2699_7841
5 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๓ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ สำนักศิลปกรรม • วันอังคารที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ นายชนก สาคริก ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “ เพลงไทยซึ่งมีความหมาย เกี่ยวกับพระจันทร์” ความโดยสรุปว่า แสงสว่างจากดวงจันทร์มีผลต่อความ รู้สึกนึกคิดและมีอิทธิพลต่อมวลมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์มานานแล้ว ทั้งยังมีอิทธิพล กับดนตรีไทย ซึ่งกล่าวถึงเฉพาะดวงจันทร์มีอิทธิพลกับกลุ่มเพลงไทยเดิมเท่านั้น เพลงไทยเดิมมีรวมกันทั้งสิ้นประมาณ ๑,๗๐๐ เพลง ในบรรดาเพลงทั้งหมดมี เพลงที่มีความหมายเกี่ยวกับพระจันทร์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแบ่งได้เป็น ๓ กรณี ดังนี้ ๑. พ้องชื่อ หมายถึง ชื่อเพลงที่มีความหมายสื่อถึงคำว่า “พระจันทร์” ๒. พ้องทำนอง หมายถึง ท่วงทำนองเพลงมีคุณลักษณะที่สื่อความหมาย ถึงพระจันทร์ ๓. พ้องคำร้อง หมายถึง คำร้องหรือบทร้องของเพลงมีความหมายเกี่ยว กับพระจันทร์ เท่าที่ได้คัดเลือกเพลงไทยเดิมใน ๓ กรณีดังกล่าวข้างต้น พบเพลงซึ่งมี ความหมายเกี่ยวกับพระจันทร์ ๒๔ เพลง ดังนี้ ๑. เพลงพระจันทร์ครึ่งซีก ๑๓. เพลงลาวดวงเดือน ๒. เพลงสรรเสริญพระจันทร์ ๑๔. เพลงสาลิกาชมเดือน ๓. เพลงไส้พระจันทร์ ๑๕. เพลงฟ้อนชมเดือน ๔. เพลงบุหลัน ๑๖. เพลงชมแสงทอง ๕. เพลงโสมส่องแสง ๑๗. เพลงลาวคำหอม ๖. เพลงแขไขดวง ๑๘. เพลงราตรีประดับดาว ๗. เพลงจันทร์โลม ๑๙. เพลงพระจันทร์ลับเหลี่ยม ๘. เพลงชมแสงจันทร์ ๒๐. เพลงเขมรชมจันทร์ ๙. เพลงมอญชมจันทร์ ๒๑. เพลงพม่าชมเดือน ๑๐. เพลงจีนชมเดือน ๒๒. เพลงกระต่ายชมจันทร์ ๑๑. เพลงกระต่ายชมเดือน ๒๓. เพลงจันทร์แจ่มวนา ๑๒. เพลงเดือนหงายกลางป่า ๒๔. เพลงรัศมีพระจันทร์ เพลงลำดับที่ ๑-๑๘ ผู้บรรยายได้กล่าวถึงประวัติที่มาของทำนองเพลง บทร้อง (ดังเอกสารแจกในที่ประชุม) ส่วนเพลงลำดับที่ ๑๙-๒๔ เป็นเพลงที่มีชื่อ เกี่ยวกับพระจันทร์แต่ไม่ทราบประวัติที่มา ในการนี้ผู้บรรยายเปิดเพลงประกอบ การบรรยายด้วย “พระจันทร์” หรือ “ดวงจันทร์” นั้นไม่ได้มีอิทธิพลต่อสรรพ- ชีวิตในโลกเฉพาะในด้านความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์และสรรพสัตว์เท่านั้นหาก แต่มีอิทธิพลต่อจิตวิญญาณ และความรู้สึกนึกคิดด้วยดังที่ปรากฏแก่วงการ ดนตรีของไทยในการบรรยายครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ภาคีสมาชิก บรรยาย เรื่อง “ สงกรานต์กับสังกรานติ” ความโดยสรุปว่า คำว่า สงกรานต์ เป็นคำไทย ที่ยืมมาจากภาษาสันสฤตว่า สงฺกฺรานฺต ในภาษาไทยใช้เป็นคำนามหมายถึงการ ที่พระอาทิตย์เคลื่อนที่จากราศีมีนสู่ราศีเมษ ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยตั้งแต่ โบราณมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๘๓ ซึ่งได้เปลี่ยนไปถือวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ มกราคมของทุกปีตามแบบสากล การเคลื่อนราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่งของ พระอาทิตย์ในภาษาสันสกฤตจะใช้คำว่า สงฺกฺรานฺติ ในปีหนึ่งจะมี ๑๒ ครั้ง เท่ากับจำนวนราศี คือ มกร กุมฺภ มีน เมษ วฺฤษภ มิถุน กรฺกฏ สึห กนฺยา ตุลา วฺฤศฺจิก ธนุสฺ ชื่อของสังกรานติจะเรียกตามราศีที่พระอาทิตย์เคลื่อนที่เข้าไป เช่น มกรสังกรานติ ก็คือวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีธนุสฺสู่ราศีมกร วัน สังกรานติทุกวันถือเป็นวันสำคัญทางศาสนาของชาวฮินดู มีข้อปฏิบัติที่กำหนด ไว้ในคัมภีร์ต่าง ๆ เช่น มัตสยปุราณ พิธีทำบุญที่สำคัญคือการอดอาหารการ อาบน้ำตามพิธีในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์เช่นแม่น้ำคงคา การนำของไปมอบเป็นทักษิณา ทานแก่พราหมณ์ที่ตนเคารพนับถือ เป็นต้น วันสังกรานติทั้ง ๑๒ วันแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม คือ (๑) อยนสังกรานติ ๒ ครั้ง ได้แก่ มกรสังกรานติ ซึ่งเริ่มต้น อุทคยนะ คือพระอาทิตย์เริ่มเลื่อนจากซีก โลกใต้ไปทางซีกโลกเหนือ และ กรฺกฏสังกรานติ ซึ่งเริ่มต้น ทักษิณายนะ คือ พระอาทิตย์เริ่มเลื่อนจากซีกโลกเหนือไปทางซีกโลกใต้ (๒) วิษุวสังกรานติ ๒ ครั้ง ได้แก่ เมษสังกรานติ และตุลาสังกรานติ ซึ่งเป็นวันที่กลางคืนและกลางวัน ยาวเท่ากัน (๓) ษฑศีติสังกรานติ หรือ ษฑศีติมุขสังกรานติ ได้แก่ มิถุนสังกรานติ กันยาสังกรานติ ธนุสสังกรานติ และ มีนสังกรานติ (๔) วิษณุปทีสังกรานติ หรือ วิษณุปทสังกรานติ ได้แก่ วฤษภสังกรานติ สิงหสังกรานติ วฤศจิกสังกรานติ และกุมภสังกรานติ สังกรานติทั้ง ๑๒ วันมีชื่อเรียก ๗ ชื่อ จะเรียกชื่อว่า อย่างไร ขึ้นอยู่กับว่าวันสังกรานตินั้นตรงกับวันอะไรในสัปดาห์ คือ จะมีชื่อว่า โฆรา ถ้าตรงกับวันอาทิตย์ จะมีชื่อว่า ธวางษี ถ้าตรงกับวันจันทร์ จะมีชื่อว่า มโหทรี ถ้าตรงกับวันอังคาร จะมีชื่อว่า มันทากินี ถ้าตรงกับวันพุธ จะมีชื่อว่า มันทา ถ้าตรงกับวันพฤหัสบดี จะมีชื่อว่า มิศริตา ถ้าตรงกับวันศุกร์ จะมีชื่อว่า รากษสี ถ้าตรงกับวันเสาร์ หรือ ขึ้นอยู่กับว่าวันสังกรานตินั้นเริ่มต้นที่นักษัตร อะไรใน ๒๗ นักษัตรซึ่งจะแบ่งอีกเป็น ๗ กลุ่มคือ ธรุวะ มฤทุ กษิปะ อุคระ จระ กรูระ และ มิศริตา ถ้าวันสังกรานติตรงกับกลุ่มนักษัตร ธรุวะ จะมีชื่อว่า มันทา ถ้าตรงกับกลุ่มนักษัตรมฤทุ จะมีชื่อว่า มันทากินี เป็นต้น ในปัญจางคะ (ปฏิทินฮินดู) สมัยปัจจุบันวันสังกรานตินับถือกันว่าเป็นเทพี ที่มีลักษณะต่าง ๆ เช่น ทรงสัตว์ประเภทใดเป็นพาหนะ ทรงพัสตราภรณ์อย่างไร ทรงถืออะไรเป็นอาวุธ ใช้อะไรแต้มพระนลาฏ เป็นสาว เป็นกลางคน หรือ เป็น คนแก่ ประทับยืน นั่ง หรือ นอน ถือดอกไม้ชนิดใด เสวยอะไรเป็นภักษาหาร มุ่งหน้าจากทิศใดไปยังทิศใด ทอดสายพระเนตรไปทางทิศใด มีลักษณะพระ พักตร์เป็นอย่างไร มีกี่กร