2701_2074

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน รายละเอียด ไม่ใช้การร่างภาพด้วยเส้น ซึ่งเป็นการทำลายแบบแผนการ วาดภาพทิวทัศน์ตามประเพณีที่ยึดถือกันมาแต่โบราณ จึงได้รับการวิ พากษ์วิจารณ์และต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษ์นิยมอย่างรุนแรง แต่ต่อมานัก วิจารณ์ศิลปะกลับยกย่องว่าเป็นผลงานจิตรกรรมดีเยี่ยมภาพหนึ่ง โมเนจึง ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งอิมเพรชสชันนิสม์ สเตฟาน มาลลาร์เม (Stephane Mallarme: ๑๘๔๒-๑๘๙๘) กวีและ นักวิจารณ์ชาวฝรั่งเศส นำคำ impression จากชื่อภาพของ โกลด โมเน ไปใช้เป็นหัวเรื่องในบทวิจารณ์ผลงานของโมเนในนิทรรศการครั้งที่ ๒ ทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ภายหลังนักวิจารณ์และนักประวัติศาสตร์ศิลป์ เรียกผลงานที่สร้างขึ้นตามแนวคิดของศิลปินกลุ่มนี้ว่า Impressionism ศิลปะลัทธิประทับใจเกิดขึ้นพร้อมกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชนคือ ช่วยให้คิดอย่างมีเหตุผล มากขึ้น ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลถึงแนวคิดการสร้างงาน ศิลปะของศิลปินบางกลุ่มด้วย เช่น พัฒนาวงจรสีในวงกลมที่ประกอบด้วย สีแท้ทั้ง ๗ สี นอกจากนี้ วิทยาศาสตร์ยังช่วยอธิบายได้ว่า สี สามารถสร้างสีใหม่ได้ โดยการนำ แม่สี หรือ สีปฐมภูมิ มาผสมกัน ๒ สีในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะ เกิดเป็น สีผสม หรือ สีทุติยภูมิ หรือสีขั้นที่ ๒ หรือถ้าต้องการสีขุ่น ทึบ ก็ใช้ แม่สีมากกว่า ๒ สีผสมกันเป็น สีตติยภูมิ วงจรสีหรือวงล้อสีสร้างขึ้นเพื่อ แยกแม่สีและแสดงการผสมกันของสีทุติยภูมิ และยังอธิบายเกี่ยวกับสีไว้ อีกว่า เมื่อผิววัตถุถูกแสงตกกระทบจะสะท้อนคลื่นแสงตามธรรมชาติของ พื้นผิววัตถุให้เห็น เรียกว่า สี ทั้งแม่สีและสีที่เกิดจากการผสมกันตาม วงจรสี แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มสีร้อน หรือวรรณะสีร้อน หรือ วรรณสีอุ่น และกลุ่มสีเย็น หรือวรรณสีเย็น มิเชล เออเจน เชอฟเริล (Michel Eugene Chevreul: ๑๗๘๖- ๑๘๘๙) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส พบว่า เมื่อนำวัตถุที่มีสีต่างกันมาวางไว้ ใกล้ ๆ กันจะเห็นว่าสีแต่ละสีของวัตถุจะเปลี่ยนไปจากเดิม เพราะสีสีหนึ่ง จะเปลี่ยนไปตามสีที่อยู่ใกล้เคียง แต่ถ้านำวัตถุสีเดียวกันมาวางไว้ใกล้กันสี จะจางและกลมกลืนกัน จิตรกรจึงนำความรู้เกี่ยวกับสีที่ค้นพบใหม่ ๆ นี้มา ประยุกต์ใช้กับการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมอีกหลายอย่าง โมเน แสวงหาแนวทางการวาดภาพทิวทัศน์ใหม่ ๆ หลายภาพ แสดง ให้เห็นว่าสิ่งที่เขาวาดไม่ใช่เพื่อบันทึกความประทับใจจากทิวทัศน์ที่งดงาม แต่เป็นการศึกษาทดลองเรื่องแสงและสี เช่น ภาพชุดลอมฟาง ได้แก่ จิตรกรรมสีน้ำมันชื่อ Haystack at Sunset, Frosty Weather และ จิตรกรรมสีน้ำมันชื่อ Haystack in Morning, Snow Effect ทั้ง ๒ ภาพ เขียนในช่วงเวลาที่ต่างกันเพื่อศึกษาเรื่อง แสง สี เวลา และบรรยากาศ โมเนวาดภาพทั้งสองเพื่อศึกษาแสงที่เปลี่ยนแปลงไปตามมุมของดวง อาทิตย์ว่า มีผลกระทบต่อสีของวัตถุในแต่ละช่วงเวลาอย่างไร จากภาพจิตรกรรมของโมเนที่นำมาเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นแนวคิด ของศิลปินกลุ่มลัทธิประทับใจว่ามักวาดภาพเพื่อศึกษาเกี่ยวกับแสงและสี ตามทฤษฎีใหม่ ๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มาก กว่าความประทับใจ ดังนั้น การบัญญัติศัพท์ impressionism ว่า ลัทธิ ประทับใจ จึงไม่สอดคล้องกับแนวคิดของศิลปินลัทธิดังกล่าว • วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ศ. ดร.อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ทฤษฎีการ ออกเสียงคำไทยตามหลักภาษาศาสตร์ ภาค ๑ ความโดยสรุปว่า การออก เสียงคำไทยทางสื่อวิทยุและโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับคำที่มีเสียง [อะ] แทรกใน คำมักจะแทรกเกินเช่น อุตสาหกรรม ก็ออกเสียงเป็น [อุตตะสาหะกำ] ตะนาวศรี ก็ออกเสียงเป็น [ตะนาววะสี] รัฐวิสาหกิจ ก็ออกเสียงเป็น [รัต ถะวิสาหะกิต] ในทางหลักภาษาศาสตร์ มีความเชื่อเป็นสัจพจน์ว่า การดัน ลิ้นไปข้างหน้ากระทำได้ง่ายกว่าการดึงลิ้นไปข้างหลัง เสียงเป็นกลางเป็น จุดพักลิ้นอยู่ที่ส่วนกลางของช่องปาก ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการแทรก เสียง [อะ] ในคำไทยประกอบด้วยความแตกต่างเกี่ยวกับตำแหน่งของ เสียงซึ่งเกี่ยวข้องกับตำแหน่งของลิ้นภายในช่องปาก ความแตกต่างของ ประเภทของเสียงในทางภาษาศาสตร์ ความแตกต่างอโฆษะและโฆษะใน คำ ความแตกต่างระหว่างความเป็นสิถิลและธนิตในคำ และความแรง ของพยัญชนะ (consonantal strength) ปัญหาการแทรกเสียง [อะ] ในคำไทย คำสมาสต้องเขียนอย่าง ภาษาเดิมของเขา คือไม่ประวิสรรชนีย์ในท่ามกลาง เช่น สมณพราหมณ์ เถรสมาคม สาธารณชน ประวัติศาสตร์ สรณคมณ์ คณบดี ยานพาหนะ คำที่มักอ่านผิด ได้แก่ อุตสาหกรรม ตะนาวศรี รัฐวิสาหกิจ เป็น หน้าที่ของครูภาษาไทยที่ต้องให้คำอธิบาย สัจพจน์ทางสัทศาสตร์ตามทฤษฎีภาษาศาสตร์ ๑. มัธยสระ (neutral vowel) หรือสระเป็นกลาง เป็นเสียงสระที่ เกิดขึ้น ณ ตำแหน่งส่วนกลางของช่องปากคือ เสียง [a] หรือ [ ə ] เป็น สระเสียงเป็นกลางแต่คนไทยมักจะคุ้นเคยกับเสียง [อะ] แต่บางท่านก็ อยากให้เป็นกึ่ง [อะ] และเขียนด้วยประวิสรรชนีย์ครึ่งเดียว ๒. การเคลื่อนลิ้น (tongue movement) หรือการดันลิ้นที่อยู่ข้าง หลังภายในช่องปากไปข้างหน้า กระทำได้ง่ายกว่าการดึงลิ้นจากข้างหน้า ไปข้างหลัง เช่น รักษา ปักษิน อัปสร ทฤษฎีการแทรกเสียงมัธยสระในการออกเสียงคำไทย ๑. ความแตกต่างเกี่ยวกับตำแหน่งของเสียงซึ่งเกี่ยวข้องกับตำแหน่ง ของลิ้นภายในปาก (point of articulation) การที่ลิ้นอันเป็นอวัยวะที่ เคลื่อนไหวได้เคลื่อนไปแตะหรืออยู่ใกล้อวัยวะที่เคลื่อนไหวไม่ได้ภายใน ช่องปากทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างกัน ๒. ความแตกต่างระหว่างประเภทของเสียง (manner of articulation) เสียงพยัญชนะตัวนำหน้ากับเสียงพยัญชนะตัวตามมี ประเภทของเสียงแตกต่างกัน เช่น ศุภชัย อัฒจันทร์ รัชกาล อพยพ อุณหภูมิ พรรณราย ธรรมรักษ์ กัลยา พัลวัน ๓. ความแตกต่างระหว่างเสียงอโฆษะ (voiceless) กับเสียงโฆษะ (voiced) ถ้าเสียงพยัญชนะตัวหน้าเป็นเสียงอโฆษะ เสียงพยัญชนะตัว ตามเป็นโฆษะต้องมีการพักลิ้นโดยซ้ำเสียงสะกดที่มาข้างหน้าแล้วตาม ด้วยการแทรกเสียงมัธยสระ [a] เช่น สัปดาห์ สัปหงก สัปดน สัปโดก สับปะรด สัปเหร่อ อุปมา อุปโลกน์ สับปะรังเค Grimm’s Law - การกลายเสียงครั้งแรกจากเสียงหยุดอโฆษะ เป็นเสียงเสียดสี อโฆษะ - การกลายเสียงครั้งที่ ๒ จากเสียงเสียดสีอโฆษะหรือเสียงหยุด โฆษะธนิต เป็นเสียงหยุดโฆษะ - การกลายเสียงครั้งที่ ๓ จากเสียงหยุดโฆษะ เป็นเสียงหยุดอโฆษะ ๔. ความแตกต่างระหว่างเสียงสิถิล (unaspirated) กับเสียงธนิต (aspirated) มีความสำคัญต่อภาษาไทยอย่างมากที่จะต้องมีการพักลิ้น และซ้ำเสียงพยัญชนะสะกดตัวหน้าแล้วตามด้วยการแทรกเสียงมัธยสระ เช่น สัปทน รัฐบาล ๕. การเปลี่ยนเสียงจากความแรงพยัญชนะสูงไปสู่เสียงที่มีความแรง พยัญชนะต่ำย่อมมีการพักเสียงโดยซ้ำเสียงพยัญชนะสะกดตัวหน้าและ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=