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลของปัจจัยภายนอกหลายประการ สุดท้ายคือเรื่องความยากจน ซึ่งการศึกษานี้พบว่าส่วนใหญ่แล้วกระจุกอยู่ที่ ครัวเรือน ๓ รุ่นอายุ และครัวเรือนข้ามรุ่นมากที่สุด เรื่องการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการอยู่อาศัยดังที่นำเสนอมาในที่นี้ เป็นประเด็นที่มีนัยยะด้านนโยบาย ทางสังคมหลายประการ ซึ่งควรจะได้ทำการศึกษาลงลึกต่อไป. สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ศ. ดร.ศิริจันทร์ ทองประเสริฐ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “แผนที่ทางสัญจรเทคโนโลยีปูนซีเมนต์ ” ความโดยสรุปว่า การจัดทำแผนที่ ทางสัญจรเทคโนโลยีเป็นวิธีการหนึ่งในการวางแผนเทคโนโลยีช่วยสร้าง เส้นทางและวิธีการที่ชัดเจนในการวิจัยและพัฒนา สามารถกำหนดแผนงาน งบประมาณ และระยะเวลาสำหรับการดำเนินการให้บรรลุเป้าประสงค์โดย ไม่เกิดความสับสน ง่ายต่อการติดตามความก้าวหน้าของการพัฒนา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=