2698_9000
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สาระที่จะสอน ๓) ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้โอกาสผู้เรียนได้ ดำเนินการคิดตามกระบวนการของการคิดนั้น ๆ ซึ่งจะเกิดประสิทธิผล มากขึ้น หากผู้เรียนได้รับการเสริมแรง ข้อมูลป้อนกลับและความรู้เพิ่ม เติมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการ รวมไปถึงการให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดบ่อย ๆ ใน สถานการณ์ที่หลากหลาย และการส่งเสริมให้นำทักษะการคิดที่ได้ไปใช้ ในชีวิตประจำวัน ๔) วัดและประเมินความสามารถทางการคิดได้ทั้ง ทางด้านผลสัมฤทธิ์ของการคิด ด้านทักษะกระบวน การคิด และด้าน คุณลักษณะที่เอื้อต่อการคิด เนื่องจากการคิดเป็นปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการกระทำและ การแสดงออกของบุคคล ดังนั้น การพัฒนาความสามารถในการคิดจึง เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของการจัดการศึกษาตลอดมา แต่จะทำได้มาก น้อยหรือดีเพียงใดก็ขึ้นกับความรู้ ความเข้าใจ และปัจจัยต่าง ๆ ที่ เอื้ออำนวย ทักษะการคิดขั้นพื้นฐานจึงเป็นทักษะที่จำเป็นและใช้มาก ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งเป็นพื้นฐานในการคิดขั้นสูงขึ้นไป หากทักษะ การคิดขั้นพื้นฐานไม่ดีพอก็จะเป็นอุปสรรคต่อการคิดขั้นสูง ส่วนทักษะ การคิดขั้นสูงและลักษณะการคิดต่าง ๆ ก็มีความจำเป็นต่อการคิดที่ ซับซ้อนขึ้น หากผู้เรียนได้รับการพัฒนาก็จะสามารถคิด ตัดสินใจ และ กระทำการในเรื่องที่ซับซ้อนและลึกซึ้งได้ดี ส่งผลให้เกิดการพัฒนา ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป ดังนั้น ครูผู้สอนทั้งหลายจึงควรให้ความสำคัญกับ การพัฒนาการคิดทุกประเภท โดยยึดพื้นฐานและความต้องการของ ผู้เรียนของตนเป็นหลัก ทักษะใดที่ผู้เรียนของตนยังอ่อนอยู่ แม้จะเป็น ทักษะขั้นพื้นฐาน ก็ควรช่วยฝึกฝนพัฒนาให้แก่ผู้เรียน มิใช่มุ่งแต่จะ พัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง ทั้ง ๆ ที่ผู้เรียนยังขาดทักษะพื้นฐานที่จำเป็น และเนื่องจากทักษะการคิดมีจำนวนมาก ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึง ทักษะ กระบวนการคิด ๓ ประเภท คือ การคิดวิเคราะห์ การคิด สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เนื่องจากเป็นกระบวนการ คิดที่เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านคุณภาพผู้ เรียน มาตรฐานที่ ๔ ซึ่งกำหนดไว้ดังนี้ “มาตรฐานที่ ๔ ผู้เรียนมีความ สามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิด สร้างสรรค์ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์” การคิดจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบที่จำเป็นต่าง ๆ ได้แก่ (๑) ผู้คิด คุณลักษณะทั่วไปทางด้านร่างกาย สติ ปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม รวมทั้งบุคลิกภาพของผู้คิดล้วนมีผลต่อการคิด (๒) สิ่งเร้าหรือข้อมูล เนื้อหา ที่กระตุ้นให้เกิดการคิดและใช้ในการคิด การมี ข้อมูลในการคิดอย่างเพียงพอช่วยให้การคิดมีความรอบคอบขึ้น (๓) การรับรู้ สิ่งเร้าหรือข้อมูล (๔) จุดมุ่งหมายของการคิด (๕) กระบวนการคิดหรือวิธีการคิด หมายถึง กระบวนการทางสมองของ บุคคลในการจัดการกำกับข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่รับเข้ามาทางประสาท สัมผัสต่าง ๆ และ (๖) ผลของการคิด เมื่อดำเนินการคิดจนสำเร็จตาม จุดมุ่งหมายแล้ว จะเกิดผลของทักษะการคิดนั้น ๆ แบ่งได้เป็น ๓ ประเภทคือ (ก) ผลลัพธ์ของการคิด หมายถึง คำตอบที่เป็นผลของการ คิดเรื่องทักษะการนั้น ๆ ถือเป็นการแสดงออกของความสามารถใน การคิดของบุคคลนั้น (ข) ทักษะกระบวนการคิด หมายถึง ทักษะความ ชำนาญในการใช้ทักษะหรือกระบวนการคิดต่าง ๆ ในการคิด โดย ปรกติแล้วหากผู้คิดมีทักษะการคิดที่ดีก็มักจะได้ผลของการคิดที่ดีตาม มาด้วย และ (ค) คุณลักษณะที่เอื้อต่อการคิดซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้น จากทั้ง ข้อ (ก) และ (ข) การที่ครูผู้สอนจะสอน ฝึกและพัฒนาทักษะการคิดใด ๆ ให้แก่ ผู้เรียนได้ ประการแรก ครูจำเป็นต้องเข้าใจความหมายของทักษะการ คิดนั้นว่า ทักษะการคิดนั้นคืออะไร มีลักษณะเด่นที่ทำให้แตกต่างจาก ทักษะการคิดอื่น ๆ อย่างไร ความหมายหรือนิยามของทักษะการคิด แต่ละทักษะ ในที่นี้สรุปได้ดังนี้ การคิดวิเคราะห์ หมายถึง การจำแนก แยกแยะสิ่ง/เรื่อง/ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อหาส่วนประกอบ/องค์ประกอบ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อช่วยให้เกิดความ เข้าใจในเรื่องนั้น หาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลมาอธิบายเรื่องนั้น ประเมินและตัดสินใจเลือกคำตอบที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การคิดสังเคราะห์ หมายถึง การนำข้อมูล/ความรู้ที่ผ่านการวิเคราะห์ มาแล้ว หรือการนำองค์ประกอบ ส่วนประกอบของสิ่ง/เรื่องต่าง ๆ มา ผสมผสานรวมกันอย่างกลมกลืน สร้างเป็นสิ่งใหม่ ที่มีลักษณะ/ เอกลักษณ์/คุณสมบัติเฉพาะที่แตกต่างไปจากเดิม การคิดสร้างสรรค์ หมายถึง การคิดในทางที่ทำให้ดีขึ้นหรือการคิดสร้างสิ่งใหม่ ที่มี ลักษณะใหม่ (new) แตกต่างไปจากเดิมและเป็นความคิดต้นแบบ (original) ที่ใช้การได้จริง ได้ผลดีกว่าของเดิม และมีความสมเหตุสม ผลที่คนทั่วไปยอมรับได้ และ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง กระบวนการคิดอย่างรอบคอบเพื่อให้ได้ความคิด/คำตอบที่ดีที่สุด มี ความสมเหตุสมผล น่าเชื่อถือ โดยผ่านการพิจารณา และประเมิน ข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง หลักฐาน และความคิดเห็นอย่างรอบ ด้าน ทั้งทางกว้าง ลึก และไกล รวมทั้งการพิจารณากลั่นกรองคุณโทษ และคุณค่าที่แท้จริงของเรื่องที่คิด การพัฒนาทักษะการคิดและความสามารถทางการคิดของผู้เรียน โดยบูรณาการเข้าไปในการจัดการเรียนรู้สาระต่าง ๆ นับเป็นวิธีการที่ เหมาะสมกับบริบทของการจัดการศึกษาในระบบ ที่ครูผู้สอนมีหน้าที่ หลักในการจัดการเรียนรู้สาระต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนอย่างเป็นทางการอยู่ แล้ว หากครูผู้สอนบูรณาการสอดแทรกการพัฒนา หรือฝึกทักษะการ คิดควบคู่ไปกับการสอนเนื้อหาสาระต่าง ๆ ก็จะเกิดประโยชน์สองต่อ คือ นอกจากผู้เรียนจะมีโอกาสฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดมากขึ้นแล้ว ทักษะเหล่านั้นยังสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในสาระที่เรียน เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นด้วย ดังนั้น ครู ผู้สอนจึงควรศึกษาเรียนรู้วิธีการในการบูรณาการการสอนและฝึกทักษะ การคิดต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนอย่างเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมีแนวทางและขั้นตอนในการบูรณาการทักษะการคิดต่าง ๆ ในการ จัดการเรียนรู้ ดังนี้ ขั้นที่ ๑ การศึกษาทำความเข้าใจความหมายและ กระบวนการของทักษะการคิดต่าง ๆ การที่จะสอน ฝึก หรือจัดกิจการ การเรียนรู้ในเรื่องใด ๆ ก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ผู้สอน ผู้ฝึก หรือ ผู้จัดกิจกรรมดังกล่าว จะต้องมีความเข้าใจในสาระหรือสิ่งที่จะสอน ความยากของเรื่องนี้ อยู่ที่สาระเกี่ยวกับทักษะการคิดนี้ มีลักษณะเป็น สาระที่ไม่ใช่ เนื้อหา แต่เป็นสาระที่มีลักษณะเป็นกระบวนการ ดังนั้น ครูจึงต้องเข้าใจความหมายและกระบวนการหรือขั้นตอนของการคิด ลักษณะต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่หลากหลายเสียก่อน จึงจะสามารถพิจารณา ตัดสินใจได้ว่า จะบูรณาการอะไร ลงไป ตรงไหน อย่างไร จึงจะเหมาะ สม และบรรลุผลตามต้องการ ขั้นที่ ๒ การกำหนดจุดประสงค์การ เรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ขั้นที่ ๓ การกำหนดเนื้อหาสาระ การเรียนรู้ ขั้นที่ ๔ การกำหนดทักษะการคิดที่ควรบูรณาการ ขั้นที่ ๕ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการกระบวนการคิด เมื่อ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=