2702_4043
3 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๖ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔ สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ รศ. ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การให้ความช่วยเหลือเพื่อการฟื้นคืนได้ (Resilience) ทางจิตใจ ของเด็กหลังภัยพิบัติ ความโดยสรุปว่า โลกมีการเปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างรวดเร็วจากภาวะโลกร้อนและการ ที่ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย ประชากรโลกต้องเผชิญกับภัยพิบัติ ในรูปแบบต่าง ๆ ภัยพิบัติเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อประชากรโลกโดย เฉพาะเด็กและเยาวชน ภัยพิบัติจากธรรมชาติเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน ถึงอัตราที่เกิดถี่ขึ้นทั่วโลก เป็นปรากฏการณ์รุนแรงที่คุกคามชีวิต และความเป็นอยู่ของบุคคลทุกกลุ่มทุกวัย ทั้งด้านทรัพย์สิน ร่างกาย และจิตใจ ใน ค.ศ. ๒๐๐๔ (พ.ศ. ๒๕๔๗) เราพบว่าภัยพิบัติสึนามิ ส่งผลต่อประเทศในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง รุนแรง คนไทยเสียชีวิตไปกว่า ๘,๐๐๐ คน เด็ก ๆ กำพร้าบิดามารดา มากกว่า ๕,๐๐๐ คน เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่คนไทยไม่เคยประสบ มาก่อน จากข้อมูลทางสถิติภัยพิบัตินานาชาติ (The International Disaster data base) ใน ค.ศ. ๒๐๐๕ ศึกษาและวิเคราะห์ภัยพิบัติ ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๗๕–๒๐๐๕ พบว่าแนวโน้ม ของการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งโลกมีแนวโน้มเกิดเพิ่มขึ้นมา อย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลที่รายงานพบว่าภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาก ที่สุดคือ อุทกภัยซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบมากมาย การเยียวยาที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการซ่อมแซมหรือสร้าง ที่อยู่อาศัย หรือเยียวยาทางกายภาพ ส่วนการเยียวยาทางจิตใจให้ฟื้น คืนได้ (resilience) นั้นมีน้อยมากหรือแทบไม่ได้ทำเลย ฉะนั้น การ เยียวยาให้ฟื้นคืนได้นั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งเพราะทำให้ผู้เผชิญภัยพิบัติ ได้กลับมาใช้ชีวิตตามปรกติได้ การฟื้นคืนได้ หมายถึง ศักยภาพของบุคคลในการเผชิญกับ อุปสรรคในชีวิตอย่างมีความอดทน เข้มแข็ง และสามารถปรับตนได้ อย่างเหมาะสมและกลับคืนสู่สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็วหลังจาก ประสบกับความทุกข์ยากจากภัยพิบัติหรือแม้แต่การประสบปัญหาใน ชีวิต เริ่มมีการศึกษาเรื่องการฟื้นคืนได้อย่างกว้างขวางและแพร่หลาย มากขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๘๖ จากการรวมตัวของนักวิจัยกลุ่มหนึ่งซึ่งนำโดย ลินด์เซย์ (Lindzey) ได้ตั้งศูนย์ศึกษาพฤติกรรมศาสตร์ขั้นสูง (The center for Advanced Study in the Behavior Sciences) เพื่อ การศึกษาปัจจัยเสี่ยง และปัจจัยปกป้องความเสี่ยงในกลุ่มเด็กและวัย รุ่น การศึกษาการฟื้นคืนได้มักจะทำในกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อ การเกิดปัญหาทางด้านจิตใจ เช่น บุคคลที่อยู่ในบริบทของสภาพ แวดล้อมที่ขาดแคลน ความยากจน ปัญหาเศรษฐกิจ และการประสบ ภัยพิบัติ โดยที่ความเสี่ยงหรือปัจจัยที่ทำให้บุคคลสามารถเกิดปัญหาใน ด้านต่าง ๆ ได้ การศึกษาทำให้ได้ทราบถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลที่อยู่ใน บริบทที่มีความเสี่ยงสูงบริบทเดียวกันแต่บุคคลกลุ่มหนึ่งสามารถปรับ ตัวได้และไม่มีปัญหาด้านจิตใจ แต่บุคคลอีกกลุ่มมีปัญหาในการปรับตัว และแสดงอาการผิดปรกติทางด้านจิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรมภาย หลังการเผชิญภัยพิบัติ ลักษณะนิสัยที่สำคัญในการฟื้นคืนได้ ได้แก่ ๑. สามารถเผชิญต่อความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒. มีทักษะการ แก้ปัญหาเป็นอย่างดี ๓. ตื่นตัวที่จะค้นหาความช่วยเหลือ ๔. มีความ เชื่อว่าปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้ ๕. มีความสัมพันธ์กับครอบครัวและ เพื่อน ๖. เปิดเผยความทุกข์กับคนที่เรารักและไว้ใจ ๗. มีน้ำใจต่อผู้อื่น ๘. มีเอกลักษณ์ของความมีชีวิตชีวา อยากมีชีวิตอยู่ ๙. พร้อมที่จะช่วย เหลือผู้อื่นเสมอ และ ๑๐. มองเห็นทางบวกของความเจ็บป่วย ผลกระทบของภัยพิบัติที่มีต่อเด็ก ได้แก่ ๑. เกิดความบาดเจ็บทาง จิตใจ (Trauma) ที่นำไปสู่ความเครียด และประทับอยู่ในจิตใจของเด็ก ๒. ประสบการณ์ทารุณที่ได้รับจะฝังอยู่ในจิตใจของเด็กโดยเฉพาะวัย ๓-๖ ปี ๓. ส่งผลกระทบสูงต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตประจำวันของ เด็กโดยเฉพาะเมื่อเด็กอยู่ในวัยระยะวิกฤติ (๑ ปี ๖ เดือน–๓ ปี) ๔. เมื่อ เกิดปัญหาที่มากับครอบครัว ได้แก่ การไร้ที่อยู่ พ่อแม่เสียชีวิต หรือสูญ เสียญาติพี่น้อง เด็กจะบาดเจ็บทางจิตใจและได้รับผลกระทบมากกว่า ผู้ใหญ่ ๕. เด็กต้องการฟื้นฟูสภาพจิตใจและสร้างทักษะให้สามารถผจญ ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้มากกว่าผู้ใหญ่ และ ๖. เด็กต้องพัฒนาความ สามารถเพื่อที่จะอยู่ได้หลังจากที่สังคมภายนอกหยุดความช่วยเหลือ การให้ความช่วยเหลือในทันทีทันใดหลังเด็กประสบภัยพิบัติ อาจ ทำได้โดยมีขั้นตอนดังนี้ ๑. ต้องมีทีมงานที่ให้การช่วยเหลือเด็กอย่าง ต่อเนื่องและมีเครือข่ายในพื้นที่ ๒. ประเมินความต้องการความช่วย เหลือของเด็กได้อย่างรวดเร็ว และให้ความช่วยเหลือตรงตามความ ต้องการ ๓. ต้องให้ความช่วยเหลือในทันทีโดยประสานงานร่วมมือกับ ท้องถิ่น และ ๔. จัดวางแผนแปรความช่วยเหลือทันทีไปสู่ความช่วย เหลือถาวร โดยเป็นการให้ความสนับสนุนชุมชนให้มีแผนระยะยาวที่จะ ช่วยเหลือตนเอง การสร้างภูมิคุ้มกันเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับเด็ก ได้แก่ ๑. สร้าง ภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ : สอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะเผชิญกับภัยพิบัติและ เรียนรู้วิธีป้องกันภัยพิบัติและตนเอง ๒. สร้างภูมิคุ้มกันทางพฤติกรรม : ควบคุมและบันทึกกิจกรรมที่เด็กกระทำแต่ละงานอย่างสม่ำเสมอ ๓. สร้างสภาพแวดล้อมป้องกันภัย เช่น ศึกษาหนทางหลบหนีภัยพิบัติ ๔. ให้การศึกษากับชุมชนเพื่อเรียนรู้การป้องกันภัยพิบัติ เพื่อการช่วย เหลือเด็กในเบื้องต้น และ ๕. สร้างความร่วมมือและสร้างเครือข่ายใน ชุมชนเพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กได้อย่างทันท่วงที สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงในการช่วยเหลือเด็ก ได้แก่ ๑. มีความเต็มใจ แล้ว มีความรู้ และเป็นมืออาชีพ ๒. ต้องรวดเร็วและขยายกลุ่มผู้ให้ ความช่วยเหลือในท้องถิ่น ๓. ต้องใช้ทรัพยากรท้องถิ่นให้มากที่สุด ๔. ต้องสร้างความสามารถและความพร้อมที่จะช่วยเหลือตนเองทันที ๕.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=