2698_9000

5 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๒ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔ วิเคราะห์ได้แล้วว่า ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ทักษะการคิดอะไร ในการ เรียนรู้สาระต่าง ๆ ที่กำหนด ครูก็ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ ทักษะการคิดนั้น ๆ ในการเรียนรู้ การให้ผู้เรียนใช้ทักษะการคิด หมาย ถึง การให้ผู้เรียนดำเนินการคิด ตามกระบวนการ/ขั้นตอนของการคิด แบบนั้น ๆ ดังนั้น ครูจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ การคิด ลักษณะต่าง ๆ มีกระบวนการ/ขั้นตอนการคิดอย่างไร ขั้นที่ ๖ การวัด และประเมินผลการเรียนรู้ (ด้านการคิด) เมื่อมีการบูรณาการทักษะ การคิดในการเรียนรู้ ทักษะการคิดที่บูรณาการนั้นย่อมถือเป็นส่วนหนึ่ง ของจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งก็ควรต้องมีการวัดและประเมินผลว่า ผู้ เรียนบรรลุจุดประสงค์นั้นเพียงใด การเรียนรู้ด้านการคิดนั้น แสดงผล ให้เห็นได้หลายทาง เช่น แสดงออกทางผลของการคิด แสดงออกทาง กระบวนการคิด แสดงออกทางคุณลักษณะส่วนบุคคล การวัดผลต้อง อาศัยเครื่องมือต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลที่ ต้องการ ส่วนการประเมินนั้น ต้องอาศัยเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นในการตัดสินผล อย่างไรก็ตาม การดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะ การคิดและการสอน การคิดให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องอาศัย ปัจจัยสำคัญ คือ ๑. โรงเรียนต้องให้การส่งเสริมการเรียนรู้ของครูอย่างเพียงพอ และต่อเนื่อง การสนับสนุนครูด้านการแหล่งเรียนรู้ทั้งทางด้านเอกสาร และตัวบุคคลเป็นสิ่งจำเป็น การหาผู้รู้ ผู้ชี้แนะมาให้ความรู้ความเข้าใจ และให้คำปรึกษาเป็นสิ่งจำเป็น การจัดการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบ ให้ครูได้มีโอกาสปรึกษาหารืออย่างเพียงพอจะช่วยได้มาก เพราะเรื่อง “การคิด” เป็นเรื่องยากกว่าจะเกิดความเข้าใจที่แท้จริง ต้องอาศัยการ เรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การให้ครูมีโอกสาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กันบ่อย ๆ เป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่ครูแทบทุกคนชอบและยอมรับว่า เกิดประโยชน์ ๒. ในด้านผู้เรียน ครูต้องให้การส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อ เนื่อง ให้เวลาผู้เรียนในการพัฒนาจัดสภาพแวดล้อมทั้งทางด้าน กายภาพ และด้านจิตวิทยา ให้เอื้อต่อพัฒนาการคิดของผู้เรียน ๓. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการคิดของผู้เรียน เช่น การคิด สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ การคิดวิเคราะห์ข่าวและเหตุการณ์ การเผชิญ ปัญหาและคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ การคิดอย่างถูกทางมีคุณธรรม การยกย่องเชิดชูผู้ที่คิดดี คิดในสิ่งที่มีประโยชน์ต่าง ๆ กิจกรรมที่หลาก หลายสามารถส่งเสริมนิสัยในการคิดให้ดี ๔. ในด้านการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการคิด พบว่า กระบวนการที่สามารถช่วยให้ครูเกิดความเข้าใจที่กระจ่างขึ้นในเรื่อง ของการคิด ก็คือ การให้คณะครูช่วยกันศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม แล้ว ช่วยการจัดทำตัวบ่งชี้ของ “การคิด...” ที่ต้องการ พร้อมทั้งจัดทำตัวบ่ง ชี้ที่แสดงลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ “การ คิด...” นั้น ๆ กระบวนการในการกำหนดตัวบ่งชี้ ทำให้ครูต้องคิด วิเคราะห์ในเรื่องนั้น ๆ ส่งผลให้เกิดความเข้าใจและเกิดความกระจ่าง ขึ้น กระบวนการนี้ จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แต่ต้องใช้เวลาพอสมควร หากโรงเรียนสามารถจัดเวลาพบปะที่จะเรียนรู้ร่วมกันเป็นประจำทุก สัปดาห์ จะเห็นผลชัดเจนขึ้นในเวลาไม่นานนัก สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิต บรรยาย เรื่อง “แหล่งพลังงานทางเลือกเพื่อผลิตไฟฟ้า” และ ดร.