2702_4043

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน พระยาจีนจันตุพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๔. โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ภาพที่ ๕๖ แผ่นดินพระเจ้าเสือ ภาพพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต พระนิพนธ์พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์ เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ศ. ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง จิตรกรรม สีน้ำและนามธรรม ความโดยสรุปว่า ความประทับใจที่ได้เห็นพ่อ เขียนภาพด้วยสีน้ำและประสบการณ์ที่ได้จากอาจารย์ในสถานศึกษา เช่น อาจารย์เฉลิม นาคีรัตน์ อาจารย์ชมพูนุท นาคีรัตน์ ศ. พิเศษ อารี สุทธิพันธุ์ ทำให้เห็นว่า ทัศนศิลป์หรือ visual art แสดงตัวตน แสดงภาษาภาพที่ไม่ใช่การบรรยายความ จิตรกรต้องสร้างประสบการณ์ สื่อสารภาพ เรียนรู้ภาษาภาพด้วยตนเอง ภาพสีน้ำทั้งหมด แสดงความโปร่งใสของสีน้ำ แสดงสภาพโปร่งใสผสานกับพื้นกระดาษ สีขาว แสดงออกด้วยกลวิธีหลากหลาย การแสดงออกแต่ละพื้น ภาพปรับเปลี่ยนไปตามกาลเทศะและเงื่อนไขที่ต่างกัน เนื้อหาสาระของจิตรกรรมสีน้ำ มีทั้งภาพทิวทัศน์ ภาพวัด ภาพ คน ภาพดอกไม้ ภาพนามธรรม คำว่า “ภาพ” ไม่ได้แปลว่า “เหมือน” แต่หมายถึงจิตรกรรมภาพเขียน หรือ painting ที่แสดงปรากฏการณ์ เฉพาะตัว เฉพาะผลงานแต่ละชิ้น การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมของผู้ บรรยายเองไม่ได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอด้วยบางช่วงมีภารกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ประสบการณ์จากการไปศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะในสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ทำให้พบว่าจิตรกรรมสีน้ำทั้งหมดได้ผสานกระบวนการคิดและการ สร้างสรรค์ที่หลากหลาย สะท้อนสภาวธรรมที่อาจมาจากความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ภาพจิตรกรรมสีน้ำทั้งหมดจึงท้าทายความคิด จินตนาการ และประสบการณ์ทางศิลปะของผู้ชมไปพร้อมกัน ความ เป็นนามธรรมอาจเป็นประโยคคำถามมากกว่าบอกเล่า ผลงาน จิตรกรรมสีน้ำของผู้บรรยายตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ เริ่มด้วยการเขียนจาก สถานที่จริง ต่อมามีการปรับเปลี่ยนเทคนิคในการสร้างสรรค์งานมาจน กระทั่งปี ๒๕๔๐ จึงเป็นการสร้างสรรค์ภาพนามธรรม การสร้างสรรค์จิตรกรรมเป็นอีกกระบวนหนึ่งที่ท้าทายการ สร้างสรรค์งานศิลปะ การระบายสีน้ำมีมาแต่ยุคหินเช่นภาพเขียนบน ผนังถ้ำ ปัจจุบันสีน้ำก็ยังคงมีเสน่ห์ท้าทายทั้งการสร้างสรรค์และการ ชื่นชม การระบายสีน้ำมีเสรีภาพ แต่ก็ต้องให้สีน้ำ น้ำ และคุณสมบัติ ของกระดาษแต่ละชนิดควบคุมด้วย การระบายสีน้ำต้องอาศัยการ ตัดสินใจบนความเปียก ความแห้ง บนกระดาษที่ผิวหยาบ ผิวละเอียด ดูดซึมน้ำ ไม่ดูดซึมน้ำ ต้องอดทนรอคอยตามกาลเทศะที่เหมาะสม งดงามในการระบายสีน้ำแต่ละช่วงเวลา • วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศ. ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง สังคีตกรรม ในพระพุทธศาสนา ความโดยสรุปว่า สังคีตกรรมในพระพุทธศาสนา หมายถึง การดนตรี การฟ้อนรำ และการละคร ที่มีส่วนสำคัญใน พิธีกรรมและพิธีการของพระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายหินยาน มหายาน และวัชรยาน การดนตรี ได้แก่การสวดคาถาและมนตราเป็นทำนอง ต่าง ๆ ตามศิลปวัฒนธรรมและธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละท้องถิ่น ใน การสวดของภิกษุและภิกษุณีในฝ่ายหินยานไม่ใช้เครื่องดนตรี