2701_2074

7 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๕ เดือนตุลาคม ๒๕๕๔ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ แทรกมัธยสระได้ ณ ตำแหน่งส่วนกลางของช่องปาก คือ [a] ณ จุดเป็น กลาง เช่น ผุสชา เสียงพยัญชนะสะกดในคำไทยที่มีลักษณะเป็นเสียงสังโยค พยัญชนะไทยที่ใช้เป็นตัวสะกด ๑๘ ตัว ที่มีสถานะเป็นเสียงสังโยค ๒ เสียงประกบต่อเนื่องกันเสียงแรกเป็นเสียงสะกดเสียงหลังเป็นเสียง พยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไปจะมีเสียงอื่นมาแทรกมิได้ ผศ. ดร.มาโนช กงกะนันทน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง มัณฑน- ศิลป์บนซองจดหมาย ความโดยสรุปว่า ซองจดหมายมีความสำคัญและมี บทบาทในการดำเนินชีวิต บนพื้นที่ของซองนั้นมีศิลปะปรากฏอยู่ ซึ่งมีชื่อ เฉพาะเรียกว่าเลขนศิลป์ของสิ่งพิมพ์ เป็นมัณฑนศิลป์ประเภทหนึ่งที่มีการ ออกแบบ กล่าวคือ ซองจดหมายซึ่งกรมไปรษณีย์โทรเลขหรือบริษัท ไปรษณีย์ไทยในปัจจุบัน ได้ออกแบบเป็นพิเศษปิดดวงตราไปรษณียากร พร้อมทั้งประทับตราแสดงรายละเอียดของสถานที่ วัน เวลาที่ใช้บริการ และมีสัญลักษณ์เป็นรูปที่ออกแบบเป็นพิเศษปรากฏอยู่บนซองด้วย ซอง ดังกล่าวคือซองที่ระลึก แยกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. ซองที่ระลึกวันแรกจำหน่าย ได้แก่ ซองจดหมายที่จัดทำขึ้น จำหน่ายเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสวันแรกจำหน่ายตราไปรษณียากรที่ระลึก ชุดนั้น ๆ พร้อมตราประทับวันแรกจำหน่าย (หรือตราประจำซอง) กรม ไปรษณีย์โทรเลขได้จำหน่ายให้นักสะสมเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ คือ ซองที่ระลึกวันแรกจำหน่ายตราไปรษณียากรที่ระลึกงาน สัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย ๒๕๐๔ ๒. ซองที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ ซองที่จัดทำขึ้นจำหน่าย เพื่อเป็นที่ระลึกในวาระพิเศษหรือในโอกาสที่มีเหตุการณ์สำคัญของ ประเทศ ซึ่งในโอกาสนั้น ๆ มิได้มีการออกตราไปรษณียากรที่ระลึก จำหน่ายเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ คือ ซองที่ระลึก การแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ ๘ ซองที่ระลึกในโอกาสสำคัญนี้ แยก เป็น ๓ ชนิด คือ ๒.๑ ชนิดผนึกตราไปรษณียากรบนซองด้านซ้าย พิมพ์ภาพที่มีความ หมายเกี่ยวข้องกับโอกาสสำคัญนั้น ๆ และผนึกตราไปรษณียากรที่เกี่ยว เนื่องหรือเหมาะสมกับโอกาสไว้บนซองด้านบนขวา พร้อมตราประทับวัน แรกจำหน่ายซึ่งจะมีการประทับแตกต่างกันไปเป็น ๓ แบบคือ ๒.๑.๑ ประทับบนซองและบนตราไปรษณียากร หรือที่เรียกกัน ว่า ประทับใน ๒.๑.๒ ประทับตราบนซองแต่ไม่ให้ทับตราไปรษณียากร หรือที่ เรียกกันว่า ประทับนอก ๒.๑.๓ ประทับตราทั้ง ๒ แบบ ตาม ๒.๑.๑ และ ๒.๑.๒ บน ซองเดียวกัน อนึ่ง ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นต้นมา ได้ยกเลิกการ ประทับตราตามข้อ ๒.๑.๒ จึงยังคงเหลือเฉพาะการประทับตราตามข้อ ๒.๑.๑ เท่านั้น ๒.