2700_2984

7 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๔ เดือนกันยายน ๒๕๕๔ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ชักชวนให้ปฏิวัติ เบรินยี่บอกว่าสะพานหกที่กรมทหารถูกระเบิดจนกระจุย เป็นผงปิดทางเข้าออกทำให้ทหารถูกขังอยู่ข้างใน ปัญหาของฝรั่งเศสคือ กำลังคนน้อย ความไม่พร้อมทั้งกำลังคน อาวุธ และยานพาหนะ นอกจากนี้ เหล่าทหารพื้นเมืองไม่เข้าใจภาษาฝรั่งเศส ส่วนเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสส่วนใหญ่ก็ พูดภาษาแท๎มร์ไม่ได้ มาดัมเบรินยี่ช่วยออกคำสั่งเป็นภาษาแท๎มร์ให้ แต่ครู่ เดียวก็ถูกยิงที่ต้นคอล้มลง เรเยียลขอร้องให้เบรินยี่พาพวกฝรั่งเศสออกไป จากวังเพื่อความปลอดภัย เบรินยี่จำใจต้องทำตาม ฉากขององก์ที่ ๕ อยู่ใน วังใหม่ของผู้สำเร็จราชการ เป็นเวลารุ่งสว่าง เหตุการณ์อยู่ในภาวะฉุกเฉิน ผู้ประท้วงนำท่อนซุงมากระทุ้งประตูวังเพื่อให้พัง โดยมีนั่มตริวเป็นผู้บงการ เดอ ดัมบรังเล่าว่าพวกก่อการตัดหัวพระจักรพรรดิองค์น้อยเสียบไว้ที่ปลาย หอก และปักไว้ข้างทาง นั่มตริวเดินเข้ามา มือถือดาบและเสื้อเปื้อนเลือด ทหารกรูเข้าไปจับกุม นั่มตริวพูดว่า การกระทำของเขามิใช่ว่าจะไร้ประโยชน์ แต่จะเป็นตัวอย่างสำหรับลูกหลานสืบไป (นั่มตริวแทงเข็มเข้าไปยังหัวใจ ตนเองและล้มลงสิ้นใจ) เรเยียลสั่งให้โทรเลขแจ้งข่าวไปยังปารีสว่า คนพื้น เมืองก่อการจลาจลขึ้น แต่ถูกปราบปรามแล้ว เรเยียลเสนอว่าควรให้ชาวพื้น เมืองเลือกตั้งสภาที่ปรึกษาของเขาเอง และให้เปลี่ยนฐานะประเทศนี้เป็น เมืองขึ้นของฝรั่งเศส การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกแปลบทละคร ภาษาฝรั่งเศสเรื่อง Les Sauterelles ออกเป็นภาษาอังกฤษ แสดงให้เห็นว่า ทรงมีวิสัยทัศน์มองเห็นภัยของลัทธิล่าอาณานิคม ในบทละครพระราชนิพนธ์ เรื่อง หัวใจนักรบ ตัวละครได้เอ่ยถึงเมืองซ่องฮอยว่าเตรียมทหารจะมา รุกรานหัสดินบุรี ซึ่งต่อมาในเรื่องฝูงตั๊กแตน จึงมีข้อมูลว่าซ่องฮอยก็คือเมือง หลวงของอาณาจักรมังกรทอง เป็นภาพสะท้อนการรุกรานและการกดขี่ของ ประเทศล่าอาณานิคม ชาติเล็ก ๆ พึงสังวรถึงภัยดังกล่าวและเตรียมตัวให้ พร้อม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบล่วงหน้ากว่า ๖๐ ปีว่า ภยันตรายจะมาจากทิศทางใด ทรงเน้นถึงความรักชาติ และให้คนไทยมี หัวใจนักรบ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ผู้แปลบทพระราชนิพนธ์จากภาษา อังกฤษเป็นภาษาไทยกล่าวในตอนท้ายของคำนำถึงคุณค่าของบทละครเรื่อง The Locusts ว่า “...เรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ เช่นเรื่อง The Locusts นี้ เสมือนว่าเป็นพระราชมรดกที่พระราชทานแก่ประชาชน คนไทย...” ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “ ลัทธิ ประทับใจ (impressionism) ที่ไม่ประทับใจ” ความโดยสรุปว่า ลัทธิประทับ ใจ (impressionism) ถ้าตีความจากศัพท์บัญญัติ หมายถึง ลัทธิทางศิลปะที่ เกิดจากความประทับใจของศิลปิน ศิลปินที่สร้างงานศิลปะตามลัทธินี้ต้อง สร้างจากความประทับใจ ซึ่งไม่ตรงกับแนวคิดของลัทธินี้ ชื่อลัทธิมาจากชื่อ งานจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบชื่อ Impression, Sunrise ของ โกลด มอเน (Claude Monet: 1840-1926) จิตรกรชาวฝรั่งเศส ภาพนี้ดูเหมือนภาพที่ วาดไม่เสร็จเพราะโมเนวาดอย่างอิสระ ไม่มีรายละเอียด ไม่ใช้การร่างภาพ ด้วยเส้น ซึ่งเป็นการทำลายแบบแผนการวาดภาพทิวทัศน์ตามประเพณีที่ ยึดถือกันมาแต่โบราณ จึงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านจากกลุ่ม อนุรักษ์นิยมอย่างรุนแรง แต่ต่อมานักวิจารณ์ศิลปะกลับยกย่องว่าเป็นผล งานจิตรกรรมดีเยี่ยมภาพหนึ่งโมเนจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งอิม- เพรสชันนิสม์ สเตฟาน มาลลาร์เม (Stephane Mallarme: 1842-1898) กวีและนัก วิจารณ์ชาวฝรั่งเศส นำคำ impression จากชื่อภาพของโกลด มอเน ไปใช้ เป็นหัวเรื่องในบทวิจารณ์ผลงานของโมเนในนิทรรศการครั้งที่ ๒ ทำให้เป็นที่ รู้จักมากขึ้น ภายหลังนักวิจารณ์และนักประวัติศาสตร์ศิลป์เรียกผลงานที่ สร้างขึ้นตามแนวคิดของศิลปินกลุ่มนี้ว่า Impressionism ศิลปะ ลัทธิอิม เ พรสชัน เ กิดขึ้นพร้อมกับ คว ามก้า วหน้าทา ง วิทยาศาสตร์ ที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชนคือ ช่วยให้คิด อย่างมีเหตุผลมากขึ้น ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลถึงแนวคิดการ สร้างงานศิลปะของศิลปินบางกลุ่มด้วย เช่น พัฒนาวงจรสีในวงกลมที่ ประกอบด้วยสีแท้ทั้ง ๗ สี นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ยังช่วยอธิบายได้ว่า สี สามารถสร้างสีใหม่ได้ โดยการนำ แม่สี หรือ สีปฐมภูมิ มาผสมกัน ๒ สีในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะเกิด เป็นสีผสมหรือ สีทุติยภูมิ หรือสีขั้นที่สอง หรือถ้าต้องการสีขุ่น ทึบ ก็ใช้แม่สี มากกว่า ๒ สีผสมกันเป็น สีตติยภูมิ วงจรสีหรือวงล้อสี สร้างขึ้นเพื่อแยก แม่สีและแสดงการผสมกันของสีทุติยภูมิ และยังอธิบายเกี่ยวกับสีไว้อีกว่า เมื่อผิววัตถุถูกแสงตกกระทบจะสะท้อนคลื่นแสงตามธรรมชาติของพื้นผิว วัตถุให้เห็น เรียกว่า สี ทั้งแม่สีและสีที่เกิดจากการผสมกันตามวงจรสี แบ่ง ออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มสีร้อน หรือวรรณะสีร้อน หรือวรรณะสีอุ่น และ กลุ่มสีเย็น หรือวรรณะสีเย็น มิเชล เออเจน เชอฟเริล (Michel Eugene Chevreul: 1786-1889) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสพบว่า เมื่อเอาวัตถุที่มีสีต่างกันมาวางไว้ใกล้ ๆ กันจะ เห็นว่าสีแต่ละสีของวัตถุจะเปลี่ยนไปจากเดิม เพราะสี ๆ หนึ่ง จะเปลี่ยนไป ตามสีที่อยู่ใกล้เคียง แต่ถ้าเอาวัตถุสีเดียวกันมาวางไว้ใกล้กันสีจะจางและ กลมกลืนกัน จิตรกรจึงนำความรู้เกี่ยวกับสีที่ค้นพบใหม่ ๆ นี้มาประยุกต์ใช้ กับการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมอีกหลายอย่าง โกลด มอเน แสวงหาแนวทางการวาดภาพทิวทัศน์ใหม่ ๆ หลายภาพ แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เขาวาดไม่ใช่เพื่อบันทึกความประทับใจจากทิวทัศน์ที่ งดงาม แต่เป็นการศึกษาทดลองเรื่องแสงและสี เช่น ภาพชุดลอมฟาง ได้แก่ จิตรกรรมสีน้ำมันชื่อ Haystack at Sunset, Frosty Weather และ จิตรกรรมสีน้ำมันชื่อ Haystack in Morning, Snow Effect ทั้ง ๒ ภาพ เขียนในช่วงเวลาที่ต่างกันเพื่อศึกษาเรื่อง แสง สี เวลา และบรรยากาศมอเน วาดภาพทั้งสองเพื่อศึกษาแสงที่เปลี่ยนแปลงไปตามมุมของดวงอาทิตย์ว่า มี ผลกระทบต่อสีของวัตถุในแต่ละช่วงเวลาอย่างไร จากภาพจิตรกรรมของมอเนที่นำมาเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นแนวคิด ของศิลปินกลุ่มอิมเพรสชันมักวาดภาพเพื่อศึกษาเกี่ยวกับแสงและสีตาม ทฤษฎีใหม่ ๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มากกว่าความ ประทับใจ ดังนั้น การบัญญัติศัพท์ impressionism ว่า ลัทธิประทับใจ จึงไม่ สอดคล้องกับแนวคิดของศิลปินลัทธิดังกล่าว

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=