2698_9000
3 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๒ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔ สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ รองศาสตราจารย์ ดร.สมควร กวียะ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “ ทฤษฎีใหม่ว่าด้วยความเป็นอมตะ” ความโดยสรุปว่า ความเป็นอมตะ หรือ immortality ซึ่งมีความหมายสั้น ๆ ที่อาจแปลได้ว่า ความไม่ตาย หรือความมีชีวิต ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า ความตาย ความไม่มีชีวิต หรือ mortality ความเป็นอมตะ หรือ ความไม่ตาย นับว่าเป็นความ ปรารถนาสูงสุดของพ่อแม่สำหรับลูกในวัยทารกหรือวัยเด็ก เป็นความ ประสงค์สูงสุดของประเทศ สำหรับพลเมืองใหม่ที่เพิ่งถือกำเนิดหรือยัง อยู่ในเยาว์วัย เป็นความปรารถนาสูงสุดของคนที่ย่างเข้าสู่วัยชรา ที่ยัง ไม่อยากตาย “ก่อนวัยอันควร” (วัยอันควรสำหรับคนชรารุ่นปัจจุบัน เข้าใจว่า ประมาณ ๘๐–๑๐๐ ปี) ตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ เรื่อยมาถึงคน บางกลุ่มในยุคปัจจุบัน ยังมีความปรารถนาที่จะมีชีวิตใหม่หลังความ ตาย (life after death หรือ life beyond the present life) จึงได้ พยายามที่จะเก็บรักษาศพไว้ ในสภาพของมันมีหรือในสุสานหลุมศพ บางกลุ่มก็สร้างความเชื่อว่า ตายแล้วก็สามารถเกิดใหม่ได้ โดยอาศัย วิญญาณในร่างเก่าไปสิงสถิตในร่างใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นร่างของมนุษย์ หรือของสัตว์ประเภทอื่น ตามแต่ผลกรรมที่กระจำไว้ในชาตินี้ ความ เป็นอมตะ จึงมีความหมายทั้งสำหรับชีวิตปัจจุบัน และชีวิตที่อาจเกิด ใหม่ไม่มีวันจบสิ้น องค์ประกอบหลักที่ทำให้ความเป็นอมตะมีความหมายสมบูรณ์เป็น ตัวของมันเองก็คือ ระบบการสื่อสารต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว (unified communication systems) เพื่อการดำรงอยู่หรือสัต (being) และการดำเนินไปหรือสัตตาคม (becoming) ของอัตลักษณ์ เฉพาะของบุคคล (proper identity หรือ proper self) ที่บุคคลนั้นมี จิตสำนึกด้วยตนเอง (self–conscious) ระบบการสื่อสารที่เป็นองค์ ประกอบแห่งความหมายหลัก (core meaning) ของความเป็นอมตะ จำแนกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ การสื่อสารภายในตน (intra–self communication) และการสื่อสารภายนอกตน (extra–self communication) (๑) การสื่อสารภายในตน อาจจำแนกออกไปได้อีกเป็น ๔ ประเภท คือ การสื่อสารในระดับสสาร พลังงาน การสื่อสารในภาวะ จิตไร้สำนึก การสื่อสารในภาวะจิตสำนึกและการสื่อสารในภาวะ จิตใต้สำนึก การสื่อสารในระดับสสาร พลังงาน (matter/energy communication) เป็นการสื่อสารทางฟิสิกส์ภายในและระหว่าง อะตอมและโมเลกุลซึ่งเป็นกระบวนการพื้นฐานของสรรพสิ่งและเป็น องค์ประกอบของชีวิตที่สามารถควบคุมได้โดยการกินอาหารและ หายใจ เพื่อสร้างพลังงานและต่อต้านพลังเสื่อม (entropy) การสื่อสาร ในภาวะจิตไร้สำนึก (unconscious communication) ซึ่งเป็นการ สื่อสารทางระบบประสาทระหว่างสมองทุกเซลล์ โดยที่บุคคลไม่อาจรับ รู้ได้ยกเว้นกรณีอาการเจ็บปวดในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ สามารถควบคุม ได้โดยการกินอาหาร หายใจ และบำรุงรักษา การสื่อสารในภาวะ จิตไร้สำนึก (unconscious