2699_7841

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน • วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “ จินตนาการ แนวคิด และการสร้างสรรค์งานศิลปะ” ความโดยสรุปว่า การสร้างสรรค์งาน ศิลปะมีขั้นตอน และองค์ประกอบอย่างไร เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ศิลปินไม่ใคร่ ตอบหรือตอบไม่ได้ เพราะการสร้างงานของศิลปินเป็นไปโดยอัตโนมัติ อธิบาย ยาก หรือไม่รู้ เพราะสิ่งที่สร้างขึ้นเป็นเพียงผลของทักษะที่ได้ฝึกฝนมาเท่านั้น ไม่สามารถเรียบเรียงระบบความคิดและขั้นตอนการสร้างสรรค์งานศิลปะให้เป็น ระบบได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะศิลปินไม่ได้ถูกฝึกมาเหมือนนักวิชาการหรือนัก วิทยาศาสตร์ที่จัดระบบ ความรู้ได้เป็นขั้นเป็นตอน สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแยกแยะได้ด้วยทฤษฎีและหลักเกณฑ์ ต่างจากศิลปินที่มุ่งแสดงความรู้สึก มากกว่าการแสวงหาความรู้เหมือนการทดลอง ของนักวิทยาศาสตร์ เช่น เมื่อ นักชีววิทยามองเห็นดอกกุหลาบ จะรู้ว่าเป็นผลผลิตของต้นกุหลาบ ก่อนที่จะ เบ่งบานมันต้องตูมมาก่อน มันจะโตเร็วหากได้ปุ๋ยดี แต่ในสายตาของจิตรกร กุหลาบดอกที่อยู่ต่อหน้าขณะนี้เป็นสิ่ง ๆ หนึ่งที่เป็นตัวของมันเอง ไม่เหมือนสิ่ง อื่นใดในโลก และไม่เหมือนดอกกุหลาบดอกอื่น ๆ เมื่อจิตรกรเห็นมันเขาอาจไม่ ได้คิดอะไรเลยเกี่ยวกับ กุหลาบดอกนี้ แต่เขาเกิด ความรู้สึกขึ้นมาวูบหนึ่ง ว่าได้ สัมผัสอะไรบางอย่างที่อธิบายด้วยคำพูดไม่ได้ แต่อยากจะถ่ายทอดความรู้สึกนี้ ออกมาบนผืนผ้าใบ ความรู้สึกวูบหนึ่งนั้น ก่อให้เกิด แรงบันดาลใจ (inspiration) เกิดจินตภาพ (image) จากการที่ได้เห็นดอกกุหลาบดอกนั้น ความรู้สึกนี้อาจไม่เกิดถ้าเห็นดอกกุหลาบดอกอื่น ดังนั้น ศิลปะจึงเป็นสื่อแสดง ความรู้สึกมิใช่แสดงความรู้ เบนเนเดตโต โครเช่ (Benedetto Croce: 1866- 1952) ถือว่า ศิลปะเป็นการแสดงให้เห็น การเข้าใจลึกซึ้งภายใน ซึ่งจะบรรยาย ให้รู้ด้วยวิธีอื่นไม่ได้ นอกจากสร้างเป็นงานศิลปะ ความรู้สึกแวบหนึ่ง ผู้ที่ไม่ใช่ ศิลปินอาจอุทานเป็นคำพูด แต่ศิลปินไม่ใช้คำพูดเพราะความรู้สึกที่ต้องการ แสดงนั้นไม่ได้รับมาด้วยคำพูด ดังที่ เลโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoi: 1828- 1910) เขียนไว้ว่า “คำพูดที่ถ่ายทอดความคิดและประสบการณ์นั้นทำให้คนเรา เกิดความสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ศิลปะก็คล้ายกัน และลักษณะพิเศษ ของความสัมพันธ์ที่เกิดจากศิลปะต่างกับที่เกิดจากคำพูดก็คือ คำพูดนั้นมนุษย์ เราใช้อาศัยเป็นสื่อถ่ายทอดความคิด แต่ ศิลปะใช้สำหรับถ่ายทอดความรู้สึก และในบางกรณีศิลปะแสดงออกให้เห็นความจริงได้ดีกว่าคำพูด ความรู้สึกวูบหนึ่งที่เกิดขึ้นกับศิลปิน อาจเป็นความประทับใจหรือเป็น อารมณ์สะเทือนใจ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของการสร้างสรรค์ที่สำคัญ เพราะความรู้สึก นั้นจะถูกส่งต่อไปยังสมองและเกิดมโนภาพหรือมโนทัศน์ ตามความรู้สึกของ ศิลปิน มโนภาพที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้น