2701_2074

5 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๕ เดือนตุลาคม ๒๕๕๔ biotechnology policy calls for emphases on four targeted groups to be critically effected by the formulated policies namely; the community level, the small and medium industries sector, the large and multinational industries, and the research community. This policy wants to assure that all the large and multinational industries, and the research community. This policy wants to assure that all four major sectors receive the sufficient supports from this policy. Also the policy focuses on four sectors for development, namely, food and agriculture, health, energy, and industrial biotechnology, with the emphases on clean environment and clean technology being the cornerstones for development in all sectors. This policy also provides time-line mapping for priority achievements needed for the plan as well as the strategic host agencies to push forward the plans into real actions. It is hoped that with well planed policies and well coordinated actions, biotechnology will lead Thailand to prosper economic and social developments in the near future. นายประชา ชยาภัม ผู้บรรยายรับเชิญ บรรยายเรื่อง ยุทธศาสตร์ ดับไฟใต้ ตอนที่ ๑ ประสบการณ์และทัศนคติแพทย์ภาคใต้ ความโดยสรุป ว่า ชุมชนบนคาบสมุทรมลายูมีมาตั้งแต่โบราณกาล ชาวมลายูเป็นชนชาติ ที่ดินแดนผืนแผ่นดินแห่งนี้ตลอดมาจวบปัจจุบัน โดยเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ ภาษา และวัฒนธรรม ประเพณีที่แตกต่าง ประวัติศาสตร์ที่ เขียนขึ้นเฉพาะส่วนที่เป็นประโยชน์ฝ่ายตน รวมทั้งผลประโยชน์ของแต่ละ กลุ่ม ได้สร้างความขัดแย้ง การแก้ปัญหาที่กระทำด้วยความรุนแรง ได้ก่อ ความเกลียดชังและการตอกย้ำต่อเนื่องร้าวลึกถึงลูกหลาน จึงยากที่จะ บำบัดแก้ไข เหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และใน ๔ อำเภอของจังหวัดสงขลาตั้งแต่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ มีผู้เข้าร่วม ขบวนการจำนวนมากเป็นชาวมุสลิมเกือบทั้งหมด เกิดเหตุการณ์รุนแรง ต่อเนื่อง ซึ่งเกี่ยวโยงกับบุคคลหลายกลุ่ม เช่น ขบวนการแบ่งแยกดินแดน ขบวนการผิดกฎหมาย โดยเฉพาะยาเสพติด น้ำมันเถื่อน บ่อนการพนัน การค้ามนุษย์ ฯลฯ ผสมโรงโหมด้วยความรังเกียจเกลียดชังของชาวไทย พุทธ โดยเฉพาะข้าราชการทหาร ตำรวจ นักปกครอง นักการเมืองทั้ง ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ การแก้ปัญหาจึงมักก่อปัญหาใหม่ ยังรวมถึง การสนับสนุนด้านการเงินจากมุสลิมต่างชาติ ฯลฯ การแก้ปัญหาจึงต้องกระทำด้วยปณิธานและความตั้งใจแน่วแน่ ประสานงานอย่างแข็งขันต่อเนื่องด้วยกันทุกฝ่าย ที่สำคัญที่สุดคือการปรับ ศรัทธาความเชื่อใจ พร้อมกับการจัดสรรผลประโยชน์ให้ลงตัวในกลุ่มผู้ที่ เกี่ยวข้องทั้งหมด ลดเงื่อนไขของกลุ่มผลประโยชน์ เสมือนกลับไปสู่ยุคไร้ พรมแดนเหมือนในยุโรป ต้องทำการชำระประวัติศาสตร์ให้เป็นบทเรียน เพื่อ แก้ไข ไม่ใช่แก้แค้น สำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ รศ. ดร.นววรรณ พันธุเมธา ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง คำคล้ายใน ภาษาไทยและภาษาไท ความโดยสรุปว่า คำคล้าย หมายถึง คำที่มีเสียง คล้ายกันและความหมายก็คล้ายกันหรือเกี่ยวข้องกัน เช่น ปิด ติด มิด ชิด โกง โก่ง โค้ง ฯลฯ มีผู้สนใจคำคล้ายอยู่หลายคน เช่น พลตรี พระเจ้าวรวงศ์ เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พระยาอนุมานราชธน รศ. ดร.