2702_4043

7 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๖ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ น่าจะเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สามารถเข้าถึงคนรุ่นใหม่ที่ห่างเหิน พระพุทธศาสนาได้ดีกว่าสื่อรูปแบบเก่า ๆ จึงมีการแสดงแบบใหม่ ทำนองสวดใหม่ เครื่องแต่งกายหรือจีวรแบบใหม่ เทคนิคใหม่ใน การนำเสนอพุทธธรรมให้สัมฤทธิ์ผล สังคีตกรรมในพระพุทธศาสนาที่ พัฒนามาหลายศตวรรษนั้นเป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการด้านสังคีต ศิลป์ของโลกในปัจจุบันและเชื่อได้ว่าจะคงความสำคัญนี้ต่อไปใน อนาคตอีกด้วย รศ. ดร.จินตนา ดำรงค์เลิศ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง เอร็อสทรัต ( Érostrate ) : กรณีศึกษาตัวเอกปฏิลักษณ์ ความโดยสรุป ว่า Érostrate เป็นชื่อเรื่องสั้นซึ่ง ฌ็อง-ปอล ซาทร์ ( Jean-Paul Sartre ) เขียนขึ้นและพิมพ์เผยแพร่ใน ค.ศ. ๑๙๓๙ พจนานุกรมศัพท์ วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๔๕:๒๗) ให้ คำอธิบาย “ตัวเอกปฏิลักษณ์ ( anti-hero )” ไว้ดังนี้ ตัวเอกที่มิได้แสดงให้เห็นประจักษ์ว่ามีความยิ่งใหญ่ มีศักดิ์ศรี มีอำนาจ และมีความกล้าหาญเมื่อเผชิญกับชะตากรรมดังเช่นตัวเอกใน โศกนาฏกรรมสมัยก่อน แต่เป็นผู้ที่ไม่มีความสำคัญ ไร้เกียรติยศ ไร้อำนาจ หรือไม่ยอมต่อสู้ดิ้นรน ตัวเอกเช่นนี้มีอยู่เสมอในบทละคร และบันเทิงคดีประเภทร้อยแก้วในปัจจุบัน ตัวเอกปฏิลักษณ์ในวงวรรณคดีฝรั่งเศสปรากฏในผลงาน วรรณกรรมจำนวนมากตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ การที่มนุษย์ขัด แย้งกันจนถึงกับฆ่ากันตายจำนวนนับล้านคนในสงครามทำให้นักคิดนัก เขียนฝรั่งเศสหลายคนเกิดวิกฤตจิตสำนึก ซึ่งแสดงออกมาในงานเขียน ของพวกเขา เช่น ความสูญสิ้นศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า การต่อต้าน ความคิดแบบเก่า ตัวเอกปฏิลักษณ์ก็เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่สะท้อน วิกฤตจิตสำนึกดังกล่าว ในเรื่อง Érostrate ฌ็อง-ปอล ซาทร์ใช้คำว่า “ตัวเอกสีดำ ( héros noir )” ที่มีลักษณะเหมือน “มนต์ดำ ( Magie noire )” ซึ่งตรงข้ามกับ “ตัวเอกสีขาว ( héros blanc )” เอร็อสทรัตเป็นชายหนุ่มสามัญชนผู้ไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด วันหนึ่งเขาปรารถนาจะให้โลกจดจำ การกระทำของเขา จึงได้เผา วิหารของเทพีอาร์เทอมิสลงเสียในวันเดียวกับวันเกิดของพระเจ้าอเล็ก- ซานเดอร์มหาราช ในเรื่อง Érostrate ของฌ็อง-ปอล ซาทร์ เพื่อน ของตัวเอกของเรื่องคือ ปอล อีลแบร์ (Paul Hilbert) กล่าวว่าผู้คนจำ ชื่อสถาปนิกผู้สร้างวิหารอันงดงามที่ถูกเผาไปไม่ได้ แต่กลับจำชื่อเอ ร็อสทรัตผู้เผาวิหารได้ อีลแบร์จึงประสงค์จะเดินรอยตามเอร็อสทรัต อีลแบร์สรุปความรู้สึกที่เขามีต่อมนุษย์ว่าคือความเกลียดชัง เย็น วันหนึ่ง เขาเกิดความคิดที่จะเอาปืนไปยิงคน การที่อีลแบร์ตั้งเป้า หมายในชีวิตไว้แค่การฆ่าคนโดยไร้เหตุผล แสดงให้เห็นว่าอีลแบร์เป็น ตัวเอกปฏิลักษณ์ เป็นผู้ขาดเกียรติยศ ขาดศักดิ์ศรี มีเป้าหมายชีวิตที่ ต่ำต้อยและเป็นไปในทางทำลาย ซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับตัวเอกที่รู้จักกัน ดีเช่น