เพียงชั่ววูบนั้นอาจเป็น ภาพเหมือนของสิ่ง ที่มากระทบ หรือเป็นมโนภาพแห่งจินตนาการ มโนภาพของศิลปินอาจมีความ รู้สึกภายใน ความรู้สึกภายนอก ฯลฯ เข้ามาประกอบ ภาพเหล่านี้มีความงดงาม สมบูรณ์ เมื่อศิลปินถ่ายทอดมโนภาพนั้นออกมาเป็นงานศิลปะ จะต้องผ่าน กระบวนการสร้างสรรค์ที่อาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวัน ขึ้นอยู่กับ ทักษะและความสามารถของศิลปิน มโนภาพนั้นอาจบิดเบือนไปเพราะอุปสรรค ต่าง ๆ เช่น ศิลปินไม่สามารถสร้างมโนภาพให้สมบูรณ์ได้อย่างมโนภาพที่ปรากฏ ในสมองเพราะขาดทักษะ ไม่มีความเข้าใจวัสดุและเทคนิคที่ใช้เป็นสื่อแสดง มโนภาพได้ดีพอ ไม่มีประสบการณ์ในการสร้างสรรค์เพียงพอ เพราะฉะนั้น งาน ศิลปะจึงอาจจะไม่สมบูรณ์เท่ามโนภาพที่เกิดขึ้นในสมองเมื่อศิลปินได้รับความ บันดาลใจหรือเกิดอารมณ์สะเทือนใจที่เกิดขึ้นเพียงชั่ววูบ ในอารมณ์ชั่ววูบนั้น อาจมีความคิดต่าง ๆ เข้ามาประกอบ เช่น ความคิดเชิงปรัชญา ความคิดเกี่ยว กับศาสนาและอื่น ๆ นักปรัชญาให้ความเห็นว่า ปรัชญาและศิลปะมีความ สัมพันธ์ ใกล้ชิดกัน ปรัชญา คือ การขบคิดเพื่อเข้าใจปัญหาและหาคำตอบ ปรัชญามุ่งไปสู่ความเข้าใจใหม่ ๆ เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ ปรัชญา เป็นการแสวงหา ศิลปะ คือ การสร้างสรรค์เพื่อเสนอแนวทางใหม่แห่งความ เป็นอยู่ของมนุษย์ ปรัชญาเป็นการแสวงหา ศิลปะเป็นการแสดงออกด้วยวิธีที่ แนบเนียน ปรัชญากับศิลปะจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ดังนั้น ศิลปะมี ปรัชญา ในปรัชญามีศิลปะ ผู้ที่เข้าใจเรื่องนี้ดีจึงเป็นทั้งนักปรัชญาและศิลปินไป ในตัว แต่ผู้ที่จะเข้าใจทั้งปรัชญาและศิลปะไปพร้อม ๆ กันมีจำนวนน้อย เมื่อ ศิลปินสร้างสรรค์งานศิลปะอาจจะ ไม่คิดถึงปรัชญาอะไรที่ลึกซึ้ง แต่นักปรัชญา ศิลปะอาจเห็นปรัชญาที่ลึกซึ้งแฝงอยู่ในงานศิลปะ ขณะเดียวกันศิลปินบางคน สร้างงานศิลปะที่มีปรัชญาลึกซึ้ง นักปรัชญาและผู้ชมอาจมอง ไม่เป็นปรัชญา นั้น แม้ปรัชญาจะเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสร้างงานศิลปะ แต่จินตนาการ สำคัญกว่า หากศิลปินขาดจินตนาการก็ไม่สามารถสร้างศิลปะได้ จินตนาการ ความบันดาลใจ จินตภาพและแนวคิด ล้วนเกี่ยวเนื่อง สอดคล้องกัน เมื่อศิลปินแปลความของสิ่งเหล่านี้ผ่านการแสดงออกทางศิลปะ ศิลปินที่มีประสบการณ์ทางการศึกษาในสถาบันมักนำ ความรู้ ทักษะ เข้ามาเป็น องค์ประกอบ หากเป็นศิลปินที่สร้างงานศิลปะไร้มายา ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ ใช้เพียงความรู้สึกตามสัญชาตญาณ เช่น รู้สึกว่าต้นไม้ควรเป็นสีเขียวก็ใช้สีเขียว หรือต้นไม้ในความรู้สึกควรเป็นสีอื่นที่ไม่ใช่สีเขียวก็ใส่สีตามความรู้สึกนั้น แต่ ศิลปินที่ผ่านการศึกษาในสถาบัน จะรู้ว่าต้นไม้ควรมีสีอะไรบ้าง จะผสมสีอย่างไร จึงจะได้ความรู้สึกนั้น ความรู้เช่นนี้ไม่ใช่การท่องจำ แต่เป็นความรู้ที่ต้องผ่าน ทักษะ ดังนั้น เมื่อศิลปินผสมสีจึงไม่ได้เกิดจากความจำแต่เกิดจากความชำนาญ ที่รู้ว่า หากต้องการสีเขียวจะต้องใช้สีเหลืองผสมกับสีน้ำเงินในปริมาณที่เท่ากัน