จะมีคำทำนายจากสิ่งต่าง ๆ ที่เทพีผู้นี้ทรงกระทำ เช่น สิ่งที่เป็นภักษาหารของเทพีจะมีราคาแพงในเดือนนั้น เทพีทอดสายพระเนตรไป ทิศไหนทิศนั้นจะมีแต่สิ่งเลวร้าย ทิศไหนที่เทพีมุ่งหน้าไปจะมีแต่ความสุข เทพี ออกไปจากทิศใดทิศนั้นจะมีแต่ความทุกข์ รัฐต่าง ๆ ทางภาคตะวันออกของ อินเดียตั้งแต่เหนือจรดใต้ เช่น อัสสัม เบงกอล โอริสสา ทมิฬ นาดู ถือวันเมษ สังกรานติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ เช่นเดียวกับของไทยแต่จะไม่มีประเพณีเล่นสาดน้ำ กัน จะมีแต่ไปอาบน้ำในแม่น้ำหรือในทะเลตรงที่ถือกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ของถิ่นนั้น ๆ สำหรับประเพณีโหลิที่ชาวอินเดียเล่นสาดสีกันคล้ายกับการเล่น สาดน้ำในพิธีสงกรานต์ของไทยจะตรงกับวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๔ (ระหว่างเดือน มีนาคมกับเดือนเมษายน) ไม่ได้ถือเป็นวันสังกรานติ ประเพณีสงกรานต์ของไทยจะเฉลิมฉลองกันระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายนของทุกปี ประเพณีนี้มีมาแล้วอย่างน้อยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตาม ประเพณีสงกรานต์ของไทยแต่ละปีจะมีนางสงกรานต์ซึ่งเปลี่ยนไปตามวันที่ตรง กับวันสงกรานต์ปีนั้น เช่น วันอาทิตย์ นางสงกรานต์คือ นางทุงษ ทัดดอก ทับทิม เครื่องประดับ ปัทมราค ภักษาหารผลมะเดื่อ หัตถ์ขวาถือจักร หัตถ์ซ้าย ถือสังข์ มีครุฑเป็นพาหนะ ปีใหม่ไทยปีนี้ตรงกับปีเถาะ นางสงกรานต์ มีนามว่า “กริณีเทวี” ทรง พาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่ว-งา พระหัตถ์ขวาทรง ขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาเหนือหลังกุญชร วันเมษสังกรานติตามปัญจางคะของพราหมณ์/ฮินดู ปีนี้ตรงกับวัน พฤหัสบดีที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๔ จึงมีชื่อว่า มันทาเพราะตรงกับวันพฤหัสบดี และมีชื่อว่า โฆรา เพราะตรงกับนักษัตรมฆา ซึ่งอยู่ในนักษัตรกลุ่มอุคระจะเห็น ว่าประเพณีสงกรานต์ของไทยแม้จะถือเฉพาะเมษสังกรานติเท่านั้นว่าเป็นวัน สงกรานต์ มีความคล้ายคลึงกับสังกรานติของอินเดียหลายประการ เช่น เมื่อ เทียบชื่อวันสังกรานติกับชื่อนางสงกรานต์ คือ นางทุงษ เทียบกับ ธวางษี นาง โคราค เทียบกับโฆรา นางรากษส เทียบกับ รากษสี นางมณฑา เทียบกับ มัน ทา นางกริณี เทียบกับ มันทากินี นางมโหทร เทียบกับ มโหทรี ชาวอินเดียที่ นับถือศาสนาพราหมณ์/ฮินดูให้ความสำคัญกับมกรสังกรานติและเมษสังกรานติ มากที่สุด ขึ้นอยู่กับถิ่นที่อยู่ เช่น อัสสัม เบงกอล โอริสสา ทมิฬนาดู ให้ความ สำคัญต่อเมษสังกรานติมากที่สุด ชาวอินเดีย รัฐอุตตรประเทศ รัฐมัธยประเทศ รัฐคุชราต รัฐมหาราษฏระ ให้ความสำคัญต่อมกรสังกรานติมากที่สุด ดังนั้น ประเพณีสงกรานต์ของไทยคงจะนำประเพณีปฏิบัติบางส่วนของพราหมณ์/ฮินดู มาปรับให้เข้ากับประเพณีทางพระพุทธศาสนา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=