อินทรีย์แดง ซูเปอร์แมน หรือไอ้แมงมุม ตัวละครเอกที่ยก ตัวอย่างมาข้างต้นเป็นผู้ที่รักเพื่อนมนุษย์ กล้าหาญและเสียสละช่วย เหลือผู้อื่นอยู่เสมอ ตัวละครแบบปอล อีลแบร์ปรากฏในวรรณกรรม สมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ หลายเรื่อง สะท้อนภาพสังคมฝรั่งเศสในยุค ที่มีความเจริญทางวัตถุมาก เป็นสังคมที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของ เศรษฐกิจแบบทุนนิยมและเสรีนิยมที่บดขยี้มนุษย์จนโดดเดี่ยว อ้างว้าง เหงา เบื่อ ฌ็อง-ปอล ซาทร์เสนอภาพตัวละครเหล่านี้ โดยเฉพาะผู้ที่ อยู่ในกรุงปารีสว่ามีชีวิตที่จำเจดังคำว่า “ Métro - Boulot - Dodo ” กล่าวคือ ตื่นเช้ามานั่งรถไฟใต้ดิน ( métro ) เพื่อไปทำงาน ( boulot ) เย็นก็กลับบ้านนอน ( dodo ) ทำให้ไม่มีเวลาคิดสร้างสรรค์หรือสันทนา การกับผู้อื่น อีลแบร์ ก็เป็นตัวละครหนึ่งที่สะท้อนภาพนี้ เขาเบื่อหน่าย กับสภาพชีวิตที่ต่ำต้อย ไร้ความสำคัญ จึงปรารถนาที่จะกระทำการ บางสิ่งบางอย่างเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้คนในสังคมด้วยการฆ่า เมื่อวันล่าสังหารมาถึงในวันที่ ๒๗ ตุลาคม เวลา ๖ โมงเย็น อีล- แบร์หยิบปืนพกติดตัวออกจากบ้าน มีผู้คนเดินขวักไขว่ เขาต้องสัมผัส กับผู้คนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เขาจึงตัดสินใจเลื่อนวันฆ่าคนไปวันรุ่งขึ้น เมื่อถึงวันที่เขาวางแผนไว้ เขาจึงออกจากห้อง เขาเล่าว่า ทำไมต้อง ฆ่าผู้คนเหล่านี้ซึ่ง ตาย แล้ว อีลแบร์เปรียบผู้คนที่เดินขวักไขว่อยู่บนถนนว่า “ตายแล้ว” เพราะเขามองว่า ชีวิตมนุษย์เหล่านี้ไร้สาระ ว่างเปล่าราวกับคนที่ตาย ไปแล้ว คำพูดของอีลแบร์ประโยคนี้สะท้อนความคิดของฌ็อง-ปอล ซาทร์ที่ว่า การใช้ชีวิตเพียงแค่ผ่านไปวัน ๆ อย่างไร้จุดหมายนั้นไม่พอ เพียง คนเราน่าจะใช้ชีวิตให้มีสาระได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ชีวิตของอีล- แบร์ในเรื่อง Érostrate ก็เช่นเดียวกัน ในเวลาต่อมา อีลแบร์ลั่นไกปืนใส่พุงของชายอ้วนผู้หนึ่ง ๓ นัด แล้ววิ่งหนีไป ผู้คนวิ่งไล่ตามจับอีลแบร์พร้อมกับร้องว่าเขาเป็นฆาตกร อีลแบร์ลั่นกระสุนไปอีก ๒ นัด แล้ววิ่งเข้าไปในร้านกาแฟ เขาขังตัว เองอยู่ในห้องน้ำ คงเหลือกระสุนอีก ๑ นัด พยายามจะฆ่าตัวตาย แต่ แล้วเขาก็โยนปืนลงและเปิดประตูให้ผู้อื่นเข้ามาควบคุมตัว วรรณกรรมเรื่อง Érostrate แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของฌ็อง- ปอล ซาทร์ ที่ใช้วรรณคดีทำหน้าที่สะท้อนภาพสังคม ดังที่เขาเคยให้ สัมภาษณ์กับกาบรีแยล โดบาแรด ( Gabriel d’Aubarède ) ในวารสาร Les Nouvelles Littéraires ฉบับวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๕๑ ตอนหนึ่งว่า ..ผมพยายามที่จะไม่ทำให้วรรณคดีสูญค่าหรือด้อยค่าลง ในแง่พันธกิจ ที่มีต่อสังคม ในทางตรงกันข้าม ผมตั้งใจจะทำให้วรรณคดีมีความ สำคัญยิ่งขึ้น มีความยิ่งใหญ่กว่าช่วงเวลาที่ผ่านมา ถ้าวรรณคดีเป็น เพียงสิ่งบันเทิงก็จะมีคุณค่าไม่ถึง ๑ ชั่วโมงด้วยซ้ำ เมื่อเราพิจารณา วรรณคดีในฐานะเป็นบ่อเกิดของมนุษย์ จะพบว่าวรรณคดีแสดงถึง ความหวังและความเย้ยหยันทุกด้านของสังคม เป็นเสมือนภาพสะท้อน สังคม…

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=