2700_2984

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ได้ทรงแปลเป็นภาษา อังกฤษจนจบในพระบรมนามาภิไธยย่อ V.R. ทรงตั้งชื่อเรื่องว่า The Locusts หลังจากนั้นได้ทรงแปลจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาไทยใช้ชื่อเรื่อง ว่า ตั๊กแตน แต่ทรงแปลไว้ได้เพียง ๑๖ หน้าเศษจากทั้งหมด ๑๘๕ หน้า หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระบรมราชา- นุญาตแปล The Locusts ออกเป็นภาษาไทย โดยให้ชื่อใหม่ว่า ฝูงตั๊กแตน และแปลจบเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๙ พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ ในการฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ ๘ รอบ เนื้อเรื่อง ฝูงตั๊กแตน หรือ Les Sauterlles ซึ่งผู้เขียนระบุว่าเกิดขึ้นประมาณ ค.ศ. ๑๙๐๗ (พ.ศ. ๒๔๕๐) มีเนื้อหาสำคัญเพื่อต่อต้านการเป็นเจ้าอาณานิคมของฝรั่งเศส เมื่อ ย้อนหลังกลับไปราว ๓๐ ปีคือตั้งแต่ทศวรรษ ๑๘๘๐ มีชาวฝรั่งเศสหลาย กลุ่มสนับสนุนให้รัฐบาลขยายบทบาทออกไปในโลก ทำให้เกิดความต้องการ ขยายอาณานิคม ใน ค.ศ. ๑๘๘๗ (พ.ศ. ๒๔๓๐) ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองโค- ชินไชน่า ( Cochin-China ) กัมพูชา และตังเกี๋ย ( Tonkin ) และผนวกลาว เพิ่มอีก ฝรั่งเศสได้มาดากัสการ์ ( Madagascar ) เป็นรัฐในอารักขา ส่งทหาร เข้ายึดครองทางเหนือของแอฟริกาตะวันตก และยึดจิบูติ ( Djibouti ) ไว้ด้วย แต่คงปักหลักอยู่เพียงบริเวณริมฝั่งทะเลเท่านั้น ในการขยายดินแดนอาณานิคมนั้น ไม่สามารถปฎิเสธได้ว่ารัฐบาลกลาง ที่กรุงปารีสมิได้ให้ความเห็นชอบด้วย ฌอร์ฌ ดูว์บี (Georges Duby: 479) นักประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลกลางไม่เห็นด้วยกับการขยายดินแดน อาณานิคมก็สามารถห้ามปรามได้ทันที แต่รัฐบาลกลางมักจะปกปิดการ รุกรานเสียเอง ในช่วงที่ฌูล แฟรี (Jules Ferry: มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๓๒-๑๘๙๓) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศฝรั่งเศสนั้น การ เข้ายึดครองตังเกี๋ย อันนัม และตูนีเซีย เป็นส่วนหนึ่งของการขยายดินแดน อาณานิคม แฟรีเริ่มดำเนินนโยบายนี้ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๘๘๑ (พ.ศ. ๒๔๒๔) เขา ใช้ความรอบคอบเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินงาน กล่าวคือเมื่อโอกาสเอื้อ อำนวย เขาก็จะขยายดินแดนในทันที แต่เขาจะสั่งให้ถอยเมื่อเผชิญกับการ ต่อต้าน เมื่อแฟรีพ้นอำนาจ เขาอธิบายว่าการขยายดินแดนอาณานิคมเป็น สิ่งจำเป็นสำหรับประเทศมหาอำนาจเช่นฝรั่งเศส ในแง่การทหาร ประเทศ มหาอำนาจจำเป็นต้องมีฐานทัพสนับสนุนในจุดต่าง ๆ และมีฐานทัพเรือ กระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ในแง่เศรษฐกิจประเทศใหญ่มีความต้องการ แหล่งทรัพยากรและตลาดกระจายสินค้า นอกจากนี้ฝรั่งเศสจำเป็นต้อง รักษาชื่อเสียงและเผยแพร่ “ภาษา วิถีชีวิต ธงชาติ อาวุธ และอัจฉริยะของ ประเทศตน” บทละครเรื่อง ฝูงตั๊กแตน มีความยาว ๕ องก์ ดังเรื่องย่อต่อ ไปนี้ (การทับศัพท์เขียนตามผู้แปลบทละคร) เรื่องราวเกิดขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๐ (ค.