2700_2984
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน เศรษฐกิจการเมืองในประเทศต่าง ๆ” ความโดยสรุปว่า ตั้งแต่ต้น ค.ศ. ๒๐๑๑ เป็นต้นมา ได้ปรากฏข่าวการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและ การเมืองที่รุนแรงในหลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวการปฏิวัติดอก มะลิ (Jusmine Revolution) ที่ได้เกิดขึ้นในประเทศอาหรับบนทวีปแอฟริกา ตอนเหนือ และกำลังขยายตัวไปในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งในประเทศไทย เพื่อต้องการให้มีการปฏิรูปการเมืองหรือเปลี่ยนแปลงรัฐบาล จากการศึกษา วิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงสังคมเศรษฐกิจโลกพบว่า ความเจริญ ก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เศรษฐกิจโลกมีความเจริญ เติบโตและเปลี่ยนแปลงเพิ่มเร็วมาก โดยภาพรวมได้ช่วยให้มนุษย์มีความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการ จัดสรรและกระทบผลประโยชน์ที่เกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ มากขึ้นซึ่งเป็นปัญหาสังคมเศรษฐกิจและการเมืองที่แต่ละประเทศต้องเผชิญ และหาทางแก้ไขปัญหา ตลอดจนสร้างความเป็นธรรมเพื่อให้เกิดความมั่นคง และความสงบสุขในแต่ละประเทศเป็นสำคัญ การแก้ปัญหาขึ้นอยู่กับว่า ประเทศใดจะเป็นฝ่ายได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากความเจริญก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันแต่ละประเทศก็เกิดปัญหา ความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้ เนื่องจากประชาชนแต่ละกลุ่ม สามารถเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้นการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทั้งทาง สังคมเศรษฐกิจของโลกจึงเกิดผลกระทบทั้งในทางบวกและในทางลบ ซึ่ง เป็นประเด็นปัญหาที่แต่ละประเทศจะต้องหาทางแก้ไขและทำการปรับตัว เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด อันจะช่วยทำให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น การสร้างสังคมที่มีความสงบสุขอาจเริ่มต้นจากการมีระบบการเมืองที่ มีเสถียรภาพ ที่ทำให้ประชาชนได้รับหรือสนองตอบความจำเป็นขั้นพื้นฐาน และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ระบบและการบริหาร จัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจและการเมืองในแต่ละประเทศเป็น ปัญหาสำคัญ ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองอาจแบ่งเป็น ๒ ระบบใหญ่คือ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและระบบเศรษฐกิจแบบ สังคมนิยม การแข่งขันและการแบ่งฝ่ายของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมกับ ระบบสังคมนิยมได้มีการแข่งขันและการแบ่งกลุ่มทางการเมืองของประเทศ ต่าง ๆ เห็นได้เด่นชัด ตั้งแต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลงเมื่อ ค.ศ. ๑๙๔๕ กลุ่ม ประเทศทั้ง ๒ กลุ่มได้เผชิญหน้ากันทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมืองที่เรียก ว่า “สงครามเย็น” ซึ่งการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มประเทศทั้ง ๒ กลุ่มยุติลง เมื่อ ค.ศ. ๑๙๘๙ เนื่องจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมสามารถแก้ปัญหาได้ ดีกว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในแนวคิดสังคมนิยม แม้ว่าในระยะแรกแนวคิด สังคมนิยมจะสามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประเทศ ทำให้ประชาชนมี ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และมีความพออยู่พอกิน แต่ก็ถูกจำกัด ในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ประกอบกับการบริหารจัดการตามแนวคิดสังคมนิยมไม่ สร้างแรงจูงใจในการทำงาน ทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตช้า แต่รัฐบาลกลับ ต้องทุ่มทรัพยากรเป็นจำนวนมากในการสร้างอาวุธและเผชิญหน้าใน สงครามเย็น ดังนั้นจำนวนทรัพยากรที่จะนำมายกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น จึงมีน้อยลง ในขณะเดียวกันประชาชนก็ถูกจำกัดเรื่องสิทธิเสรีภาพ ดังนั้น จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พอใจกับระบอบการปกครองแบบสังคมนิยม ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญทำให้ระบอบสังคมนิยมล่มสลายในเวลาต่อมา จึงอาจ สรุปได้ว่าการล่มสลายของระบบสังคมนิยมนั้นเกิดจากขาดประสิทธิภาพใน การบริหารจัดการทางเศรษฐกิจและปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของกลไก รัฐบาล ปรากฏการณ์ล่มสลายนั้นเห็นได้เด่นชัดเมื่อสหภาพโซเวียตปล่อยให้ เยอรมันตะวันออกล่มสลายและยอมให้ทำลายกำแพงนครเบอร์ลิน หลังจาก