2701_2074

3 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๕ เดือนตุลาคม ๒๕๕๔ สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ รศ.อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ข้อคิดใหม่ เรื่อง “พระสิงห์” เมืองเชียงใหม่ ความโดยสรุปว่า ก่อนที่พระพุทธศาสนา จะเผยแผ่เข้ามาถึงเชียงใหม่ และแรกมีพระพุทธรูปนั้น ผู้คนที่อาศัยอยู่ใน บริเวณที่ราบลุ่มน้ำโขงและแม่น้ำปิงสมัยโบราณนับถือสิ่งเหนือธรรมชาติ หรือผี (Animism) มาก่อน เมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาจึงบูรณา การพระพุทธศาสนาให้เข้ากับความเชื่อดั้งเดิมของท้องถิ่น แต่มีข้อสังเกต เกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระยะแรกบริเวณลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน ว่า แทนที่พระพุทธศาสนาจะเป็นฝ่ายบูรณาการความเชื่อดั้งเดิมของคน ท้องถิ่นให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนาอย่างที่เราเชื่อกัน กลับ พบว่า พระสงฆ์นำพระพุทธศาสนาและพระพุทธเจ้าบูรณาการให้เป็นส่วน หนึ่งของความเชื่อดั้งเดิมของคนท้องถิ่นเป็นเพียงยอมรับในอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า การบูรณาการพระพุทธสิหิงค์กับความเชื่อดั้งเดิมของคนในท้องถิ่น ปรากฏร่องรอยของการผสมผสานกลมกลืนอยู่ เช่น ที่มาของชื่อ “พระ สิงห์” “พระสิงห์” หรือ “พุทธสิหิงค์” มีท่านผู้รู้ได้ศึกษาถึงที่มาและความ หมายของพระพุทธสิหิงค์ไว้หลายท่าน เช่น ศ.พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ พระ โพธิรังสีนักปราชญ์ชาวล้านนาซึ่งได้รจนา “สิหิงคนิทาน” หรือนิทานพระ พุทธสิหิงค์ขึ้นจากคำบอกเล่า และพระรัตนปัญญาได้รจนาคัมภีร์ “ชินกาล มาลีปกรณ์” เมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๐ คัมภีร์ดังกล่าวมีเรื่องพระพุทธสิหิงค์อยู่ด้วย ศ.พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ เห็นว่าชื่อเดิมของ “สิหิงค์” น่าจะมาจากภาษา มอญโบราณคือคำว่า “สฮิง-สเฮย” แปลว่า “อันเป็นที่น่าภิรมย์” ต่อมาคง เรียกให้สั้นลงเหลือเพียง “พระสฮิง” นานเข้ากลายเป็น “พระสหิง” ความหมายที่แท้จริงจึงพระโพธิรังสีอธิบายตามทัศนะของท่านว่า “เหมือน ราชสีห์” พบว่ายังมีคำไทโบราณอยู่คำหนึ่งซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายใน เขตเมืองกลุ่มไทรวมทั้งล้านนาคือคำว่า “สิง” ทำให้คิดว่าเป็นไปได้หรือไม่ ที่คำว่า “พระสิง” หรือ “พระพุทธสิหิงค์” อาจจะมาจากคำว่า “สิง” ซึ่งใน คำไทมี ๒ ความหมาย ความหมายแรกคือ ครอง, เข้าอยู่, สถิตอยู่ เช่น งู สิง, ผีสิง ความหมายที่ ๒ แปลว่า “โคตรตระกูล” และ “ผีโคตรตระกูล หรือ ด้ำ” นอกจากนี้ยังมีนักปราชญ์ทางศิลปะและโบราณคดีได้ศึกษาวิจัย และเผยแพร่พุทธลักษณะทางศิลปะของพระพุทธสิหิงค์จำนวนมากและ ตลอดมานับร้อยปีมาแล้ว เช่น ศ. ดร.ประเสริฐ ณ นคร ว่าเป็นลักษณะ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นเริ่มแรก (พ.ศ. ๑๔๐๐-๑๖๐๐) ในปัจจุบัน “พระสิง” ประดิษฐานที่วัดพระสิงห์หรือวัดลีเชียงพระ ซึ่ง หมายถึงวัดที่ใกล้ตลาด (ลี) มีป่า (เชียง)ที่เป็นที่สถิตของผีตระกูลหรือ “ด้ำ” ของพญาผายูคือผีพญาคำฟู เมื่อพญาผายูสร้างกู่หรือเจดีย์บรรจุ พระอัฐิพญาคำฟูไว้ที่วัดลีเชียงพระ “ผีพญาคำฟู” จึงเป็น “ผีสิงเมือง” หรือ “อารักษ์” เมืองเชียงใหม่ ต่อมาพญาผายูทรงสร้างพระพุทธรูปเพื่อ อุทิศแด่พระวิญญาณพญาคำฟู พระพุทธรูปองค์นั้นชาวเมืองอาจจะเรียก ว่า “พระสิง” มาจากคำว่า “สิง” หรือ โครตตระกูล ซึ่งพญาผายูได้ “แบ่ง ผีสิง/ผีโคตรตระกูล” มาจากเชียงแสน ต่อมาพระพุทธศาสนาเจริญ รุ่งเรืองมั่นคงในเชียงใหม่ แต่กษัตริย์และชาวเชียงใหม่ยังคงนับถือภูตผี ปีศาจและเซ่นไหว้ผี พระโพธิรังสีรจนา “สิหิงคนิทาน” เรื่องราวของ พระพุทธรูป “พระสิง” ซึ่งเป็นทั้งพระพุทธรูปและผีสิงเมือง พระโพธิรังสี ได้แปลงเรื่องราวของผีเมืองให้เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะเหมือน สิงห์ และให้ชื่อใหม่ตามภาษาบาลีว่า “พระพุทธสิหิงค์” นิทานเรื่องนี้ทำให้ “พระสิง” กลายเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง แต่ชาวเมือง เชียงใหม่ในสมัยนั้น อาจจะไม่ได้อ่าน สิหิงคนิทานเรื่องนี้เลย ในสมัยนั้นแม้เวลาจะผ่านไปถึง ๒๓๐ ปี ชาวเชียงใหม่ยังเคารพ นับถือว่า “พระสิง” เป็นอารักษ์เมืองเชียงใหม่ตามคติดั้งเดิมอยู่ ความเชื่อ นี้สืบต่อมาอีกนานเท่าใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่า “ครูบาศรีวิชัย” ได้ขุดรื้อ กู่พญาคำฟูในวัดพระสิงห์คราวบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ พบผอบ ๓ ใบ ซ้อนกัน ทำด้วยทองคำ เงิน และทองแดง ภายในผอบบรรจุอัฐิซึ่งอาจจะ เป็นพระอัฐิของพญาคำฟู ครูบาศรีวิชัยได้นำสิ่งของที่ขุดได้จากกู่พญาคำฟู รวมทั้งผอบทั้ง ๓ ใบ ไปมอบให้ทางราชการ เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลงสิ่งของที่เก็บรักษาไว้ที่ศาลากลางจังหวัดสูญหายไปทั้งหมด ประกอบกับในปัจจุบันนั้นการศึกษาสมัยใหม่จากส่วนกลางเข้ามาถึงเมือง เชียงใหม่ เรื่องราวของ “พระสิง” ตามความเชื่อดั้งเดิมของรวมทั้งเรื่อง ราวของล้านนาต่าง ๆ ในอดีตคงจะค่อย ๆ จางหายไปจากความทรงจำ ของชาวเชียงใหม่ สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศ.กิตติคุณศักดา ศิริพันธุ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง อัญมณีจาก ทะเล ความโดยสรุปว่า ในบรรดาอัญมณีจากทะเลหลายชนิด เช่น มุก ปะการัง อำพัน มุกเป็นอัญมณีที่ได้รับความนิยมสูงสุด หลายพันปีก่อน หน้าที่จะมีการบันทึกในประวัติศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร มนุษย์ในยุค แรก ๆ อาจพบมุกเป็นครั้งแรกในระหว่างการเสาะหาอาหารตามชายฝั่ง ทะเล คนโบราณยกให้มุกมีความมหัศจรรย์เหนืออัญมณีชนิดอื่น ๆ เพราะ เป็นอัญมณีเพียงชนิดเดียวที่มีความงดงามตามธรรมชาติสมบูรณ์แบบใน ตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องเจียระไน ตัดเหลี่ยม หรือขัดเงา อีกทั้งยังมีแสง อันอบอุ่นและวูบวาบ (Shimmering) นวลคล้ายแสงจันทร์ มุกบางเม็ด อาจมีเหลือบสีรุ้ง (Irridescence) เนื่องจากการแทรกสอดของแสงที่ สะท้อนออกมาจากโครงสร้างภายในมุก การเกิดมุกโดยธรรมชาติ เกิดจากการที่มีสิ่งแปลกปลอม เช่น อนุภาคอินทรีย์หรือปรสิตหลุดเล็ดลอดเข้าไปอยู่ระหว่างเปลือกหอยมุก (Oysterpearl) และชั้นเนื้อเยื่อ (Mantle) เนื้อเยื่อก็จะสร้างชั้นเนื้อเยื่อห่อ หุ้มสิ่งแปลกปลอมซึ่งกลายเป็นแกนกลางนั้นทำให้เกิดถุงมุก (Pearl Sac) ถุงมุกจะสร้างชั้นมุก (Nacre) ห่อหุ้มแกนกลางเป็นชั้น ๆ หนาขึ้นเรื่อย ๆ นานนับปีก็จะกลายเป็น “มุก” มุกธรรมชาติพบมากในแถบอ่าวเปอร์เซีย ใน ค.ศ. ๑๘๙๓ นายโคะคิจิ มิกิโมโต ชาวญี่ปุ่น สามารถผลิตมุก เลี้ยง (Cultured Pearl) ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยนำแกนกลางหรือนิวเคลียส (ซึ่งเป็นเปลือกหอยที่หนามาทำให้เป็นเมล็ดกลม ๆ) ใส่เข้าไปในอวัยวะ สืบพันธุ์ (Gonad) ของหอยมุก (Akoya Pearl) พร้อมกับเนื้อเยื่อหอยมุก (Mantle) ขนาด ๒ x ๒ มม. แล้วนำหอยไปพักฟื้นและเลี้ยงในน้ำทะเลที่ ระดับความลึก ๓-๖ เมตร มีอุณหภูมิและความเค็มที่เหมาะสม อีกทั้งอุดม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=