2700_2984
3 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๔ เดือนกันยายน ๒๕๕๔ สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ นายสมพร เทพสิทธา ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “ บทบาทของ องค์การ ประชาสังคมในภาวะสังคมที่เปลี่ยนแปลง” ความโดยสรุปว่า ใน ภาวะสังคมที่เปลี่ยนแปลง องค์การประชาสังคมควรจะปรับบทบาทให้ สอดคล้องกับภาวะสังคมที่เปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และ การเมือง ที่สำคัญที่สุดองค์การประชาสังคมจะต้องพัฒนาองค์การของตนให้ เข้มแข็ง มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพได้ประสิทธิผล มียุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการที่เหมาะสมมีการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และแผน ปฏิบัติการอย่างเข้มแข็งจริงจัง บทบาทขององค์การประชาสังคมในภาวะ สังคมที่เปลี่ยนแปลงจะต้องดำเนินการในเชิงรุก (Proactive) ไม่ใช่ทำงานใน เชิงรับ (Reactive) ได้แก่ บทบาทในด้านสังคมสงเคราะห์ การแก้ไขปัญหา สังคม การพัฒนาสังคม การส่งเสริมความมั่นคงของชาติ การส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของประชาชนและการประสานงาน บทบาทในด้านสังคมสงเคราะห์ องค์การประชาสังคมควรมีบทบาทในการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้ ประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น คนยากจนขาดแคลน ผู้ประสบสาธารณภัย คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ประสบ ปัญหาชีวิต ปัญหาครอบครัว ปัญหาทางจิตใจ การให้การสงเคราะห์ควรยึด หลักการต่อไปนี้ (๑) คำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการของผู้รับการ สงเคราะห์ (๒) ต้องให้ผู้รับการสงเคราะห์สามารถช่วยเหลือตนเองได้ใน ที่สุด (๓) การสังคมสงเคราะห์จะต้องทำทั้งในด้านวัตถุและด้านจิตใจ ช่วยให้ คนมีจิตใจสูงด้วยการนำศาสนาเข้าช่วย ตามพระบรมราโชวาทพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (๔) การสังคมสงเคราะห์ต้องยึดมั่นในหลักธรรมโดย เฉพาะพรหมวิหารธรรม ซึ่งได้แก่เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา สังคห วัตถุ ๔ ซึ่งได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา (โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ประชาชน วางตนเหมาะสม) บทบาทในการแก้ไข ปัญหาสังคม องค์การประชาสังคมควรมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาสังคมที่ เพิ่มมากขึ้นรุนแรงยิ่งขึ้น โดยร่วมมือและประสานงานกับรัฐบาล หน่วย ราชการ และองค์การที่เกี่ยวข้อง โดยมีการกำหนดกระบวนการแก้ไขปัญหา อย่างถูกต้อง มีการกำหนดแผนงานและโครงการที่รอบคอบ มีการปฏิบัติ งานตามแผนงานและโครงการที่กำหนดไว้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง มีการ ติดตามผลและประเมินผลอยู่เสมอ ในการแก้ไขปัญหาสังคมควรส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย เช่น สัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชาชน จัดให้มีเวทีเพื่อให้ประชาชนแสดง ความคิดเห็นได้อย่างเสรี ในการแก้ไขปัญหาสังคมควรนำกระบวนการแก้ไขปัญหาตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้ามาใช้ เช่น ประการแรก จะต้องรู้ ทุกข์ คือ ต้องศึกษาให้รู้ สภาพของทุกข์หรือสภาพของปัญหาให้ถูกต้องก่อนว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ประการที่ ๒ จะต้องรู้ สมุทัย คือ ต้องศึกษาให้รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริง ผของ ปัญหาคืออะไร และพยายามแก้ไขที่สาเหตุของปัญหา บทบาทในการพัฒนา สังคม องค์การประชาสังคมมีบทบาทที่จะร่วมมือกับหน่วยราชการ สถาบัน และองค์การต่าง ๆ ในการพัฒนาสังคมตามพระบรมราโชวาทและตามแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการพัฒนา คน ให้เป็นคนดี มีคุณภาพและคุณธรรม ส่งเสริมคนดีให้มีอำนาจปกครองบ้าน เมือง