ประพิณ มโนมัยวิบูล ผศ. ดร.วัลยา ช้างขวัญยืน ก็รวบรวมคำคล้ายไว้จำนวนมาก สาเหตุที่มีคำคล้ายในภาษาไทย พระยาอนุมานราชธนสันนิษฐานว่า เดิมคำเหล่านี้เป็นคำเดียวกัน แต่เปลี่ยนเสียงสระ พยัญชนะ หรือ วรรณยุกต์ เพื่อให้มีความหมายต่างออกไป และคิดว่าการแปลงเสียงของ คำเช่นนี้เป็นวิธีของไทยที่จะทำให้มีคำใช้มากขึ้น ภาษาในตระกูลไทที่พูดกันนอกประเทศไทยเรียกว่า ภาษาไท ภาษา ไทที่สำรวจคำคล้าย ได้แก่ ภาษาจ้วงใต้ ภาษาไทขาว ภาษาไทเมืองเติ๊ก ภาษาไทพ่าเก่ ภาษาไทเหนือ คำคล้ายบางคู่ในภาษาไทย เป็นคำคล้ายในภาษาไทที่สำรวจด้วย เช่น ตั้ง (=ทรงตัวอยู่) ตั่ง (=สิ่งที่ตั้งได้แก่ ที่สำหรับนั่ง ไม่มีพนัก) ภาษาจ้วงใต้ ตั๋ง (=ตั้ง, ตั้งขึ้น) ตั๊ง (=ตั่ง, ม้านั่ง) ภาษาไทขาว ตั๋ง (=ตั้ง, สร้าง) ตั๊ง (=เก้าอี้) ภาษาไทเมืองเติ๊ก ตั้ง (=สร้าง) ตั่ง (=เก้าอี้) ภาษาไทพ่าเก่ ตั่ง (=ตั้ง, วาง) ตั ง (=ม้านั่ง, เก้าอี้) ภาษาไทเหนือ ตั้ง (=ตั้ง, ชัน) ตั่ง (=ม้านั่ง, เก้าอี้) แต่ก็มีคำคล้ายจำนวนมากในภาษาไทไม่อาจเทียบได้กับภาษาไทย เช่น ภาษาไทเหนือ ยื้อ = ยิง ยือ = เล็ง ยื้ง, เย้ง = เล็ง หรือ ยิงไปยัง ม่าง = ๑. ครึ่ง ๒. แหว่ง เช่น เข้วม่าง (=ฟันหลุดหาย), บิ่น เช่น พ่าม่าง (=พร้าบิ่น) แม่ง = แหว่ง เช่น เข้วแม่ง (=ฟันหลุดหาย), บิ่น เช่น หว่านแม่ง (=ชามบิ่น) เห็นได้ว่า ไม่เฉพาะแต่ภาษาไทยเท่านั้นที่มีคำคล้าย ภาษาไทหลาย ภาษาก็มีคำคล้าย อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบระบบของการแปลงเสียง ยังไม่ อาจสันนิษฐานได้ว่า คำเสียงใดเป็นคำเดิม คำเสียงใดเกิดจากการแปลง คำ และยังไม่อาจบอกได้ว่า ความแตกต่างของเสียงเกี่ยวข้องกับความ หมายอย่างไร มีตัวอย่างความแตกต่างของเสียงที่เกี่ยวข้องกับความ หมายอยู่บ้างเพียงในภาษาไทยถิ่นอีสาน และภาษาไทเหนือ ตัวอย่างในภาษาไทยถิ่นอีสานพบในบทความ เรื่อง “เสียงสระในคำ ขยายบางคำในภาษาอีสาน” คำขยายที่รวบรวมไว้เป็นคำสองพยางค์ และคำสี่พยางค์ เสียงสระในคำขยายเหล่านี้บอกขนาดใหญ่หรือเล็กของ สิ่งของ หรือบอกรูปพรรณสัณฐาน หรือบอกพจน์ ตัวอย่างในภาษาไทเหนือพบในรายงานการวิจัยเรื่อง “การศึกษา วิเคราะห์คำศัพท์ในภาษาไทเหนือ” ภาษาไทเหนือมีคำขยายที่ใช้เสียงสระ ต่างกันแสดงความรู้สึกที่ต่างกัน มีคำขยายคำบอกสีและคำบอกรส อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างคำคล้ายในภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาไท เหนือล้วนเป็นคำขยาย คงจะต้องศึกษากันต่อไปว่า คำคล้ายที่เป็นคำชนิด อื่นมีระบบการแปลงเสียงอย่างไรหรือไม่ ศ.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ลัทธิประทับใจ (impressionism) ที่ไม่ประทับใจ ความโดยสรุปว่า ลัทธิประทับใจ (impressionism) ถ้าตีความจากศัพท์บัญญัติ หมายถึง ลัทธิทางศิลปะที่ เกิดจากความประทับใจของศิลปิน ศิลปินที่สร้างงานศิลปะตามของลัทธินี้ ต้องสร้างจากความประทับใจ ซึ่งไม่ตรงกับแนวคิดของลัทธินี้ ชื่อลัทธิ (ism) มาจากชื่องานจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบชื่อ Impression, Sunrise ของโกลด โมเน (Claude Monet: ๑๘๔๐-๑๙๒๖) จิตรกรชาว ฝรั่งเศส ภาพนี้ดูเหมือนภาพที่วาดไม่เสร็จเพราะโมเนวาดอย่างอิสระ ไม่มี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=