2702_4043

5 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๖ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔ รัฐจึงควรส่งเสริมให้มีการผลิตรถยนต์ดีเซลในประเทศมากขึ้น และ ควรสนับสนุนการเพิ่มผลผลิตของพืชน้ำมันเพื่อทำไบโอดีเซล เช่น สบู่ ดำ ด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่ทันสมัย เช่น จีเอมโอ พื้นฐานของการเก็บภาษีรถยนต์ในปัจจุบันที่ใช้ความจุของกระบอก สูบของเครื่องยนต์เป็นหลัก ควรแทนด้วยการใช้น้ำมันและการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ที่เครื่องยนต์ดีเซลทำได้ดีกว่าเครื่องยนต์เบนซิน เพื่อให้ประเทศได้ประโยชน์มากขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีที่ดีกว่า นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ ผู้บรรยายรับเชิญ บรรยายเรื่อง ยุทธศาสตร์ดับไฟใต้ ตอนที่ ๒ ท้องถิ่นกับการดับไฟใต้ ความโดยสรุป ว่า นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นใน ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ได้ก่อความสูญเสียที่มิอาจประเมินค่า ได้ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้เสียชีวิต ผู้ที่บาดเจ็บ ทรัพย์สินที่เสียหาย และ ความรู้สึกของผู้ที่อาศัยในพื้นที่ ไม่ว่าต่อรัฐ หรือระหว่างประชาชน ด้วยกันเอง ผู้บรรยายในฐานะคนที่เกิดและใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในพื้นที่ ชายแดนภาคใต้ และปัจจุบันเป็นผู้บริหารท้องถิ่นในพื้นที่ มี ประสบการณ์เรื่องปัญหาที่เกิดในพื้นที่ และมุมมองยุทธศาสตร์ในการ แก้ไข ดังนี้ ปัญหาของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดจากหลายสาเหตุซึ่งมี ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน สาเหตุใหญ่มี ๓ สาเหตุ ได้แก่ ๑. ความไม่เป็นธรรม ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ความไม่เป็นธรรมเชิง ความรู้สึก และความไม่เป็นธรรมเชิงประจักษ์ ความไม่เป็นธรรมเชิง ความรู้สึก เป็นความรู้สึกที่ลงรากฝังลึกมานาน อาทิ ความรู้สึกว่ารัฐ ให้โอกาสทางการศึกษาแก่คนไทยพุทธมากกว่าคนมลายู ความไม่เป็น ธรรมเชิงประจักษ์ อาทิ เจ้าหน้าที่รัฐรังแก ข่มเหง ประชาชน ๒. คุณภาพชีวิต ซึ่งครอบคลุมคุณภาพชีวิตพื้นฐาน เช่น ปัจจัยสี่ คุณภาพทางการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ ๓. กลุ่มผลประโยชน์ ได้แก่กลุ่มที่ทำธุรกิจผิดกฎหมาย เช่น ค้า ยาเสพติด ค้าน้ำมันเถื่อน ค้าของหนีภาษี รวมถึงกลุ่มผลประโยชน์ที่ อิงระบบราชการ เช่น สวัสดิการพิเศษ การค้าขายกับภาคราชการ หากจะแก้ปัญหาให้บรรลุผลจะต้องวางแผนปฏิบัติ ดังนี้ ๑. มีผู้ปกครองท้องถิ่นที่ดี ยึดหลักธรรมาภิบาล ๒. ส่งเสริมการกระจายอำนาจ ๓. เสริมสร้างสังคมสมานฉันท์ สำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ร้อย กรอง มรดกศิลปะล้ำค่าของชาติ : โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ความโดยสรุปว่า อักษรหรือลายสือไทย ได้วิวัฒนาการมาตามลำดับ จนกระทั่งเป็นอักษรภาษาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ในสมัยสุโขทัยมีศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ซึ่งเขียนด้วยภาษา ร้อยแก้ว แต่ก็มีคุณลักษณะของ ร้อยกรอง ปรากฏ เนื่องจากจารึก สุโขทัยมีลักษณะกำหนดคำ มีช่วงจังหวะของเสียง มีคำสัมผัสอักษร และสัมผัสสระ แม้ว่าจะไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์บังคับของฉันทลักษณ์ แน่นอน ดังตัวอย่างข้อความในจารึกกรุงสุโขทัย หลักที่ ๑ ว่า “ในน้ำมี ปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครใคร่ค้าช้างค้า ใครใคร่ค้าม้าค้า