2702_4043

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ต้องให้เด็กสามารถเรียนรู้ที่จะมีภูมิคุ้มกันตนเองเบื้องต้น สิ่งสำคัญที่สุด ในการช่วยเหลือเด็กคือต้องตระหนักว่าผลกระทบที่สร้างบาดแผลใน จิตใจของเด็กและเยาวชนนั้น หากมิได้รับการเยียวยาจะเป็นบาดแผลที่ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กไปตลอดชีวิต การเยียวยานี้จะช่วยให้ เด็กสามารถฟื้นคืนดีได้และสามารถใช้ชีวิตตามปรกติได้ต่อไป สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศ. ดร.สุดา เกียรติกำจรวงศ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การสังเคราะห์ชั้นเคลือบผิวไฮโดรเจลของเม็ดปุ๋ยคอมพาวนด์ เอ็มพีเคที่ละลายและปล่อยสารอาหารแบบควบคุม ความโดยสรุปว่า เม็ดปุ๋ยอินทรีย์หรืออนินทรีย์สามารถละลายได้อย่างรวดเร็วใน สารละลายที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ ทำให้ลดคุณค่าและการใช้ ประโยชน์ของปุ๋ยอย่างคุ้มค่า เพราะพืชดูดซึมสารอาหารไปใช้ไม่ทัน อาจก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่ปุ๋ยละลาย เนื่องจากสะสม สารเคมีจำนวนและปริมาณมากในชั้นดิน การเตรียมปุ๋ยไฮโดรเจลชนิด ควบคุมการปล่อยธาตุอาหารเอ็นพีเค (NPK) เริ่มจากการเตรียมปุ๋ย ไฮโดรเจลด้วยการจุ่มเม็ดปุ๋ยลงในสารละลายพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ ตามด้วยการจุ่มในสารละลายไคโทซานและเชื่อมขวางด้วยไอของสาร ละลายกลูทารัลดีไฮด์ ศึกษาเวลาที่เม็ดปุ๋ยไม่เคลือบและปุ๋ยเคลือบ ละลายน้ำหมด นำปุ๋ยเคลือบพอลิไวนิลแอลกอฮอล์และไคโทซานที่ เชื่อมขวางแล้วมาสังเคราะห์เป็นปุ๋ยไฮโดรเจล ด้วยการทำปฏิกิริยา การเกิดพอลิเมอร์แบบอินเวอร์สซัสเพนชันที่มีมอนอเมอร์อะคริลาไมด์ และอะคริลิกแอซิดเป็นคู่มอนอเมอร์ ละเอ็น, เอ็น-บิสอะคริลาไมด์ เป็นสารเชื่อมขวาง ตรวจสอบหมู่ฟังก์ชันของปุ๋ยไฮโดรเจลด้วยเทคนิค ฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี หาค่าการดูดซึมน้ำของ ปุ๋ยไฮโดรเจลที่เตรียมจากสารตั้งต้นด้วยสารปริมาณต่างกัน พบว่า เวลาละลายน้ำของเม็ดปุ๋ยนานขึ้นจากการเพิ่มจำนวนครั้งของการ เคลือบ หรือปริมาณสารเคลือบ ปริมาณสารตั้งต้นที่เหมาะสมในการ สังเคราะห์ปุ๋ยไฮโดรเจล คือร้อยละ ๐.๑๓ และ ๐.๐๑ โมลของคู่มอ- นอเมอร์และสารเชื่อมขวาง ตามลำดับ ให้ค่าการดูดซึมน้ำ ๓๒๐± ๒ กรัมต่อกรัมของน้ำหนักสารแห้ง ในน้ำกลั่น ที่อุณหภูมิห้อง ภายใน เวลา ๒๔ ชั่วโมง การดูดซึมน้ำของเม็ดปุ๋ยเคลือบไฮโดรเจลมีค่ามาก ขึ้นตามปริมาณของกรดอะคริลิกที่เพิ่มขั้นในไฮโดรเจล เม็ดปุ๋ยที่ เคลือบลักษณะนี้สามารถปล่อยธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียมร้อยละ ๘๓.๘, ๖๒.๓ และ ๒๖.๒ ตามลำดับ ภายใน ๓๐ วันในน้ำกลั่น ศ. ดร. นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง Asbestos and Mesothelioma in Thailand ความโดยสรุปว่า Chrysotile, a serpentile asbestos, has been used in a number of Thai Industries for several decades. The material is known to be carcinogenic to humans especially of the serous lining of cavitary organs, producing the rare and highly malignant tumour named mesothelioma. In the period of 57 years (1954-2011) there are only 57 known mesothelioma cases in Thailand, and none of whom had pathological evidence of asbestos etiology; one single case among them had a history of asbestos exposure in a factory. The first patient was diagnosed in 1954 