2698_9000
7 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๒ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔ ผู้สนใจบทความดังกล่าวขออนุญาตค้นคว้าได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชบัณฑิตยสถาน ห้องสมุดราชบัณฑิตยสถาน โทรสารหมายเลข ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๒ หรือทางเว็บไซต์ www.royin.go.th ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ คติเรื่องหมุ่งซิ้งหรือทวารบาล เป็นคติที่เก่าแก่ของจีน ทวารบาล ของจีนมักเกี่ยวพันกับศาสนาและความเชื่อ ได้รับอิทธิพลจากหลาย ศาสนา โดยเฉพาะลัทธิขงจื๊อ พระพุทธศาสนา ลัทธิเต๋า ประตูโบราณมี ๒ บาน ทวารบาลจึงมักเป็นคู่ประจำอยู่แต่ละข้างของประตู ทวารบาล คู่ที่เก่าแก่ที่สุดของจีน คือ ซิงซู กับ อุ๊กลุก ส่วนทวารบาลที่ปรากฏ แพร่หลายที่สุด คือ ฉิ่งซกป้อ กับ อุกฉี่ก๎ยง กิมกัง ก็เป็นทวารบาลเช่นกัน กิมกังเป็นภาษาจีนที่บัญญัติแทน คำว่า วชระ หรือวัชระ ที่หมายถึง เพชร เดิมยังใช้หมายถึง สายฟ้า ทวารบาลที่อยู่บริเวณทางเข้าอุโบสถเรียกอีกอย่างว่า วัชรยักษะ ซึ่ง เป็นธรรมบาลที่คุ้มครองพระศาสนา ในคติมหายานและวัชรยานก็มี จตุโลกบาลเช่นกัน บางที่เรียกตามคติจีนว่า กิมกังที่ยิ่งใหญ่ทั้งสี่ ซึ่งทำ เป็นรูปปั้นขนาดใหญ่ทำหน้าที่เป็นทวารบาลของวัดจีน เซี่ยวกาง มาจาก เฉี่ยวกัว ข้อสรุป ทัศนะที่ว่า เซี่ยวกาง มาจาก เฉี่ยวกัว เป็นข้อสันนิษฐานตามรูปคำและความหมาย โดยคำนึงถึง บริบททางวัฒนธรรมคือคติทวารบาลของจีน ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของ ทวารบาลไทย เมื่อพิจารณาจากข้อสันนิษฐานเดิมและข้อสันนิษฐาน ใหม่ สรุปได้ว่ายังไม่อาจมีข้อยุติว่าศัพทมูลของคำว่า เซี่ยวกาง คือคำใด แน่ แต่สังเกตได้จากทวารบาลของจีนว่าการได้รับวัฒนธรรมและ ถ้อยคำจากภาษาต่างชาตินั้น ย่อมต้องมีการดัดแปลงจนกลายเป็นสิ่ง ใหม่แต่ยังมีเค้าเดิมเล็กน้อย เซี่ยวกางหรือทวารบาลไทยก็น่าจะเข้า ลักษณะเดียวกัน เมื่อไม่พบหลักฐานที่มาแน่ชัดก็ยากที่จะสรุปได้ เรื่องกล้วย..กล้วย ๒ ผู้เขียนได้นำเสนอเรื่องของกล้วยที่เป็นไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Musa วงศ์ Musaceae ไปแล้วครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้ได้ นำเรื่องของกล้วยที่ไม่เกี่ยวกับพืชในสกุลและวงศ์ดังกล่าวข้างต้น ที่มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ มาเสนอดังนี้ กล้วย เป็นชื่อปลาทะเลขนาดเล็กชนิด Stolephorus indicus ในวงศ์ Engraulidae รูปร่างกลมยาว ที่สันท้องระหว่าง ครีบท้องกับครีบก้นมีหนามแหลม ๒-๕ อัน มีสีเด่นเพียงแถบสีเงินพาดตลอดข้างลําตัว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ฝั่ง อาจปน กับปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกันซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และอาจมีชื่อเรียกปะปนกัน เช่น กะตัก หัวอ่อน มะลิ ไส้ตัน หัวไม้ขีด เส้น ขนมจีน เก๋ย. กล้วยน้อย เป็นชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Xylopia vielana Pierre ในวงศ์ Annonaceae กิ่งสีนํ้าตาลดํา ดอกหอม รากสีดํา กลิ่นเหมือนนํ้ามันดิน เชื่อกันว่ารากใช้แก้พิษงู. กล้วยไม้ ชื่อพรรณไม้หลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Orchidaceae ลักษณะต้น ใบ และช่อดอกต่าง ๆ กัน บางชนิดเกาะตามต้นไม้และหิน บางชนิดขึ้นอยู่บนพื้นดิน บางชนิดมีด อกงาม บางชนิดมีกลิ่นหอม, พายัพเรียก เอื้อง. กล้วยหมูสัง ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Uvaria grandiflora Roxb. ในวงศ์ Annonaceae มีแถบปักษ์ใต้ ดอกสีแดงเลือดนก, ย่านนมควาย ก็เรียก นอกจากนี้ยังมีการนำคำว่ากล้วยหรือส่วนต่าง ๆ ของกล้วยไปใช้ในสำนวน ภาษิต หรือคำพังเพยด้วย เช่น ปอกกล้วย เข้าปาก หมายถึง ง่าย หรือ สะดวก หมาเห่าใบตองแห้ง หมายถึง คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่ง แต่ไม่กล้าจริง เด็ดปลี ไม่มีใย หมายถึง ตัดขาด, ตัดญาติขาดมิตรกันเด็ดขาด แต่ถ้าเป็นคำภาษาปากว่า กล้วย ๆ หมายถึง ง่ายมาก เช่น เรื่อง กล้วย ๆ ของกล้วย ๆ . อารี พลดี นักวรรณศิลป์ชำนาญการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=