2700_2984
5 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๔ เดือนกันยายน ๒๕๕๔ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภายใต้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นผู้รับผิดชอบวางกฎเกณฑ์ในการทำเกษตร อินทรีย์ และควบคุมมาตรฐานของพืชผลที่ผลิตได้จากเกษตรอินทรีย์ ซึ่ง เรียกว่า มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) นอกจากนี้ยังมีการผลิตพืชโดย ระบบอื่น ๆ ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเกษตรยุคใหม่ เช่น เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน เกษตรยั่งยืน เกษตรไร้สารพิษ เกษตรปลอดภัยจากสารพิษ ผักอนามัย ระบบการเกษตรที่ดี เป็นต้น ซึ่ง แต่ละระบบมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ศาสตราจารย์ ดร. นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “โรคติดเชื้อ อี. โคไล โอ ๑๐๔ เอ็ช ๔” ความโดยสรุปว่า E.coli เป็นชื่อย่อ ของแบคทีเรียทรงแท่ง แกรมลบ ชื่อเต็มว่า Escherichia coli ที่มีมากมาย หลายสายพันธุ์ จำแนกได้โดยอาศัยชนิดสารพอลิแซ็กคาไรด์ไขมันที่ผนัง เซลล์โดยระบุเป็นอักษร O ตามด้วยเลข และชนิดของสารหนวด (ฟรา- เจลลิน) โดยระบุเป็นอักษร H เชื้อ อี.โคไล แต่ละสายพันธุ์มีฤทธิ์ก่อโรคแตกต่างกัน เชื้อส่วนใหญ่เป็น จุลชีพประจำในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์และสัตว์ ไม่ก่อโรคนอกจากหลุดเข้าไป ในอวัยวะอื่น มีบางสายพันธุ์ที่ก่อโรคติดเชื้อในลำไส้ทำให้มีอาการอุจจาระ ร่วง หรืออาการคล้ายโรคบิด แต่ไม่รุนแรงถึงเสียชีวิต สายพันธุ์ที่ก่อโรค รุนแรง ได้แก่ E.coli O 157 H7 ซึ่งก่อโรคระบาดในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นโรคลำไส้อักเสบติดเชื้อรุนแรง ปล่อยสารชีวพิษไป ทำลายเม็ดเลือดแดงเกิดกลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงสลาย-ไตล้มเหลว โลหิต เป็นพิษเสียชีวิต ส่วนโรคติดเชื้ออี.โคไล โอ ๑๐๔ เอ็ช ๔ ที่ระบาดในต่าง ประเทศ เป็นข่าวใหญ่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นมานั้น เป็นโรค ติดเชื้ออุบัติใหม่ เพราะเคยมีรายงานโรคในหญิงชาวเกาหลีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ การบรรยายกล่าวถึงเหตุการณ์โรคติดเชื้อ อี.โคไล โอ ๑๐๔ เอ็ช ๔ อุบัติ ใหม่ครั้งล่าสุด รวมถึงมาตรการป้องกันการติดโรค และวิธีบำบัดรักษาผู้ป่วย • วันพุธที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ นายนิพนธ์ ทรายเพชร ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “การค้นหาดาว เคราะห์แบบโลกในระบบดาวฤกษ์อื่น” ความโดยสรุปว่า ดาวเคราะห์แบบ โลก หมายถึง ดาวเคราะห์ที่มีสภาพเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต อยู่ใน ตำแหน่งที่สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตได้รอบดาวฤกษ์ ในระบบสุริยะดวงอาทิตย์ เป็นฤกษ์ขนาดเล็กที่มีอุณหภูมิผิวเกือบ ๖๐๐๐ เคลวิน สิ่งมีชีวิตอยู่ได้ ณ บริเวณโลกถึงกึ่งกลางระหว่างโลกกับดาวอังคาร ในระบบดาวฤกษ์อื่นที่เป็น ดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ อุณหภูมิพื้นผิวสูงกว่า ๙๐๐๐ เคลวิน ขอบเขตที่สิ่งมี ชีวิตอยู่ได้จะห่างจากดาวฤกษ์ประมาณบริเวณแถบดาวเคราะห์น้อย โดยมี ความกว้างของเขตมีชีวิตมากกว่าเขตมีชีวิตของระบบสุริยะ และในระบบ ดาวฤกษ์ที่เป็นดาวฤกษ์ขนาดแคระ อุณหภูมิพื้นผิวต่ำกว่า ๒๐๐๐ เคลวิน เขตมีชีวิตจะอยู่ภายในระยะของวงโคจรดาวพุธ โดยมีความกว้างของเขตมี ชีวิตน้อยกว่าเขตมีชีวิตของระบบสุริยะ ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์ในระบบดาวฤกษ์อื่นแล้ว ๕๖๕ ดวง ส่วนมากเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่มวลมากดังเช่นดาวพฤหัสบดี โดยยังค้นไม่พบดาวเคราะห์แบบโลก ดังนั้นจึงได้เพิ่มความพยายามที่จะ ค้นหาดาวเคราะห์แบบโลกในระบบดาวฤกษ์อื่น ด้วยอุปกรณ์และเทคโนโลยี ที่ก้าวหน้ามากขึ้น รวมทั้งการส่งยานสำรวจขึ้นไปโคจรรอบโลก ดาวเคราะห์แบบโลกต้องมีอุณหภูมิพอเหมาะเพื่อให้น้ำอยู่ได้ทั้ง ๓ สถานะ ภาวะเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อดาวเคราะห์อยู่ในอาณาเขตของการมี ชีวิต มีมวลพอเหมาะ ไม่น้อยกว่ามวลของโลกมากเกินไป มีบรรยากาศและ มีสนามแม่เหล็กเพื่อป้องกันภยันตรายจากอวกาศ เกิดมาเป็นเวลานาน ๔๖๐๐ ล้านปี ศาสตราจารย์ ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ราชบัณฑิต และ ศาสตราจารย์ นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “กรณีอุบัติ เหตุเรือน้ำตาลอับปางในแม่น้ำเจ้าพระยา” ความโดยสรุปว่า เหตุการณ์เรือ บรรทุกน้ำตาลทรายแดงล่มในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตำบลภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดขึ้นขณะที่เรือลำเลียงน้ำตาลทรายแดง ๓ ลำ โดยเรือลากจูง ได้เข้าชนตอม่อสะพาน ส่งผลให้เรือพ่วงลำที่ ๒ อับปาง และก่อนที่จะจมลงได้พุ่งเข้าชนตลิ่งทำให้ตลิ่งพังบ้านเรือนเสียหาย และเกิด ผลกระทบต่อเนื่องจากเรือคือ เรือบรรทุกน้ำตาลลำที่อับปางได้ขวางทางน้ำ ทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทิศทาง ไหลเข้าเซาะตลิ่งทำให้พังทลายเป็นบริเวณ กว้าง น้ำตาลทรายแดงที่เรือบรรทุกมาได้ละลายในแม่น้ำ ทำให้ปริมาณ ออกซิเจนละลายในแม่น้ำลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้สัตว์น้ำโดยเฉพาะ ปลา ตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขาดออกซิเจน ศาสตราจารย์ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “การใช้โครงสร้างเหล็กเพื่อลดปัญหาโลกร้อน” ความโดยสรุปว่า ในหลายปี ที่ผ่านมานี้ มีการรณรงค์ให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องภาวะภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลง (Climate Change) และภาวะโลกร้อน (Global Warming) แม้ว่าจะยังมีประเด็นถกเถียงกันว่า มูลเหตุของภาวะเหล่านี้จะเกิดจาก กิจกรรมของมนุษย์มากหรือน้อยเมื่อเทียบกับขบวนการเปลี่ยนแปลงตาม ธรรมชาติก็ตาม แต่ข้อเท็จจริง คือ ในศตวรรษที่ผ่านมา มนุษย์ได้ก่อให้เกิด การเผาไหม้เชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ สิ่งเหล่านี้ ได้มีส่วนเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างปฏิเสธไม่ได้ ในปัจจุบันนี้ ทุกวิชาชีพต่างได้เห็นถึงความสำคัญในการตรวจสอบว่า สำหรับกิจกรรมหรือผลผลิตในวิชาชีพของตนเอง ตนจะสามารถดำเนินการ อย่างไรบ้างที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยที่สุด ในวิชาชีพ วิศวกรรมโยธาโครงสร้างนั้น วิศวกรอังกฤษได้ศึกษาพบข้อมูลที่น่าตกใจว่า วัฏจักรชีวิตของสิ่งปลูกสร้างในประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ขบวนการผลิตวัสดุ การก่อสร้าง การใช้งาน จนถึงการรื้อถอนทำลาย ได้มีส่วนปล่อยก๊าซเรือน กระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ประมาณครึ่งหนึ่งของกิจกรรมทั้งหมดภายในประเทศ นอกจากนี้ยังมีส่วนใช้น้ำประมาณครึ่งหนึ่งและเป็นขยะของเหลือทิ้งราวหนึ่ง ในสาม รวมทั้งการบริโภคทรัพยากรวัตถุดิบราวหนึ่งในสี่ของปริมาณที่ใช้ใน ประเทศทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายของนักวิชาชีพวิศวกรรมโยธา โครงสร้างที่จะเลือกใช้วัสดุสำหรับสิ่งปลูกสร้าง ที่คงมีความเป็นมิตรต่อสิ่ง แวดล้อม และมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า ในวงการก่อสร้าง การเลือกวัสดุก่อสร้างจะมีผลต่อการสร้างภาระทาง ขยะต่อสิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากน้อยต่างกัน พอสมควร ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่วิศวกรจะต้องมีความรู้โดยภาพรวมใน เรื่องนี้ บทความนี้จึงได้แสดงข้อเปรียบเทียบประเด็นการปล่อยก๊าซเรือน กระจก ระหว่างโครงสร้างเหล็ก กับ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล) โดยพิจารณาจากผลเทียบเท่าของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตลอดวัฏจักรอายุของโครงสร้างทั้งสองประเภท อีกทั้งจะพิจารณาปัจจัยผล กระทบที่สำคัญสามประการ ได้แก่ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลกระทบทาง สังคม และผลกระทบทางเศรษฐกิจ สำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ รองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา ดำรงค์เลิศ ภาคีสมาชิก บรรยาย เรื่อง บทละครเรื่อง “ฝูงตั๊กแตน” ความโดยสรุปว่า ฝูงตั๊กแตน เป็นบท ละครแปลมาจากบทละครภาษาฝรั่งเศสชื่อเรื่อง Les Sauterelles ของนัก เขียนชาวฝรั่งชื่อเอมีล ฟาบร์ ( Émile Fabre ) ซึ่งเปิดแสดงครั้งแรกที่กรุง ปารีสเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ (ค.ศ. ๑๙๑๑) ที่โรงละครโวดวีล ( Théâtre de Vaudeville ) มีผู้ส่งบทละครภาษาฝรั่งเศสมาทูลเกล้าฯ ถวาย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=