2699_7841

4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน คุณค่าและการไตร่ตรอง (๒) ความเฉลียวฉลาดของแต่ละคนที่พึงมีเพื่อการ ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด (๓) ความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ และ (๔) แรงขับภายใน เช่น ความปรารถนา ความชอบ เจตคติ และ ความคาดหวัง ควรรู้และเข้าใจความสัมพันธ์ของสารสนเทศและการตัดสินใจจะช่วย ทำให้การตัดสินใจ มีความถูกต้องเหมาะสม ในระดับบุคคลและครอบครัวจะ ทำให้เกิดความสุข ความสมหวัง และความพึงพอใจ ในระดับองค์กรได้รับความ สุขใจในผลลัพธ์หรือผลตอบแทน อย่างไรก็ตาม มีข้อคิดคือ การคาดหวังผลเอา ไว้สูงสุด เช่น หวังให้ได้ความสุขสูงสุด หวังให้ได้ความพอใจมากที่สุด และ/หรือ หวังผลกำไรสูงสุด เมื่อไม่ได้ดั่งที่หวังย่อมเป็นทุกข์ ที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันคือ การคาดหวังอะไรสูงสุดย่อมหมายถึงการใช้ความมานะพยายาม การดิ้นรน และ การใช้ปัจจัยนำเข้าสูง สภาพการณ์เช่นนี้ย่อมไม่มีความมั่นคงถาวรเพราะขาด ความสมดุลและความพอดี ถ้าจะลดความคาดหวังลงเหลือเพียงระดับพอเหมาะ พอประมาณ เช่น ตัดสินใจทำแล้วได้รับความสุขความพอใจพอประมาณ หรือได้ กำไรแต่พอควร เช่นนี้ต่างหากที่ความสุขความพอใจที่ยั่งยืนในชีวิต • วันพุธที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์ ดร.วรเดช จันทรศร ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “ ยิ่งใหญ่ เพราะความดี : ภาวะผู้นำของรัฐบุรุษและทรราช” ความโดยสรุปว่า ความยิ่ง ใหญ่ของผู้นำมีรากฐานมาจากคุณธรรมของความเป็นผู้นำ ผู้นำบางคนได้รับ การยกย่องเพราะมีความกล้าหาญ อดทน ต่อสู้และยืนหยัดเพื่อความถูกต้อง ยุติธรรม เป็นธรรม และประโยชน์สาธารณะ ในทางตรงกันข้ามผู้นำบางคนถูก ประณามจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ตลอดมาเพราะการใช้ความรุนแรง การ ทำลายล้าง บางคนยิ่งใหญ่ตลอดกาลเพราะปัญญา ความมีมนุษยธรรม เป็น สัญลักษณ์ของการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เสรีภาพ และความเสมอภาค บางคน ได้รับการยกย่องเพราะได้รับความเชื่อถือและเชื่อมั่นในธรรม ความมีวินัย และ ความซื่อสัตย์สุจริต บางคนตกต่ำไร้เกียรติภูมิเพราะคดโกง ไม่ซื่อสัตย์ กอบโกย แสวงหาประโยชน์ให้ตนเอง พวกพ้อง ญาติมิตร และบริวาร ลุแก่อำนาจ ทรยศ ต่อชาติและประชาชน รูปแบบของผู้นำนั้นมีวิวัฒนาการและมีการศึกษาพัฒนา สืบเนื่องมาโดยตลอด เริ่มจากรูปแบบผู้นำในการปกครองดั้งเดิม ซึ่งหมายถึง จักรพรรดิ กษัตริย์ เจ้าผู้ครองนคร การสืบทอดผู้นำผ่านทางสายโลหิตจากพ่อสู่ ลูกหรือราชวงศ์ การเปลี่ยนแปลงผู้นำในภาวะไม่ปรกติอาจเกิดขึ้นโดยการ รัฐประหาร ผู้ยึดอำนาจสถาปนาตนเองหรือผู้ที่ได้รับการยอมรับยกย่องเป็นผู้ ปกครองใหม่ หรือการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดจากการปฏิวัติโดยผู้นำและมวลชน หรือการลงประชามติล้มเลิกเพื่อเปลี่ยนไปสู่ระบอบการปกครองใหม่ เช่น กรณี ของประเทศกรีซในศตวรรษที่ ๒๐ รูปแบบดั้งเดิมว่าเป็นการศึกษาผู้นำ แบบคงที่ มองผู้ปกครองในฐานะที่เป็นผู้นำอย่างเฉพาะเจาะจง ต่อมาเริ่มมีการ ศึกษารูปแบบของภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม มีการแยกประเภทของผู้นำออกเป็น ผู้นำแบบเผด็จการ ผู้นำแบบประชาธิปไตย ผู้นำแบบผสมผสาน ผู้นำตาม สถานการณ์ ผู้นำแบบมีส่วนร่วม ผู้นำที่มุ่งคนหรืองานเป็นหลัก ผู้นำที่มุ่งเน้น ทั้งคนและงานแบบยึดถือทางสายกลาง และแบบมุ่งประสิทธิภาพสูงสุด แบบ ของผู้นำที่เหมาะสมต่อองค์การธุรกิจสมัยใหม่ ๔ แบบ ได้แก่ แบบที่องค์การ ต้องการการเปลี่ยนแปลง ต้องการผู้นำที่มีมีวิสัยทัศน์ มุ่งเอาชนะคู่แข่งขันและ สามารถสนองตอบต่อสภาพแวดล้อมภายนอกได้อย่างมีประสิทธิผล หรือที่ ต้องการแก้ปัญหาภายใน มุ่งสร้างความสมานฉันท์ภายในองค์การ หรือแบบ ของผู้นำที่มององค์การในระบบปิด ขาดความคิดริเริ่ม ติดยึดอยู่กับรากฐาน ความรู้ความชำนาญเดิมที่ได้รับการปลูกฝังมา ไม่สามารถปรับตัวและ เปลี่ยนแปลงให้สนองตอบต่อสภาพแวดล้อมภายนอกได้ ตลอดจนรูปแบบของ ผู้นำที่สร้างปัญหาความขัดแย้ง ทำลายปรปักษ์หรือฝ่ายตรงข้ามในองค์การ และในระยะหลังเริ่มมีการศึกษารูปแบบของผู้นำที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแต่ โดยส่วนใหญ่ได้ให้ความสนใจอยู่แต่เฉพาะในภาคธุรกิจ มีการศึกษาผู้นำที่มีผล ต่อการเปลี่ยนแปลงในมุมมองอย่างแคบมีลักษณะเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น ผู้นำมลพิษ (toxic leader) หรือผู้นำที่หนีหรือถือโอกาสถอนตัวออกจาก องค์การทันทีเมื่อรู้ว่าองค์การของตนในอนาคตจะเกิดปัญหาเข้าทำนองเป็น กัปตันเรือแล้วทิ้งเรือหนีก่อนคนอื่น หรือผู้นำอีกลักษณะหนึ่งที่ไม่เห็นคุณค่าของ คนใกล้ชิด เห็นแก่ตัวเอง ไม่สนใจผู้อื่น ต้องการที่จะควบคุมผู้อื่นและต้องการให้ ผู้อื่นชื่นชมอย่างมาก ต้องการทำสิ่งที่ให้คนอื่นเห็นว่าเขามีความสำคัญ มุ่งทำ ประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวมแต่ตนเองต้องได้ชื่อเสียงก่อน (narcissistic leaders) ผู้นำประเภทนี้จะอำนวยประโยชน์ให้กับองค์การหากใช้นำองค์การใน ช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ในมุมมองอย่าง กว้าง ผู้นำที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสามารถอาจแบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่มใหญ่ ได้แก่ (๑) ผู้ปกครอง ซึ่งแยกได้เป็น รัฐบุรุษ และ ทรราช (๒) ผู้นำศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ และหรืออุดมการณ์ (๓) ผู้นำทางวิชาการ นักปราชญ์ นักปรัชญา นักประดิษฐ์ ผู้ค้นพบและริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอ ตัวอย่างภาวะผู้นำและการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้นำเฉพาะกลุ่มแรกซึ่ง ได้แก่ รัฐบุรุษ และ ทรราช โดยจะเน้นให้เห็นถึงคุณงามความดี วิธีการ แนวทางในการปฏิบัติที่นำไปสู่ความยิ่งใหญ่ตลอดกาลของผู้นำ (รัฐบุรุษ) ทั้งนี้ จะนำเสนอตัวอย่างภาวะผู้นำที่เลวของผู้ปกครอง บุคคลสำคัญของโลก บางคนที่นำความเสียหายมาสู่สังคม ประเทศ และมวลมนุษยชาติเป็นเชิง เปรียบเทียบควบคู่กันไปด้วย โดยรัฐบุรุษตัวอย่างที่ผู้เขียนคัดเลือกมานำเสนอ ในบทความนี้ได้แก่ มิคาอิล เซร์เกเยวิซ กอร์บาชอฟ (Mikhail Sergeyevich Gorbachev) ผู้นำคนสุดท้ายของสหภาพโซเวียต ส่วนทรราชที่ได้คัดเลือกมา เป็นผู้นำร่วมสมัยของกอร์บาชอฟ ได้แก่ นิโคไล เชาเชสคู (Nikolai Ceausescu) อดีตประธานาธิบดี ผู้นำเผด็จการของประเทศโรมาเนีย ซึ่งจาก การศึกษาจะพบว่าความยิ่งใหญ่ของรัฐบุรุษ บุคคลสำคัญของโลกเกิดขึ้นได้ เพราะความดีและคุณธรรมที่อยู่ในจิตใจของผู้นำสำหรับ มิคาอิล กอร์บาชอฟ เขาได้เลือกที่จะให้สิทธิเสรีภาพ อิสรภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าแก่ประชาชน นับร้อยล้านคน เลือกความสงบสุข สันติภาพ ประชาธิปไตย และสร้างความ ปลอดภัยให้เกิดแก่โลกและมวลมนุษยชาติมากกว่า การติดยึดรักษาและเพิ่ม อำนาจให้กับตนเอง มากกว่าการทำสงคราม การทำลายล้าง ความบาดเจ็บ พิการ และชีวิตที่ต้องล้มตายของพี่น้องประชาชน ความยิ่งใหญ่ของกอร์บาชอฟ จึงเป็นความยิ่งใหญ่เหนือความยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง สำหรับนิโคไล เชาเชสคู ผู้ ปกครองโรมาเนียที่เป็นทรราช เขาได้ทำตรงข้ามกับกอร์บาชอฟอย่างสิ้นเชิง เชาเชสคูเลือกที่จะปกครองโดยใช้อำนาจเป็นธรรม ใช้ภาวะผู้นำเพื่อการทำลาย ล้าง เข่นฆ่าประชาชนเพื่อนร่วมชาติเพียงเพื่อที่จะรักษาอำนาจและความยิ่ง ใหญ่ของตนเอง สร้างความสุข สร้างชื่อเสียงเกียรติคุณอันจอมปลอมของตน จากความทุกข์ยาก หวาดกลัว อดอยากและยากจนข้นแค้นของพี่น้องประชาชน โลกจะจดจำและจารึกภาวะผู้นำของ มิคาอิล กอร์บาชอฟ รัฐบุรุษแห่งสหภาพ โซเวียต และของ นิโคไล เชาเชสคู ทรราชแห่งโรมาเนีย ไว้ในประวัติศาสตร์ แห่งมวลมนุษยชาติตลอดไป สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์ ดร.สนิท อักษรแก้ว ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “แหล่ง ดูดซับและเก็บกักคาร์บอนสีน้ำเงิน (ในทะเล Blue Carbon) เพื่อลดสภาวะโลก ร้อน” และ ศาสตราจารย์ นพ.ยง ภู่วรวรรณ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “วิชาการอุบัติใหม่” • วันพุธที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ นายนิพนธ์ ทรายเพชร ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “จันทรุปราคา ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๔” ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.มนุวดี หังสพฤกษ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “๕๐ ปี แห่งการก่อตั้งองค์การสมุทรศาสตร์ระหว่างรัฐบาล” และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ พิเชียรสุนทร ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “ชะมด”

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=