ศ. ๑๙๐๗) ณ มณฑลซ่องฮอย (Shong Hoi) เมืองหลวงของ อาณาจักรมังกรทอง ในองก์ที่ ๑ เป็นจวนของ อองรี เลอเบร (Henri Lebray) เมื่อเปิดม่าน มาดัมเลอเบรกำลังเลี้ยงน้ำชาแขกชาวฝรั่งเศส ๖ คน มาดัมเลอเบรกับมาดัมลัมบูร์ด (Lambourde) ภรรยาข้าหลวงศุลกากรของ แคว้นนูเวลฟรังซ์ (Nouvelle France) แสดงความคิดเห็นว่าฝรั่งเศสน่าจะ ยึดอาณาจักรมังกรทองเป็นเมืองขึ้นเสียตั้งแต่เมื่อ ๓๕ ปีก่อน ไม่น่าปล่อยให้ เป็นดินแดนในอารักขา มีพระ จักรพรรดิ์เป็นประมุข มีสภารัฐมนตรีและ ข้าราชการซึ่งเป็นคนพื้นเมืองเป็นผู้จัดการปกครองมองสิเออร์มาริยุส ตร็อง (Marius Tron) ผู้ช่วยข้าหลวงโยธาของรัฐในอารักขาฝรั่งเศส เล่าว่าเขาไป สำรวจภูมิประเทศที่จะสร้างถนน พบว่าภายใน ๓ เดือน ทหารฝรั่งเสียชีวิต ไปถึง ๖๗ คน ด้วยโรคภัยและถูกเสือกิน ตร็องวิพากษ์วิจารณ์ว่าผู้สำเร็จ ราชการฝรั่งเศสมีนโยบายอ่อนแอ ทำให้มีโจรผู้ร้ายรังควานชาวบ้านและเกิด ผู้ทรงอิทธิพลในทางมิชอบ มาดัมเบรินยี่ (Bé rigny) ภรรยาของเรสิดังต์ สุ เปริเออร์ฌ็อง เบรินยี่ (Jean Bé rigny) แห่งมณฑลแม่น้ำเขียว เล่าว่าได้ไป อยู่ที่เต็งฟังเผ่า (Ten Fan Pao) มา ๖ ปีแล้ว คนยากจน แต่ขยันขันแข็ง สุภาพและอยู่กันอย่างสงบ เธอสอนให้เขารู้เรื่องอนามัยและการใช้ยารักษา โรค สอนแม่ให้รู้จักวิธีเลี้ยงเด็กเล็ก ๆ และยังเคยทำหน้าที่หมอตำแยด้วย มองสิเออร์เลอเบรสนทนากับนายธนาคารชื่อสุริซิโย (Suricia-o) และ วางแผนเรื่องการใช้เงินกู้ การเก็บภาษี การจ่ายคืนเงินกู้ และโดยเฉพาะ อย่างยิ่งการหา ผลประโยชน์ทางลับจากเงินกู้ สุริซิโยขอลากลับ ผู้สำเร็จ ราชการคาร์แว็ง (Carvin) เข้ามาแจ้งให้เลอเบรทราบว่าในมณฑลซ่องฮอยมี การเกณฑ์ชาวบ้านมารับใช้คนฝรั่งเศสโดยไม่จ่ายค่าจ้างทหารก็เอาไปเป็นคน รับใช้ในบ้าน และยังมีเจ้าหน้าที่หลายคนไปอยู่กินกับหญิงพื้นเมือง ซึ่งจะ ทำให้เกิดลูกออกมาเป็นปัญหาสังคม เลอเบรกล่าวย้อนว่าคาร์แว็งว่าดำเนิน นโยบายประนีประนอมกับพลเมืองมากไป ฉากองก์ที่ ๒ เป็นห้องกลางใน ทำเนียบของผู้สำเร็จราชการแคว้นนูเวลฟรังซ์ เป็นงานเลี้ยงต้อนรับผู้สำเร็จ ราชการคนใหม่ชื่อ มักซีม เรเยียล (Maxime Ré agial) เขาได้พบกับนายก รัฐมนตรีไท้วันหงวนแห่งอาณาจักรมังกรทอง พร้อมกับแจ้งเรื่องเงินกู้และ นโยบายกลมกลืน (assimilation) เขาได้สั่งให้แปล “สิทธิของประชาชน พลเมือง” จากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแท๎มร์และนำไปติดประกาศไว้ตาม โรงเรียน ให้จารึกคติ “เสรีภาพ สมภาพและภราดรภาพ” ไว้ในสถานที่ สำคัญทุกแห่ง ในด้านกฎหมาย