2701_2074

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ด้วยอาหารจำพวกแพลงก์ตอน ประมาณ ๑-๒ ปีก็จะได้มุกขนาด ๔-๙ มม. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของหอยมุก มุกมีองค์ประกอบทางเคมีเป็นผลึก Aragonite ถึงร้อยละ ๙๒.๖๔ โปรตีน ร้อยละ ๔.๔๙ น้ำร้อยละ ๐.๕๙ และสารอื่น ๆ เช่น สารอินทรีย์อีกร้อยละ ๒.๒๘ มุกมีสมบัติทางฟิสิกส์ที่สำคัญ คือ มีดัชนีหักเห ๑.๕๓-๑.๖๘ ความ ถ่วงจำเพาะ ๒.๗ ความแข็งตามสเกลของโมส์ ๓.๐-๔.๐ มีลักษณะผิว เหมือนลายนิ้วมือ (เมื่อมองผ่านแว่นขยาย) มีโครงสร้างภายในเป็นผลึก Aragonite บาง ๆ ประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ นาโนเมตร จัดเรียงตัวเป็น ระเบียบซ้อนกันหนา (๐.๒๕-๐.๕ มม.) จึงทำให้มุก มีความวาว (Luster) และมีชีน (Sheen) ซึ่งมีผลทำให้มุกมีความงดงามตามธรรมชาติสมบูรณ์ แบบ และมีเหลือบสีรุ้งภายใน นอกจากนั้นชาวจีนและญี่ปุ่นยังใช้มุกเป็น ยาเสริมสร้างแคลเซียมสำหรับผู้สูงอายุที่มีกระดูกบาง และใช้ผงมุกเป็น เครื่องสำอางที่ช่วยทำให้ผิวเรียบและนุ่มอีกด้วย • วันพุธที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ศ. ดร. นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ภัยแฝงใน สถานพักผ่อนเสริมสุขภาพ (Hidden Dangers in Spa) ความโดยสรุปว่า ปัจจุบัน spa เป็นชื่อใช้เรียกสถานที่พักผ่อนสร้าง/เสริมสุขภาพ (health resort) ซึ่งมีหลายประเภท ได้แก่ ๑. สถานที่เพาะกาย ด้วยอุปกรณ์ (intensive fitness spa) สร้าง ความแข็งแกร่ง ๒. สถานที่สร้างสุขภาพอ่อนวัย (rejuvenation spa) มีอาบ อบ และนวด ร่วมกับใช้สมุนไพร เพื่อลดสภาพความสูงอายุและเสริมเสน่ห์ ๓. สถานที่พักเสริมสุขภาพลดน้ำหนักตัว (weight-loss spa) ใช้การ อบอาบด้วยน้ำแร่ร้อน กำหนดการบริโภคอาหาร การบริหารร่างกาย ช่วยลดความอ้วน สร้างรูปทรง ๔. สถานที่พักเสริมสุขภาพด้านกีฬา (athletic spa) สร้างความ แข็งแกร่งทั้งทางร่างกายและจิตใจ ๕. สถานที่พักผ่อนอาบแช่น้ำแร่จากพุน้ำร้อน หรือใช้โคลนวิเศษ (mineral spring or magic mud spa) เพื่อการบำบัดบรรเทาโรค/ อาการเจ็บป่วยเรื้อรัง เพื่อเพิ่มความผ่อนคลาย ความสบายตัวและจิตใจ ๖. สถานที่บริการด้านการแพทย์โดยตรง (medical spa) ซึ่ง มี ขอบข่ายการบริการระดับต่าง ๆ กัน เช่นการผ่าตัดแปลงเพศ การผ่าตัด เสริมสวย แต่ในประเทศไทยต้องอยู่ในรูปโรงพยาบาลเพราะยังผิด กฎหมาย อันตรายที่แฝงอยู่ในสถานบริการที่ใช้น้ำจากพุน้ำร้อนธรรมชาติ มีดังนี้ อันตรายจากความร้อนของน้ำ (๒๐-๙๕ องศาเซลเซียส) ๑. อุณหภูมิน้ำที่สูงมากถึง ๗๐ องศาเซลเซียสขึ้นไป อาจทำให้ ผิวหนังพองแบบถูกน้ำร้อนลวกได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานระยะ ประสาทส่วนรอบเสีย และรายที่แช่อยู่นาน ๒. อุณหภูมิน้ำสูงเกิน ๔๗ องศาเซลเซียส ผู้สูงอายุที่แช่น้ำนานเกิน ๒๐ นาที มีโอกาสเกิดภาวะหลอดเลือดสมองอุดตัน เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ได้ ๓. ผู้ป่วยโรคหัวใจ อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวฉับพลัน เนื่องจาก หลอดเลือดส่วนรอบขยายตัว ๔. ผู้ป่วยโรคตับเสื่อมเรื้อรังระยะท้าย อาจเกิดภาวะตับล้มเหลว อันตรายจากแร่ธาตุบางอย่าง ๑. ในน้ำแร่ที่มีกำมะถันมาก น้ำอาจมีฤทธิ์กรด (พีเอช ๖) จากกรด