as a case of mesothelioma of tunica vaginalis. The first reported case appeared 14 years thereafter. Studies concerning asbestos in Thailand have been few and almost being carried out under my guidance, i.e., Surveys for asbestos bodies in 330 randomised autopsy lungs, determination of air-borne asbestos dusts in heavy traffic streets in Bangkok, verification of asbestos contaminant in vermiculite used in planting, and durability testing of asbestos and non-asbestos cement tiles. Details will be described in the text. ศ. ดร.ปกรณ์ อดุลพันธุ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง อุตสาหกรรม ไทย : ความสามารถในการแข่งขัน ตอนที่ ๑ ความโดยสรุปว่า อุตสาหกรรมไทยเป็นภาคสำคัญในเศรษฐกิจไทย (คิดเป็นร้อยละ ๔๑ ใน พ.ศ. ๒๕๕๔) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เป็นศูนย์ รวมของอุตสาหกรรมไทย ปัจจุบันมีกลุ่มอุตสาหกรรม ๔๐ กลุ่มเป็น องค์ประกอบ สอท. ด้วยความร่วมมือกับภาครัฐได้สร้างความสามารถ ในการแข่งขัน (competitiveness) ขึ้นมาได้ในระดับหนึ่ง และยังต้อง พัฒนาต่อไป • วันพุธที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศ. ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิต และ ศ. ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า และเชื้อเพลิงที่ผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนปัญหาเชิงนโนบาย และแนวทางปรับปรุง ความโดยสรุปว่า ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าที่ ผลิตด้วยพลังงานหมุนเวียนในประเทศ เข้าสู่ระบบสายส่งของทั้ง กฟผ. และ กฟภ. เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้า ด้วยพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ที่ทำให้เกิด ปัญหาความมั่นคงด้านพลังงานและแก๊สเรือนกระจก ความไม่เหมาะ สมของส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานชีวภาพและน้ำต่ำเกินไป ทำให้มีไฟฟ้าที่ป้อนเข้าสายส่งจากพลังงานดังกล่าว น้อยไปมาก การ ผลิตไฟฟ้าป้อนเข้าสายส่งด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ที่ต้องผลิตจากวัสดุนำ เข้า แต่ได้รับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าสูงมากนั้น ไม่เป็นธรรมแก่ทั้งผู้ ใช้ไฟฟ้าและผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวภาพและน้ำ ที่เสียโอกาสใน การใช้และผลิตไฟฟ้าได้ถูกกว่า แนวทางแก้ปัญหาประการแรก คือ การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียนที่มี ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าต่ำกว่า ก่อนการรับซื้อจาก เซลล์แสงอาทิตย์ ต่อจากนั้น การปรับราคารับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจาก พลังงานชีวภาพและน้ำขึ้น ให้ใกล้เคียงกับราคารับซื้อไฟฟ้าจาก พลังงานลม จะช่วยให้มีไฟฟ้าที่ถูกกว่าป้อนเข้าสายส่งมากขึ้น นโยบายด้านเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับภาคขนส่งยังมีปัญหาหลัก อยู่หลายประเด็น นโยบายที่ให้มีแกโซฮอลหลายชนิดนั้น มีปัญหาทั้ง ด้านวัตถุดิบและสิ่งแวดล้อม เอทานอลร้อยละ ๙๙.๕ เป็นสารเพิ่มเลข ออกเทนในน้ำมันเบนซินที่ใช้แทน เอมทีบีอี ได้ดี แต่เป็นเชื้อเพลิง ทดแทนที่มีจุดอ่อนหลายประการ เมื่อพิจารณาวัฏจักรการผลิตเอทาน อล เครื่องยนต์ดีเซลปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องยนต์เบนซิน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=