ครรชิต มาลัย วงศ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “การตรวจสอบไอที” • วันพุธที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ธวัชชัย สันติสุข ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ : การเข้าถึงทรัพยากร พันธุกรรมและการแบ่งปันผลปะโยชน์จากการใช้ทรัพยากรฯ อย่าง ยุติธรรม [The Convention on Biological Diversity (CDB) : Access to Genetic Resources and the Fair and Equitable Sharing of Benefits Arising from their Utilization (ABS)]” ศาสตราจารย์ ดร. พญ. ศศิธร ผู้กฤตยาคามี ภาคีสมาชิก บรรยาย เรื่อง “มาตรฐานสากลการรักษาโรคมาลาเรียชนิดรุนแรง” ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ. สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “ใยหินในเวอร์มิคิวไลต์ รายงานการศึกษาเบื้องต้น” และ ศาสตราจารย์ ดร.สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “การเลี้ยงผึ้งในประเทศซาอุดีอาระเบีย (Beerkeeping in Kingdom of Saudi Arabia)” สำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ รองศาสตราจารย์ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ภาคีสมาชิก บรรยาย เรื่อง “บทละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ชุดแต่งงานพระไวย : การเล่า วรรณคดีโบราณแก่คนยุคสมัยใหม่ได้อย่างอนุรักษ์และสร้างสรรค์” ความโดยสรุปว่า การเล่าวรรณคดีโบราณให้แก่คนร่วมยุคสมัยไม่ใช่เป็น เพียงรักษาชื่อตัวละครไว้ แล้วเปลี่ยนบุคลิกลักษณะและพฤติกรรมของ ตัวละครให้ต่างไปจากเรื่องเดิมอย่างสิ้นเชิง ดังที่พบในละครโทรทัศน์ เรื่อง “สุดหัวใจ เจ้าชายเทวดา” ซึ่งผู้จัดละครกล่าวว่าประสงค์จะเผย แพร่พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาของพระบาทสมเด็จพระพุทธ- เลิศหล้านภาลัยแก่คนสมัยปัจจุบัน การทำเช่นนี้มีลักษณะทำลายมาก กว่าเผยแพร่วรรณคดีเรื่องเดิม บทละครเรื่อง “ขุนช้างขุนแผน ชุด แต่งงานพระไวย” พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวเป็นตัวอย่างการเล่าวรรณคดีโบราณแก่คนสมัยใหม่ได้อย่าง อนุรักษ์และสร้างสรรค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำ บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนแต่งงานพระไวย ฉบับหอพระ สมุดวชริญาณที่พิมพ์เผยแพร่ใน พ.ศ.๒๔๖๐ มาทรงถ่ายทอดเป็นบท ละครนอกที่มีเพลงร้อง เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดงละคร และ แทรกบทเจรจาซึ่งบางครั้งเป็นบทเจรจาติดจำอวด ในการอนุรักษ์ เนื้อหา ทรงตัดเนื้อหาไม่จำเป็นในบทเสภาออก และทรงรักษาเนื้อความ สำคัญที่แสดงความขัดแย้งระหว่างพระไวยกับขุนช้างในงานแต่งงาน ของพระไวย จนกระทั่งขุนช้างโกรธและจะเดินทางเข้าเฝ้าสมเด็จพระ พันวษาเพื่อกราบทูลฟ้องเรื่องถูกพระไวยและบริวารของพระไวยทำร้าย ด้านการสร้างสรรค์เนื้อหานั้นพบว่าการตัดเนื้อหาดังกล่าวทำให้ เนื้อความในบทละครกระชับและลดตัวละครลงเป็นจำนวนมาก หากนำ ไปแสดงก็ทำได้อย่างสะดวกและไม่สิ้นเปลือง นอกจากนี้ ยังทรงตัด รายละเอียดปลีกย่อยในส่วนเนื้อหาของบทเสภาที่ยังคงรักษาไว้ เช่น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=