หากปริมาณไม่เท่ากันจะได้สีเขียวที่มีค่าน้ำหนักต่าง ๆ กันไป หากต้องการสีอื่น เข้ามาปะปนเพื่อลดความสว่างอาจจะใช้ปลายพู่กันแตะสีตรงข้ามเล็กน้อย ก่อน ป้ายพู่กันลงบนกระดาษหรือผ้าใบ ดังนั้น ความรู้ของศิลปินต้องอยู่ในตัวศิลปิน และพร้อมที่จะนำมาใช้เมื่อเขาสร้างงานศิลปะ การแสดงความรู้ของศิลปินไม่ใช่การคิดสูตรทางคณิตศาสตร์ แต่ใช้ความรู้ เป็นองค์ประกอบในการสร้างงานศิลปะ ตั้งแต่ ความรู้เรื่องสี องค์ประกอบศิลป์ กายวิภาค ทัศนมิติ ฯลฯ โดยนำมาใช้ผ่านประสบการณ์และทักษะในศิลปะแต่ละ ประเภทให้ประสานสอดคล้องกัน กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของ ศิลปินไม่สามารถเขียนเป็นตัวหนังสือ หรือคำพูดให้กระจ่างชัดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ มีขั้นตอนและกลไกในจิตใจ ความ รู้สึกนึกคิดที่สลับซับซ้อนเฉพาะตัวของแต่ละคนแตกต่างกันไป ศิลปินให้ความสำคัญกับความรู้สึกมากกว่าความรู้ เพราะความรู้มีกรอบ กั้น ถึงจะรู้ได้แต่ก็ไม่ชัดเจน ก่อนที่จิตรกรจะลงมือใช้พู่กันป้ายสีนั้น เขาต้องมี อะไรบางอย่างอยู่ในใจแล้ว (กรอบ) สิ่งนี้คือ วิญญาณของภาพที่เขาจะวาด พรสวรรค์ข้อหนึ่งของศิลปินที่ยิ่งใหญ่ก็อยู่ตรงนี้ คือให้แรงบันดาลใจให้ได้สัมผัส กับสิ่งนี้โดยตรง ความรู้เกี่ยวกับศิลปะของศิลปินอาจได้มาจากการศึกษาหรือการฝึกฝน ด้วยตนเอง และใช้ความรู้สึกกำหนด “ความลงตัว” (perfection) หรือความ สมบูรณ์ของผลงาน แม้ความรู้สึกจะเป็นเรื่องเฉพาะตัว แต่ศิลปินแต่ละคนมี กระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ด้วยความรู้สึกที่แตกต่างกัน ความรู้สึก เช่นนี้ต้องมาจาก ศิลปินใช้ความรู้หรือไม่ และความรู้ของศิลปินคืออะไร เป็นอีกปัญหาหนึ่ง ความรู้คืออะไร นักปรัชญาอธิบายว่า ความรู้ (knowledge) คือ ความเชื่อที่แท้ จริงและสมเหตุผล (justisfied) เป็นสิ่งที่ศึกษาในวิชาปรัชญาสาขาญาณวิทยา (Epistemology) ความรู้ต่างจากความรู้สึกมั่นใจในสิ่งที่มีหรือเป็นอยู่ หรือในวิถี ทางที่เหตุการณ์ต่าง ๆ จะเกิดขึ้น การโต้แย้งทางปรัชญาส่วนใหญ่จึงมุ่งมาที่ ธรรมชาติแห่งความจริง (truth) และสิ่งที่อาจถือเป็นพยานหลักฐานที่เหมาะสม จะใช้อ้างว่าตนได้รับความรู้บางสิ่งแล้ว ความรู้ของศิลปินมีลักษณะเฉพาะ ต่าง ไปจากความรู้แขนงอื่น ความรู้ของศิลปินเป็นความรู้ที่ใช้ในการสร้างสรรค์ต่าง จากความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งมองผ่านกรอบหรือคอนเซปต์อย่างที่กล่าว แล้ว ความรู้ที่ผ่านศาสตร์ต่าง ๆ จึงเป็นไปตามกรอบที่วางไว้ มีลักษณะเป็น วิทยาศาสตร์ เช่น รู้ว่าดวงจันทร์หมุนรอบโลก หรือพระจันทร์เย็นลงเมื่อหลาย ล้านปีมาแล้ว แต่ความรู้ที่ศิลปินมีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นความรู้ที่ไม่มีกรอบ เป็น ความรู้สึกและปฏิสัมพันธ์ระหว่างศิลปินกับสิ่งนั้น เช่น ความรู้ของศิลปินเกี่ยว กับพระจันทร์คือ มีแสงนวลยามค่ำคืน ให้ความรู้สึกดื่มด่ำเย็นสบาย ศิลปินมี ความสัมพันธ์กับดวงจันทร์ด้วยความรู้สึก ต่างกับนักวิทยาศาสตร์ที่รู้เกี่ยวกับ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=