2699_7841

7 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๓ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ดวงจันทร์ผ่านกรอบ ไม่มีจินตนาการไม่มีความรู้สึก ดังนั้น ความรู้ของศิลปินจึง เป็นความรู้ที่เกิดจากความรู้สึก มากกว่าความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่ ก่อให้เกิดจินตนาการหรือความรู้ที่พุ่งลึกลงไปภายในสิ่งนั้น เพื่อแสวงหาความ จริงมาสนองการสร้างสรรค์ของตน ไม่อาจอธิบายเป็นกฎเกณฑ์ได้อย่างศาสตร์ อื่น ๆ อย่างไรก็ตาม กระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะตามหลักวิชาที่กล่าวแล้ว เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสร้างงานศิลปะ แท้จริงแล้ว เมื่อศิลปินสร้างงาน ศิลปะนั้น เขาอาจไม่ได้คิดอะไรเลย เพียงปล่อยให้เลื่อนไหลไปตามความรู้สึก ภายในที่ต้องการจะแสดงออกเป็นรูปทรง สี หรือปริมาตร ความรู้ทั้งหลาย ประสบการณ์ได้หลอมรวมกันอยู่ภายในตัวแล้ว และเมื่อต้องการแสดงออกจึงไม่ ต้องกังวลถึงองค์ประกอบทั้งหลาย ปล่อยให้มันเลื่อนไหลผ่านความรู้สึกออกมา เช่นเดียวกับการหายใจ ที่ไม่ต้องตั้งใจหายใจเข้า หายใจออก แต่การกระทำเช่น นี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ศัพท์บัญญัติของ “software” “hardware” และ “joystick” ตามกระแสข่าวเกี่ยวกับการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสาร- สนเทศ ซึ่งในปัจจุบันมีใช้กันอย่างแพร่หลายโดยกลุ่มผู้ใช้ในสังคมออนไลน์ใช้แตกต่างกันนั้น ราชบัณฑิตยสถานในฐานะ องค์การหลักทางภาษาของชาติ มีหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งในการบัญญัติศัพท์วิชาการสาขาต่าง ๆ รวมทั้งการจัดทำ พจนานุกรมศัพท์วิชาการภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์ภาษา ไทยขึ้นใช้แทนคำจากภาษาต่างประเทศจำนวนมากในหลายสาขาวิชา ศัพท์ที่บัญญัติขึ้นมีทั้งคำที่ประชาชนยอมรับนำไปใช้ กันอย่างแพร่หลาย เช่น มลพิษ (pollution) โลกาภิวัตน์ (globalization) วีดิทัศน์ (video) ภาพลักษณ์ (image) ภาพพจน์ (figure of speech) แต่ก็ยังมีศัพท์บัญญัติที่ไม่ได้รับความนิยมหรือที่เรียกกันว่าไม่ติดตลาด เช่น คณิตกรณ์ (computer) อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่างานบัญญัติศัพท์เป็นงานของราชบัณฑิตยสถาน ดังนั้น เมื่อมีผู้ใช้คำว่า กระด้าง ภัณฑ์ แทนคำว่า hardware ละมุนภัณฑ์ แทนคำว่า software และแท่งหรรษา แทนคำว่า joystick คนทั่วไปจึงเข้าใจผิดว่า เป็นศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน และนำไปใช้อ้างอิงกันอย่างไม่ถูกต้อง ราชบัณฑิตยสถานขอชี้แจงและยืนยันว่าคำ กระด้างภัณฑ์ ละมุนภัณฑ์ และ แท่งหรรษา ไม่ใช่ศัพท์บัญญัติของ ราชบัณฑิตยสถาน ศัพท์บัญญัติที่ถูกต้องของ hardware ใช้ว่า ๑. ส่วนเครื่อง ๒. ส่วนอุปกรณ์ หรือใช้คำทับศัพท์ว่า ฮาร์ดแวร์ ส่วน software บัญญัติว่า ส่วนชุดคำสั่ง หรือใช้คำทับศัพท์ว่า ซอฟต์แวร์ และ joystick บัญญัติว่า ก้านควบคุม ซึ่งผู้ใช้จะเลือกใช้ศัพท์บัญญัติหรือคำทับศัพท์ก็ได้ เช่นเดียวกับศัพท์ laptop computer ที่บัญญัติไว้ว่า คอมพิวเตอร์วางตัก หรือทับศัพท์ว่า แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเลือกใช้คำใดก็ได้ ทั้งนี้ การที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติคำภาษาไทยขึ้นใช้ แทนคำภาษาต่างประเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ นั้น หากศัพท์ที่บัญญัติขึ้นไม่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ศัพท์นั้นก็จะเลือน หายไปในที่สุด ซึ่งเป็นธรรมชาติของภาษา ราชบัณฑิตยสถานขอขอบคุณผู้ที่สนใจร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการ ดำเนินงานวิชาการของราชบัณฑิตยสถานตลอดมา. อภิเดช บุญสงค์ นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=