เขาจะพัฒนากฎหมายให้ทัดเทียม อารยประเทศและให้ออกกฎหมายห้ามมีภรรยาหลายคน เพราะเป็น สัญลักษณ์ของความป่าเถื่อน เขาประกาศว่าจะนำเงินกู้มาพัฒนาเศรษฐกิจ ของนูเวลฟรังซ์ เขากล่าวว่า ความทุกข์ร้อนในนูเวลฟรังซ์เกิดขึ้นเพราะทอด ทิ้งการกสิกรรมและไม่มีอุตสาหกรรม ทางแก้คือต้องกู้เงินจากธนาคารโค โลนีมาเพื่อพัฒนาทรัพยากรทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ฉากในองก์ที่ ๓ เป็นห้องกลางในทำเนียบของผู้สำเร็จราชการ เวลาผ่านไปหลังจาก เหตุการณ์ในองก์ที่ ๒ ประมาณ ๑ ปี ประชาชนราว ๒-๓ พันคน กำลัง ชุมนุมประท้วงกันอยู่ข้างนอก เพราะใช้เงินกู้ไปหมดแล้วแต่งานชิ้นสำคัญ ยังค้างอยู่ และฝรั่งเศสกำลังจะออกกฎหมายเก็บภาษีเพิ่มเพื่อหาเงินมาใช้ รองนายกรัฐมนตรีนั่มตริวซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเข้าพบผู้สำเร็จราชการเรเยียล และบอกว่าสภารัฐมนตรีจะไม่ลงนามประกาศกฎหมายเก็บภาษีเพิ่มในนาม ของพระจักรพรรดิ เนื่องด้วยประชาชนยากจนเดือดร้อนอยู่มากแล้ว ที่ผ่าน มา เงินกู้ที่จะนำไปสร้างรถไฟก็มีการวางแผนผิดพลาด เขื่อนก็พังจมน้ำ ที่ ทำสำเร็จก็มีแต่การสร้างวังใหม่ของผู้สำเร็จราชการเท่านั้น “ชาวผิวขาว” ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน หรือเนเธอร์แลนด์ ล้วนแล้วแต่ ได้ประโยชน์จากเมืองขึ้นทั้งนั้น เช่น ใช้เป็นที่ระบายพลเมือง ตั้งฐานทัพเรือ เป็นแหล่งระบายสินค้า ตลอดจนขนทรัพยากรกลับไปเมืองแม่ ท้ายที่สุด นั่มตริวเปรียบความสัมพันธ์ที่เป็นอยู่เหมือน “นายกับทาสบนผืนแผ่นดินที่ เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเราเอง!” นายกรัฐมนตรีไท้วันหงวน (Thai Van Nguyen) พร้อมคณะแจ้งผู้สำเร็จราชการเรเยียลว่าไม่สามารถลงนามใน ร่างพระราชบัญญัติเก็บภาษีอากรเพิ่มได้ เพราะยังมิได้รับพระราชทานพระ ราชานุมัติจากสมเด็จพระจักรพรรดิ เรเยียลพูดกับนายกรัฐมนตรีว่า พระ จักรพรรดิถูกถอดถอนแล้วและจะถูกส่งไปแอลเยเรีย เขาได้ตั้งเจ้าชายหลีธ่า (Prince Li-Tha) ซึ่งมีพระชันษา ๑๐ ปี ขึ้นเป็นจักรพรรดิแทน และจะสั่ง การโดยผ่านเจ้าชายหลีธ่า องก์ที่ ๔ มีฉากเป็นห้องโถงใหญ่ภายในวังใหม่ ของผู้สำเร็จราชการ ขณะนั้นมีงานเลี้ยงอาหารค่ำในงานฉลองขึ้นวังใหม่ที่ โอ่อ่าสวยงาม เดอ ดัมบรัง เลขาธิการของผู้สำเร็จราชการเรเยียล แอบมา พลอดรักกับฮั่วเส็ง (Hoa-Sen) หรือมาดัมนั่มตริว หญิงพื้นเมือง เมื่อนั่มตริว ออกมาพบ เดอ ดัมบรังก็ขอตัวเข้าไปในห้องเต้นรำ นั่มตริวแนะภรรยาให้ กลับบ้านและฆ่าตัวตายเพื่อลงโทษที่ตนเองมีชู้ สักครู่ต่อมามีเสียงระเบิดดัง ขึ้นจากที่ไกล บนเนินเขา เกิดแสงไฟสว่างขึ้น เรเยียลเข้าใจว่า ชาวบ้านจุด ดอกไม้ไฟขึ้นฟ้าเป็นเกียรติแก่เขา มาดัมเบรินยี่เดินเข้ามาจากสวน บอกว่า สามีของเธอพบว่าประกาศที่ติดอยู่ตามกำแพงเป็นภาษาแท๎มร์ มีข้อความ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=