ส่งเสริมการปฏิบัติตามรอยพระยุคลบาทเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลัก ความพอเพียง พอประมาณ ทางสายกลาง มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน มีความ ซื่อสัตย์สุจริต บทบาทในด้านการส่งเสริมความมั่นคงของชาติ คือ สถาบัน ชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชาติ องค์การประชาสังคมควรมี บทบาทที่สำคัญ ในการส่งเสริมความมั่นคงของชาติ โดยร่วมกับหน่วยราชการ สถาบันและองค์การต่าง ๆ ในการส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันชาติ สถาบัน ศาสนาโดยเฉพาะพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ สถาบันพระมหา กษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น พระประมุขให้สถิตสถาพรตลอดไป บทบาทในด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชน องค์การประชาสังคมควรจะส่งเสริมการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม โดยที่องค์การประชาสังคมเป็นองค์การสาธารณะ เป็นองค์การที่เปิดไม่ใช่ของ บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใด องค์การประชาสังคมจึงควรเปิดโอกาสให้ประชาชน ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการองค์การ และเปิดโอกาสให้ประชาชน ในระดับรากหญ้าที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ควรให้ประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องได้มี โอกาสมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น โครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ชุมชน ก็ให้ประชาชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมใน กิจกรรมที่จัดขึ้น โครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน การพัฒนาสตรี การ พัฒนาผู้สูงอายุก็ควรให้เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการแสดง ความคิดเห็นและในกิจกรรมที่จัดขึ้น บทบาทในด้านการประสานงาน องค์การประชาสังคม หากปฏิบัติงานแต่เพียงลำพังย่อมไม่สามารถปฏิบัติ ภารกิจตามบทบาทที่กล่าวมาได้ องค์การประชาสังคมจึงต้องมีบทบาทในการ ประสานงานกับหน่วยราชการ สถาบันและองค์การเอกชนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อบท.) เช่น เทศบาล สภาจังหวัด (สจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกันและ ผนึกกำลังในการทำประโยชน์แก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ เนื่องจากภาครัฐบาลและภาคประชาสังคมเป็นภาคส่วนที่สำคัญของสังคม เป็นภาคีที่สำคัญของการพัฒนา จึงจำเป็นต้องร่วมมือและประสานงานกันอย่าง ใกล้ชิด ด้วยความเข้าใจอันดีต่อกัน โดยแต่ละฝ่ายควรจะให้ความเคารพซึ่งกัน และกัน มองกันในแง่ดีและควรใช้ความอ่อนน้อมถ่อมตนเข้าหากัน เช่นที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติแก่พสกนิกรของพระองค์ด้วยหลัก ธรรมข้อมัทวะ-ความอ่อนน้อมถ่อมตนซึ่งเป็นทศพิธราชธรรมข้อหนึ่ง องค์การ ประชาสังคมควรมีการประสานงานกันเป็นเครือข่าย (network) ในทุกระดับ ทั้ง ระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่นคือ อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน การ รวมตัวขององค์การประชาสังคมในทุกระดับ ควรจะเป็นการรวมตัวในแนวราบ (horizontal) ตามหลักประชาสังคม คือเป็นการรวมตัวอย่างเท่าเทียมกันใน ฐานะที่เป็นหุ้นส่วนกัน (partnership) ไม่ใช่เป็นการรวมตัวในระดับดิ่ง (vertical) ที่มีการใช้อำนาจ หรือการสั่งการจากบนลงล่าง เหมือนระบบราชการ หาก องค์การประชาสังคมสามารถรวมกันได้เป็นเครือข่ายทั้งระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น จะทำให้เกิด “พลังอำนาจที่สาม” ที่มีความเข้มแข็ง • วันพุธที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ภาคีสมาชิก บรรยาย เรื่อง “ ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการ เปลี่ยนแปลงสังคมเศรษฐกิจการเมืองโลก และปัญหาการขัดแย้งทางสังคม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=