communication) ซึ่งเป็นการสื่อสารทาง ระบบประสาทระหว่างสมองกับทุกเซลล์ โดยที่บุคคลไม่อาจรับรู้ได้ ยกเว้นกรณีอาการเจ็บปวดในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ สามารถควบคุมได้ โดยการกินอาหาร หายใจ และบำรุงรักษา การสื่อสารในภาวะ จิตสำนึก (conscious communication) ได้แก่การตระหนักรู้ (awareness) การรับรู้ (perception) การรู้สึก (feeling) การแปล ความหมาย (interpretation) การเรียนรู้ (learning) การนึกคิด (thinking) และการรำลึกหรือฟื้นความจำ (retrieval) โดยเฉพาะการ สำนึกในความเป็นตนเอง และอัตลักษณ์ของตน (self–consciousness and self–identity) การสื่อสารในภาวะจิตใต้สำนึก (subconscious communication) คือ การสื่อสารภายในสมองที่เกิดขึ้นโดยที่บุคคลไม่ อาจรับรู้ได้ ในภาวะปกติ แต่อาจจะรับรู้ได้ในความฝัน การสื่อสารใน จิตใต้สำนึกอาจเกิดจากประสบการณ์ในอดีตของบุคคลหรืออดีตของ มนุษยชาติที่อาจย้อนหลังไปนับล้านปี ตามข้อสันนิษฐานของนัก ปราชญ์ เช่น คาร์ล ซาแกน, คาร์ลิล ยิบราน (๒) การสื่อสาร ภายนอกตน หมายถึงการสื่อสารกับผู้อื่นหรือแม้กับสัตว์เลี้ยง กับพืช และธรรมชาติแวดล้อม เป็นการสื่อสารของทุกชีวิต เพื่อการอยู่รอด (survival) การขัดเกลาทางสังคม (socialization) การสร้างความภาค ภูมิใจตนเอง (self–esteem) การสร้างความสำเร็จให้กับตนเอง (self– actualization) และเพื่อสุนทรียภาพแห่งชีวิต (aesthetics of life) ทั้ง ที่โดยการับสารผ่านทางครรลองประสาท หู ตา จมูก ลิ้น กาย และ โดยการส่งสารด้วยวัจน-ภาษา (verbal language) และ อวัจนภาษา (nonverbal language) ผ่านสื่อธรรมชาติ (natural media) หรือ สื่อ ประดิษฐ์ (artificial media) เช่น สื่อโสตทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ กระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ สื่ออินเทอร์เน็ต บนพื้นฐานแนวคิดเกี่ยวกับความหมายและองค์ประกอบดังกล่าว ข้างต้น จะเห็นได้ว่า คุณภาพของความเป็นอมตะขึ้นอยู่กับคุณภาพของ องค์ประกอบหลัก คือประสิทธิภาพและเอกภาพการทำงานของทุก ระบบการสื่อสาร ซึ่งหมายถึงการทำงานเป็นระบบหนึ่งเดียวที่ทำให้ ชีวิตมีคุณค่าและความหมาย สามารถผลิตผลงานที่ทำให้ตนเองมีความ สุข แล้วแบ่งปันคุณประโยชน์ของผลงานและความสุขนั้นไปให้ผู้อื่น ใน ระดับขอบเขตที่กว้างไกลออกไปเท่าที่จะทำได้ คือตั้งแต่คนรัก คู่สมรส ครอบครัว ชุมชน องค์กร สังคม จนอาจไปถึงระดับโลก รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “ ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมี วิจารณญาณ : การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้” ความโดยสรุปว่า เนื่องจากผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใน มาตรฐานที่ ๔ ด้านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการ คิดอย่างมีวิจารณญาณ ยังอยู่ในระดับที่จำเป็นต้องปรับปรุงพัฒนา บทความนี้ จึงมุ่งให้หลักและแนวทางแก่ครูในการบูรณาการทักษะการ คิดดังกล่าว ในการเรียนการสอนสาระของรายวิชาต่าง ๆ โดยเริ่มจาก ๑) ทำความเข้าใจในความหมายและกระบวนการหรือขั้นตอนของการ คิดแต่ละแบบ ๒) วิเคราะห์หาทักษะการคิดที่เหมาะสมจะบูรณาการกับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=