ส่วน มหายานและวัชรยานนั้นภิกษุใช้เครื่องประกอบจังหวะ อาจแบ่งได้เป็น ๔ ประเภทคือ ล่อโก๊ะไม้ ระฆังโลหะ ขันโลหะ และกลอง ส่วนเครื่อง เป่าเพื่อประโคมในพิธีกรรมและการแสดงอาจแบ่งได้เป็น ๔ ประเภท คือ ขลุ่ย แตร สังข์ เขาหรือกระดูก ไม่นิยมใช้เครื่องสาย การฟ้อนรำ ในพุทธพิธีและพุทธประเพณีของฝ่ายหินยานมีเฉพาะฆราวาส แต่ฝ่าย มหายานกับวัชรยานมีปฏิบัติทั้งภิกษุ ภิกษุณี และฆราวาส สำหรับ ภิกษุในการฟ้อนรำมักแต่งกายอย่างวิจิตรต่างไปจากเครื่องแบบปรกติ เพื่อให้ความตระการตา การแสดงละคร หมายรวมถึงการแสดงระบำเรื่องนั้น ในฝ่าย หินยานมีปฏิบัติเฉพาะในหมู่ฆราวาส ส่วนฝ่ายมหายานกับวัชรยานมี ปฏิบัติทั้งภิกษุ ภิกษุณี และฆราวาส การละครในพระพุทธศาสนาก็นำ เนื้อเรื่องมาจากพุทธประวัติ พระพุทธชาดก ตำนาน หรือบทประพันธ์ ที่มีพุทธธรรมเป็นแก่นของเรื่อง ส่วนรูปแบบการแสดงนั้นมีความ หลากหลาย ทั้งละครพูด ละครร้อง ละครรำ ระบำเรื่อง ทั้งแบบ ประเพณีและแบบร่วมสมัย นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ทั้งในสื่อดั้งเดิม คือการเล่า การแหล่ การแสดงสดบนเวที และสื่อสมัยใหม่คือ ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ การ์ตูน แอนิเมชัน เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรม การเสพสื่อของคนปัจจุบันได้มากขึ้น นอกจากนี้สังคีตกรรมใน พระพุทธศาสนายังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เสมอไม่ใช่ของเก่าที่กำลังจะ สูญไป เพราะมีการสร้างสรรค์รูปแบบและเนื้อหาใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ ในการเผยแพร่พุทธธรรมอยู่ตลอดเวลา ตราบใดที่พระพุทธศาสนายัง เป็นทางให้มนุษย์พ้นทุกข์ได้อย่างดียิ่ง สังคีตกรรมก็ยังคงเป็นเครื่อง มือในการเผยแพร่พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณอยู่ตราบ นั้น สังคีตกรรมในพระพุทธศาสนา จึงเป็นการนำดนตรีและการละคร ฟ้อนรำมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และ เป็นการแสดงบุญกริยาของพุทธศาสนิกชนที่อิ่มเอิบใจ และเบิกบานใจ ที่ตนได้ทำบุญกุศลให้บังเกิดแก่ศาสนาอันจะส่งผลบุญให้มาถึงตนได้ใน อนาคต สังคีตกรรมพุทธศาสนามีปฏิบัติกันทั้งภิกษุ ภิกษุณี และ ฆราวาส พระพุทธศาสนาฝ่ายหินยานมีการใช้สังคีตกรรมค่อนข้างน้อย ในด้านภิกษุ พิธีกรรมของภิกษุส่วนใหญ่ใช้ที่เห็นได้ชัดคือการสวด ทำนองต่าง ๆ อันนับเป็นการดนตรีแบบหนึ่ง นอกนั้นอาจเห็นภิกษุ ออกแสดงเป็นแนวทางโลกบ้างในการเทศน์มหาชาติ ๒-๓ ธรรมาสน์ โดยการแสดงออกเป็นตัวละครในท้องเรื่องอย่างการแสดงละครวิทยุ ส่วนฆราวาสในฝ่ายหินยานมีการใช้สังคีตกรรมกันมากทั้งการบรรเลง ดนตรีในงานบุญ ทั้งการขับร้องเรื่องราวที่เนื่องในพระพุทธศาสนาทั้ง การฟ้อนรำนำขบวนแห่และฟ้อนบูชา และที่เป็นกิจกรรมที่ทำกันอย่าง ต่อเนื่องมายาวนานคือการแสดงละครโดยอาศัยเนื้อเรื่องจากพระไตร- ปิฎก ตำนาน และเรื่องที่แต่งตามนัยแห่งพุทธปรัชญา รูปแบบการ แสดงละครก็มีหลากหลายที่ศิลปินของแต่ละชาติคิดประดิษฐ์ขึ้น และ พัฒนาต่อมาจนเป็นแบบแผนหรือประเพณีที่นิยมปฏิบัติกันในปัจจุบัน ส่วนสังคีตกรรมของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานก็มีพัฒนาการที่มี ความหลากหลายเช่นเดียวกับฝ่ายหินยาน จะมีข้อแตกต่างอย่าง สำคัญที่ภิกษุและภิกษุณีฝ่ายมหายาน และวัชรยานมีบทบาทสำคัญใน การบรรเลงดนตรี ฟ้อนรำ และแสดงละคร เพื่อเผยแผ่พระพุทธ ศาสนา นอกจากนี้สังคีตกรรมในพระพุทธศาสนาก็ มิใช่ของดั้งเดิม เท่านั้น พุทธบริษัทต่างพากันแสวงหามิติใหม่ในสังคีตกรรมที่ตนคิดว่า

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=