กำมะถัน เป็นอันตรายต่อผิวหนังได้ ๒. ความเค็มของน้ำสูงมาก (พุน้ำเค็ม กระบี่) ทำให้ผิวหนังเหี่ยว อันตรายจากแก๊สเรดอนที่ละลายอยู่ในน้ำ ก่อมะเร็ง : เกิดอันตรายต่อ ทางเดินอาหาร อันตรายจากจุลชีพก่อโรค การศึกษาแหล่งน้ำธรรมชาติและพุน้ำร้อนในประเทศไทย พบจุลชีพ เซลล์เดียว Naegleria fowleri และ Acanthamoeba castelinii ที่ก่อโรค สมองรุนแรง และ L egionella pneumophila ที่ก่อโรคทางหายใจ มาตรการป้องกันอันตราย ๑. ศึกษาสำรวจปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อุณหภูมิ ภาวะกรดด่าง ชนิดและ ปริมาณแร่ธาตุ เชื้อก่อโรค ๒. ศึกษาอุปกรณ์ของสถานประกอบการ ๓. กำจัดปัจจัยเสี่ยง ๔. ควบคุมสถานประกอบการ • วันพุธที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ศ. ดร.มงคล เดชนครินทร์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง อินเวอร์ เตอร์พุช-พูลแบบขับนำตัวเองเพื่อการจุดหลอดวาวแสงด้วยแบตเตอรี่ ความโดยสรุปว่า วงจรอินเวอร์เตอร์แบบที่ขับนำด้วยแรงดันไฟฟ้าป้อน กลับภายในตัววงจรเอง และใช้ทรานซิสเตอร์แบบมอสเฟต ๒ ตัวผลัดกัน ทำงานแบบพุช-พูลในวงจรกำลัง เพื่อจุดหลอดวาวแสงขนาด ๑๘ วัตต์ ด้วยแบตเตอรี่ ความถี่ของแรงดันไฟฟ้าป้อนกลับที่ใช้ขับนำมอสเฟสทั้ง สองนี้ถูกกำหนดด้วยวงจรป้อนกลับซึ่งประกอบด้วยตัวเก็บประจุไฟฟ้าต่อ อนุกรมกับตัวต้านทานไฟฟ้า วงจรอินเวอร์เตอร์ที่นำเสนอมีจำนวนส่วน ประกอบน้อยกว่าวงจรอินเวอร์เตอร์แบบขับนำด้วยออสซิลเลเตอร์ที่เคย นำเสนอไว้ก่อนหน้านี้ และมีสมรรถนะใกล้เคียงกับวงจรดังกล่าว กล่าวคือ วงจรอินเวอร์เตอร์นี้มีประสิทธิภาพทางไฟฟ้าอยู่ในช่วงร้อยละ ๘๒-๙๔ ซึ่ง เมื่อเฉลี่ยแล้วได้ร้อยละ ๘๘ ใกล้เคียงกับประสิทธิภาพเฉลี่ยของวงจรอิน เวอร์เตอร์ที่เคยนำเสนอ ซึ่งมีค่าประมาณร้อยละ ๘๙ ตลอดช่วงค่ากำลัง ไฟฟ้าที่ป้อนให้แก่หลอดวาวแสงช่วงเดียวกัน คือ ๑๐-๑๘ วัตต์ ศ. ดร.อมเรศ ภูมิรัตน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง Strategy for biotechnology development in Thailand for the next decade (2012-2021) ความโดยสรุปว่า The policy framework for biotechnology development for Thailand during the next ten years from 2012 to 2021 has been formulated by National Science Technology and Innovation Policy Office (STI) and Center for Biotechnology (BIOTEC), National Science and Technology Development Agency (NSTDA). The two leading agencies appointed two high ranking committees to oversea the drafting for the policy. The process for formulating the policy took almost the entire year during 2010 and 2011 to complete and involved many meetings, workshops and seminars to make sure that all the opinions from all stakeholders were heard, analyzed and formulated in to the policy. The current policy framework reviewed to current status for world-Wide as well as Thailand developments on biotechnology, analyzed the strengths, weaknesses, opportunities and threats for Thailand, and derived at the targeted areas for biotechnology development. The

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=