2702_4043

8 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน ใบอนุญาตที่ ๑๘๖/๒๕๕๐ ไปรษณีย์ดุสิต ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เพื่อเผยแพร่งานวิชาการ ข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสถาน จัดทำโดย บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริการวิชาการ ราชบัณฑิตยสถาน นางสาวบุญธรรม กรานทอง พิมพ์ที่ : บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด ๓๐๗ ซอยลาดพร้าว ๘๗ วังทองหลาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ โทรสาร ๐ ๒๕๓๙ ๒๕๑๒, ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๙ นางทิพาภรณ์ ธารีเกษ นางสาวพัชนะ บุญประดิษฐ์ นางสาวอารี พลดี นางสาวปิยรัตน์ อินทร์อ่อน นางสาวกระลำภักษ์ แพรกทอง ‰ ¢ ª— ≠ À “ ¿ “ … “ ‰ ∑ ¬ นางกนกวรรณ ทองตะโก นางสาวกุลศิรินทร์ นาคไพจิตร นางพรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ นายอาคม คงทน นายอภิเดช บุญสงค์ ถาม การท่องเที่ยวเชิงเกษตร และ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีความหมายอย่างไร ตอบ พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า การท่องเที่ยว เชิงเกษตร หรือภาษาอังกฤษใช้ว่า agrotourism มีความหมายว่า การจัดการท่องเที่ยวโดยเน้นสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อให้นัก ท่องเที่ยวได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพที่น่าสนใจของ เกษตรกร รวมทั้งมีโอกาสได้รับประทานหรือซื้อหาผลผลิตทางการเกษตรใน แหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ ส่วน การเที่ยวเที่ยวเชิงนิเวศ หรือที่ภาษาอังกฤษใช้ ว่า eco-tourism มีความหมายว่า การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม และธรรมชาติ คือ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม นักท่องเที่ยวรู้คุณค่าของ ทรัพยากรมีการท่องเที่ยว และความรู้ด้านการอนุรักษ์ ซึ่งอาจได้รับจากนัก วิชาการ คนท้องถิ่น หรือมัคคุเทศก์ ทั้งนี้ รัฐบาลอาจมีบทบาทเป็นผู้กำหนด จำนวนนักท่องเที่ยวมิให้มีจำนวนมากจนทำลายสภาพแวดล้อมของแหล่ง ท่องเที่ยวนั้น ๆ ถาม คำว่า เกษตรกรรมแบบยังชีพ เกษตรกรรมแบบการค้า และ เกษตรทัศน์ มีความหมายอย่างไร ตอบ คำว่า เกษตรกรรมแบบยังชีพ ในพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า subsistence agriculture และ คำว่า subsistence farming ซึ่งหมายถึง การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้ บริโภคภายในครอบครัว ซึ่งไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า คำว่า เกษตรกรรมแบบการค้า ภาษาอังกฤษใช้ว่า commercial agriculture หมายถึง วิธีการเกษตร ซึ่งให้ผลผลิตเพื่อจำหน่ายเอากำไร ซึ่งที่ สำคัญ ได้แก่ การทำฟาร์มโคนม การปลูกธัญพืช การปลูกพืชสวน การเลี้ยง ปศุสัตว์ และการปลูกพืชในไร่ขนาดใหญ่ ส่วนคำว่า เกษตรทัศน์ ภาษาอังกฤษใช้ว่า farmscape มีความหมายว่า พื้นที่ดินซึ่งใช้ประโยชน์ในการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ และรวมถึงบ้านเรือนที่อยู่ อาศัยที่ตั้งอยู่ในบริเวณนั้น ถาม อยากทราบความแตกต่างระหว่าง เขื่อน เขื่อนกันคลื่น เขื่อนทดน้ำ ตอบ ความหมายทั่วไปของคำว่า เขื่อน ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ หมายถึง เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมน้ำพัง หรือ สิ่งที่สร้างขึ้น ขวางกั้นลำน้ำ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดินหรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพธิ์ รั้วกำแพง คันดินกันตลิ่งพัง ส่วนใน ทางภูมิศาสตร์ คำว่า เขื่อน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทำนบ ตรงกับ ภาษาอังกฤษว่า dam มีความหมายคือ สิ่งกีดขวางกั้นแม่น้ำลำธารต่าง ๆ ที่เกิดตามธรรมชาติ เช่น ที่เกิดจากธารหิมะ ธารน้ำแข็ง และที่เกิดจาก มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการชลประทาน หรือป้องกันอุทกภัย หรือเพื่อใช้พลังน้ำผลิตกระแสไฟฟ้า คำว่า เขื่อนกันคลื่น ภาษาอังกฤษใช้ว่า mole หมายถึง เขื่อนที่สร้างขึ้น ตามริมชายฝั่งทะเลโดยใช้ก้อนหินหรือวัตถุอื่น ๆ ถมเป็นแนวยื่นออกไปจาก ชายฝั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้คลื่นซัดเซาะหาดหรือท่าจอดเรือ ส่วน เขื่อนทดน้ำ คำนี้ภาษาอังกฤษใช้ว่า barrage หมายถึง สิ่งที่ก่อสร้าง ขวางทางน้ำซึ่งมีต้นน้ำของตัวเองไม่ใช่แยกมาจากทางน้ำสายอื่นเพื่อทดน้ำ ส่งเข้าสู่เขตชลประทานแบบทดและส่งน้ำ เขื่อนทดน้ำนี้จะต้องมีช่องปิด เปิดให้น้ำไหลผ่านไปได้ ถ้าไม่มีช่องปิดเปิด แต่ให้น้ำที่มีมาเกินต้องการท้น ขึ้นแล้วไหล ข้ามไปว่าเรียกว่าฝายทดน้ำ หรือเรียกย่อ ฝาย .

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=