2699_7841
3 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๓ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก ประธานแถลงร่วมกับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิต รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ พิเชียรสุนทร ราชบัณฑิต ศาสตราจารย์ ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ ราชบัณฑิต และ ศาสตราจารย์ ดร.สายชล เกตุษา ภาคีสมาชิก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์ ดร.มนัส สุวรรณ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “ สารสนเทศ กับการตัดสินใจ” ความโดยสรุปว่า การตัดสินใจเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งของ มนุษย์ที่มีลักษณะเป็นกระบวนการ มีหลายขั้นตอนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง กัน ขั้นตอนการได้มาและประเมินสารสนเทศที่เกี่ยวข้องตามแนวคิดของกลุ่ม เกสตอลท์ การตัดสินใจต้องผ่านขั้นตอนของการประเมินคุณค่าก่อนที่จะตัดสิน ใจ สารสนเทศจะมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง เพราะเอื้ออำนวยให้เกิดความถูกต้องและ เหมาะสม หรือความผิดพลาดล้มเหลวจากการตัดสินใจได้ ความสำคัญและ ความสัมพันธ์ของสารสนเทศที่มีต่อการตัดสินใจสามารถวิเคราะห์และพิจารณา ได้เป็น ๒ ประเด็นหลัก คือ (๑) ปริมาณและคุณภาพของสารสนเทศ และ (๒) ความสามารถของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศนั้น ปริมาณและคุณภาพของสารสนเทศในกระบวนการตัดสินใจ หากมีความ ครบถ้วนสมบูรณ์และถูกต้องเชื่อถือได้ ความผิดพลาดย่อมเกิดได้น้อย ตรงกัน ข้ามหากปริมาณของสารสนเทศที่น้อยเกินไป และขาดความถูกต้อง ความผิด พลาดจากการตัดสินใจย่อมเกิดขึ้นได้สูง และเกิดผลกระทบด้านลบตามมาก็มีสูง เช่นกัน โดยหลักการการตัดสินใจที่มีความถูกต้องจำเป็นต้องอาศัย สารสนเทศ จำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถกำหนดค่าเป็นตัวเลขได้ แต่ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ค่อน ข้างยาก ดังนั้น กระบวนการตัดสินใจโดยทั่วไปจึงจำเป็นต้องอาศัยการอนุมาน เอาว่าจะใช้สารสนเทศในปริมาณและคุณภาพเท่าใด แต่สำหรับกรณีที่มีความ สำคัญ และมีผลกระทบในวงกว้าง จะต้องมีความเข้มข้นทั้งในด้านปริมาณและ คุณภาพของสารสนเทศ ความสามารถในการจัดการสารสนเทศก่อนการตัดสินใจ ในระดับครอบ ครัวอาจมีความสำคัญค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับการตัดสินใจในระดับองค์กร ระดับครอบครัวมักจะใช้สารสนเทศที่ไม่มีความซับซ้อน ผู้ที่จะตัดสินใจโดยปรกติ จะสัมผัสกับสารสนเทศโดยตรงอยู่แล้ว ระดับองค์กรหรือหน่วยงาน ผลของการ ตัดสินใจมีผลลัพธ์ค่อนข้างกว้างขวางทั้งที่เป็นผลได้และผลเสีย จึงจำเป็นต้อง อาศัยสารสนเทศในปริมาณค่อนข้างมากและมีความซับซ้อน อีกทั้งผู้มีอำนาจ ตัดสินใจมิได้สัมผัสสารสนเทศด้วยตัวเองโดยตรง ดังนั้น ความสามารถในการ จัดการสารสนเทศกรณีนี้จึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ จำเป็นต้องมี สิ่งที่น่าสังเกตประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากสาร สนเทศในการตัดสินใจคือ ความสามารถในการจัดการสารสนเทศของผู้มี อำนาจตัดสินใจ ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปัจจัยกำหนด ๔ ปัจจัย คือ (๑) ประสบการณ์ และการเรียนรู้ของแต่ละคนซึ่งใช้เป็นพื้นฐานอย่างหนึ่งในขั้นตอนของการประเมิน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=