ใครใคร่ค้าเงินค้าทองค้า” งานร้อยกรองปรากฏชัดเจนในสมัยอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓–๒๓๑๐) มีผลงานร้อยกรองที่มีหลักฐานว่าเกิดขึ้นในรัชสมัยพระรามาธิบดีที่ ๑ อู่ทอง ปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา คือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ พระพิพัฒน์สัตยา ในสมัยต่อมา เมื่อสังคมไทยขยายตัวเปลี่ยนแปลงไป กวีฝักใฝ่ใน การประพันธ์ มีความคิดสร้างสรรค์อยู่แล้ว ต่างก็คิดประดิษฐ์วิธีแต่ง ร้อยกรองแบบต่าง ๆ ขึ้น เพื่อจะใช้ อ่าน สวด หรือขับร้อง เป็นทำนอง ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการในชีวิตความเป็นอยู่ของตน การคิดประดิษฐ์แบบร้อยกรองของไทยขึ้นนั้น ก็โดยอาศัยตำรา เดิม คือ คัมภีร์วุตโตทัย และกาพย์สารวิลาสินี เป็นต้น มีการกำหนด วรรคตอน จัดสัมผัสบัญญัติขึ้นไว้เป็นประเภทต่าง ๆ ได้แก่ คำฉันท์ คำพากย์ คำกลอน กาพย์ ร่าย โคลง และบทเพลงต่าง ๆ มีวรรณคดีโคลงฉันท์ ร่าย และกาพย์ แต่งด้วยภาษาไทยเกิดขึ้น ในสมัยอยุธยา เช่น ลิลิตโองการแช่งน้ำพระพัฒน์สัตยาในรัชสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ อู่ทอง กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรม- ธิเบศร์ ในรัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ มหาชาติคำหลวง โคลงยวนพ่าย ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ลิลิตพระลอ ซึ่งไม่ปรากฏระยะ เวลาแต่งที่แน่นอน ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีวรรณคดีร้อยกรองคำกลอนเกิดขึ้นจำนวน มาก เช่น กลอนบทละครเรื่องอุณรุท บทละครเรื่องรามเกียรติ์ นิราศ รบพม่าที่ท่าดินแดง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช กลอนบทละครเรื่องอิเหนารามเกียรติ์ ขุนช้างขุนแผน ในรัช- สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นิทานคำกลอนเรื่องพระ อภัยมณี ของสุนทรภู่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วรรณคดีร้อยกรองเป็นมรดกศิลปะอันล้ำค่าของชาติ เป็นงานที่ อุดมด้วยความงามและคุณค่าทั้งในด้านรูปแบบอันมีฉันทลักษณ์เป็น เครื่องกำกับ และเนื้อหาสาระ ความรู้ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้อ่าน แสวงหาได้จากวรรณคดีร้อยกรอง คือ ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ตัวอย่างเช่นเรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ที่กวีในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างสรรค์ขึ้น โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีโคลงรวม ๙๒ เรื่อง มีภาพเขียนสีพิมพ์ประกอบเพียง ๔๑ ภาพ ส่วนภาพ นอกจากนั้น ยังสืบค้นไม่พบว่ากระจัดกระจายไปอยู่ ณ ที่ใด ภาพและ โคลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การสงคราม ประเพณี ต่าง ๆ และเหตุการณ์ด้านศาสนา ตัวอย่างโคลงภาพพระราช- พงศาวดาร และภาพเขียนประกอบ รวม ๔ เรื่อง คือ ๑. โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ภาพที่ ๑ แผ่นดินสมเด็จพระ รามาธิบดีที่ ๑ พระเจ้าอู่ทอง ภาพทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา พระราช- นิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒. โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ภาพที่ ๑๑ แผ่นดินสมเด็จพระ มหาจักรพรรดิ์ (สมัยอยุธยา) ภาพพระศรีสุริโยทัยขาดคอช้าง พระ ราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๓. โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ภาพที่ ๒๑ แผ่นดินสมเด็จพระ มหาธรรมราชาธิราช สมัยอยุธยา ภาพสมเด็จพระนเรศวรตามจับ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=