๒ ชนิดไม่ผนึกตราไปรษณียากร ประทับตราวันแรกจำหน่ายบน ซองด้านซ้าย พิมพ์ภาพที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับโอกาสสำคัญนั้น ๆ พร้อมตราประทับวันแรกจำหน่ายที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องประทับอยู่ด้าน บนขวา ๒.๓ ชนิดซองเปล่า ไม่ผนึกตราไปรษณียากรและไม่ประทับตราบน ซอง มีเพียงภาพที่มีความหมายเกี่ยวกับโอกาสสำคัญนั้น โดยนักสะสม สามารถนำไปดำเนินการเพื่อการสะสมหรือเป็นที่ระลึกในรูปแบบต่าง ๆ ตามอัธยาศัยได้ดังนี้ ๒.๓.๑ ขอให้เจ้าหน้าที่ประทับตราวันแรกจำหน่าย ๒.๓.๒ ผนึกตราไปรษณียากรชุดที่ตนพอใจหรือเห็นว่าเหมาะ สมสอดคล้องกับโอกาสหรือภาพบนซองแล้วแต่จินตนาการหรือแนวคิด ของแต่ละคน และขอให้เจ้าหน้าที่ประทับตราวันแรกจำหน่ายให้ ๒.๓.๓ ผนึกตราไปรษณียากรชุดที่พอใจหรือเห็นว่าเหมาะสม และขอให้เจ้าหน้าที่ประทับตราประจำวันนั้น ๆ ให้ สำหรับตราที่ใช้ประทับ บนซองที่ระลึกทั้ง ๒ ประเภทนั้น มี ๒ ชนิด คือ ๑. ตราประทับวันแรกจำหน่าย คือ ตราประทับที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ ประทับบนซองเฉพาะในวันแรกจำหน่ายนั้น ๆ เท่านั้น เช่น ตราประทับ วันแรกจำหน่ายตราไปรษณียากรที่ระลึกหรือตราประทับวันแรกจำหน่าย ซองที่ระลึกในโอกาสสำคัญ ๒. ตราที่ระลึก (หรือเดิมเรียกว่า ตราพิเศษ) คือ ตราประทับที่จัดทำ ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเฉพาะของงาน หรือการประชุมที่ติดต่อกันมากกว่า ๑ วันอาจแบ่งได้เป็น ๒ แบบ คือ ๒.๑ แบบตราเดียวตลอดงาน เช่น ตราประทับที่ระลึกในการจัดงานวัน ฉลองชัยชนะท้าวสุรนารี ระหว่างวันที่ ๒๓ มีนาคม - ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ ๒.๒ แบบตราแยกเฉพาะแต่ละวันตลอดงาน เช่น ตราที่ระลึกงาน แสดงตราไปรษณียากรโลก-กรุงเทพฯ ๒๕๓๖ ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุม แห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ ๒-๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ รวม ๑๐ วัน มี ตราที่ระลึกแยกเป็นแต่ละวันรวม ๑๐ ตรา ซองที่ระลึกวันแรกจำหน่าย ของประเทศไทยได้ออกสู่สายตาประชาชนเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖ นอกจากตราประทับแล้วยังมีภาพสัญลักษณ์ของงานหรือโอกาส ต่าง ๆ ที่ทางการได้ออกจำหน่าย เช่น ๑. ภาพสัญลักษณ์ของชุดสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย เริ่ม ต้นจาก พ.ศ. ๒๕๐๔ จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๐ ๒. ภาพสัญลักษณ์ของชุดที่ระลึกวันสหประชาชาติ เริ่มต้นจาก พ.ศ. ๒๕๐๕ จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๐ เช่นเดียวกัน ผู้บรรยายได้นำเสนอ ๒ เหตุการณ์นี้เพราะเป็นสากล สำหรับประเทศไทยมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอีก คือ เป็นครั้งแรกที่กรมไปรษณีย์โทรเลขได้ออกแบบและจัดจำหน่ายซอง วันแรกเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ และได้ดำเนินการต่อ เนื่องมาตามโอกาสต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=