นั้นการล่มสลายของระบบสังคมนิยมได้แพร่ขยายไปในประเทศยุโรปตะวัน ออกแล้ว ในที่สุดก็เกิดการปฏิวัติของประชาชนในสหภาพโซเวียต ซึ่งในเวลา ต่อมาก็เกิดขึ้นในประเทศจีนและเวียดนาม ปัญหาวิกฤตการณ์ของโลกดังกล่าวมานั้น อาจหาทางออกได้โดยใช้ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหา ทั้งในระดับส่วนรวม ของประชาคมโลกและในระดับประเทศ ซึ่งในที่นี้ได้เสนอแนวคิดประกอบ การพิจารณาคือ ประการแรก ทุกประเทศจะต้องปรับลดการใช้พลังงาน และการใช้จ่ายต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศและ ความสามารถในการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ของโลก โดยจะ ต้องเริ่มต้นจากการปรับระดับการใช้จ่ายการบริโภคในทุกครอบครัวให้เหมาะ กับการมีชีวิตความเป็นอยู่แบบพอเพียงหรือพออยู่พอกินตามกำลังการผลิต ทางเศรษฐกิจ และระบบการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมของประเทศ ประการที่ ๒ ในการจัดระบบการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมของประเทศนั้น จะต้องยึดหลักการทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีและ พอเพียงตามฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ กล่าวคือ ประชาชนทุกคนจะ ต้องได้รับสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง และระดับชีวิตความเป็น อยู่ได้ยกระดับให้ดีขึ้นตามฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ ในการปรับระดับ การกระจายรายได้ของสังคมจะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพในการผลิตและ การทำงานของบุคคลและของประเทศเป็นสำคัญ รัฐบาลจะต้องดูแลหรือ จัดหาบริการสาธารณะให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านสังคม ด้านความยุติธรรม หรือการรักษาความปลอดภัย ส่วนประชาชน ในสังคมจะต้องเป็นผู้มีจิตสาธารณะ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วยกัน ในขณะเดียวกันรัฐบาลและประชาชนจะต้องลงทุนในด้านการศึกษา และการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและด้าน สังคม รวมทั้งด้านวิชาการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ของ ประเทศ และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่แบบพอเพียงให้ดีขึ้น ประการที่ ๓ ในด้านการเมือง การบริหารการปกครองประเทศจะต้องยึดถือการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย โดยให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการใช้อำนาจการ บริหารประเทศอย่างแท้จริง ประชาชนจะต้องได้รับสิทธิเสรีภาพทางการ เมืองอย่างเหมาะสมจะต้องได้รับการคุ้มครอง การจำกัดสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนจะมีขึ้นได้เพื่อรักษาผลประโยชน์หรือความมั่นคงของสังคมส่วน รวมเท่านั้น การถ่ายโอนอำนาจทางการเมืองจะต้องเป็นไปอย่างเป็นระบบ และมีความราบรื่นโดยสันติวิธี การจำกัดวาระในการดำรงตำแหน่งทางการ เมืองของบุคคลควรมีการกำหนดอย่างเหมาะสมเพราะการอยู่ในตำแหน่ง ทางการเมืองนานเกินไปจะเป็นต้นเหตุสำคัญของการผูกขาดหรือเกิด เผด็จการทางการเมือง ซึ่งจะเป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งในสังคม สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์ ดร. สายชล เกตุษา ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “เกษตรอินทรีย์” ความโดยสรุปว่า ปัญหาการผลิตอาหารทั้งจากพืชและ สัตว์ไม่เพียงพอกับความต้องการของประชากรโลก ทำให้มีการพัฒนา เทคโนโลยีการผลิตโดยวิธีการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณอาหารให้พอกับความ ต้องการของประชากรโลก จึงนำไปสู่การเกษตรยุคใหม่ หนึ่งในการใช้ เทคโนโลยีที่พยายามเพิ่มผลผลิตคือการใช้สารเคมีประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะ เป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (โรค แมลง และวัชพืช) ปุ๋ยเคมี สารเคมีควบคุม การเจริญเติบโตของพืช และสารเคมีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกษตรกรต้อง ลงทุนมาก และใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็นอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา นาน ผลกระทบที่ตามมาคือ ทำให้เกษตรกรเกิดการเจ็บป่วย สภาพแวดล้อม เสียความสมดุล และพืชผลที่ผลิตได้ไม่มีความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค จึงมี ความพยายามที่แก้ไขปัญหาเหล่านี้ที่เกิดจากการเกษตรยุคใหม่ โดยพยายาม สร้างระบบการผลิตต่าง ๆ ขึ้นมา เกษตรอินทรีย์เป็นอีกระบบหนึ่งของการ ผลิตพืชอาหาร ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากในปัจจุบัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=