2697_7770

6 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน งานจิตรกรรมเป็นศิลปธาตุประเภทหนึ่งที่สัมพันธ์กับวรรณกรรม หรือวรรณคดีไทย ซึ่งแยกสาระได้ดังนี้ ศิลปธาตุประเภทจิตรกรรม หมายถึง งานเขียนภาพระบายสี รูปภาพเขียน หรือรูปแบบจิตรกรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งประพันธ์กรได้ใช้เป็นสื่อร่วมในการสร้างสรรค์ งานประพันธ์ ซึ่งอาจจำแนกการใช้ศิลปะธาตุได้ดังนี้ ๑. การใช้ในลักษณะแก้ปัญหาในการดำเนินเรื่อง เป็นการอาศัย วิธีการทางจิตรกรรมนำมาแก้ไขปัญหาให้เรื่องนั้นดำเนินต่อไปได้ ๒. การใช้ในลักษณะสร้างปัญหาในการดำเนินเรื่อง เป็นการ อาศัยงานจิตรกรรมหรือภาพเขียน กำหนดขึ้นเป็นสาระสำคัญในการ เริ่มต้นบทบาทใหม่ที่จะดำเนินเรื่องต่อไป หรือเป็นการสร้างปัญหาขึ้น ใหม่ให้เกิดการตอบรับด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะตามมา ๓. การใช้ในลักษณะใช้งานจิตรกรรมนำสู่การจบเรื่อง เป็นการ อาศัยงานจิตรกรรมโดยเฉพาะรูปแบบและแนวเรื่อง เป็นสาระสำคัญ ในการสร้างสรรค์งานประพันธ์นำสู่การจบเรื่องได้อย่างสมบูรณ์ การบรรยายครั้งนี้ ผู้บรรยายประสงค์แสดงให้ทราบถึงความ เกื้อกูลกันระหว่างงานจิตรกรรมกับงานวรรณกรรมหรือวรรณคดีไทย ที่เป็นมาแต่อดีตกาล ซึ่งบรรดาจินตกวีได้อาศัยสาระของงาน จิตรกรรมนำมาใช้เป็นองค์ประกอบงานนิพนธ์แต่ละเรื่องให้สมบูรณ์ อันเป็นประเด็นหนึ่งในการพินิจวรรณกรรมหรือวรรณคดีไทย รศ.มาลิทัต พรหมทัตตเวที ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “ หลาก หลายแง่มุมเกี่ยวกับดวงจันทร์” ความโดยสรุปว่า ดวงจันทร์มีการ เปลี่ยนแปลงทางกายภาพทุกเดือน โดยเปลี่ยนไปตามระยะต่าง ๆ ซึ่ง เกิดจากด้านสว่างของดวงจันทร์ ที่เป็นแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์ใน มุมที่แตกต่างกันไป การโคจรของดวงจันทร์รอบโลกจะแบ่งเป็น ๘ ระยะ ดังนี้ ๑. New Moon หมายถึง ระยะที่ดวงจันทร์อยู่ตรงกลางระหว่าง โลกกับดวงอาทิตย์ในทิศทางเดียวกัน ๒. Waxing Crescent Moon ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในด้านที่ รับแสงอาทิตย์มากขึ้นตามลำดับ เป็นพระจันทร์ข้างขึ้น เมื่อเพิ่มขนาด ขึ้นตามลำดับ เรียกว่า พระจันทร์เสี้ยว ๓. Quarter Moon ประมาณ ๑ สัปดาห์หลังจาก New Moon ดวงจันทร์จะหมุนรอบโลกไปประมาณ ๑ ใน ๔ ของวงโคจร เราจะ เห็นครึ่งหนึ่งของด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์หรือ ๑ ส่วน ๔ ของดวง จันทร์ เรียกว่า ระยะเสี้ยวแรก ๔. Waxing Gibbous Moon ระหว่างสัปดาห์ต่อมาเราจะเห็น ดวงจันทร์ด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์มากขึ้นทุกที ดวงจันทร์จะมีลักษณะ ที่เรียกว่า gibbous คือ นูนทั้ง ๒ ด้าน คล้ายหนอกของวัว ๕. Full Moon ๒ สัปดาห์หลังจากระยะพระจันทร์ใหม่ ดวง จันทร์จะเดินทางรอบโลกได้ครึ่งทางและด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์จะทับ กันสนิทกับด้านที่หันมายังโลก ทำให้เราเห็นเป็นดวงกลมคือ พระจันทร์เต็มดวง ในระยะนี้พระจันทร์จะขึ้นตอนที่พระอาทิตย์ตก และจะตกตอนที่พระอาทิตย์ขึ้น ถ้าดวงจันทร์อยู่ในระนาบเดียวกัน พอดีระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์จะเกิดเป็นจันทรุปราคา ๖. Waning Gibbous Moon จากระยะนี้ไปจนกว่าจะเต็มดวงอีกครั้ง หนึ่ง ดวงจันทร์ด้านที่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์จะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ ช่วง ๑ สัปดาห์หลังจากพระจันทร์เต็มดวงนี้จะเป็นระยะพระจันทร์ข้างแรม ๗. Last Quarter Moon ๓ สัปดาห์หลังจากระยะพระจันทร์ ใหม่ เราจะเห็นครึ่งหนึ่งของดวงจันทร์ด้านที่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ อีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า ระยะเสี้ยวสุดท้าย ๘. Waning Crescent Moon ระหว่างสัปดาห์ที่ ๔ ขนาดของ ดวงจันทร์จะลดลงจนมองเห็นเป็นรูปเคียวบาง ๆ ขนาดของดวงจันทร์ยังขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างดวงจันทร์ กับโลกด้วย ปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์เข้าใกล้โลกมากที่สุดคือ lunar perigee ทั่วไปรู้จักในชื่อ Supermoon ในปีหนึ่ง ๆ จะเกิด Supermoon ประมาณ ๔ ถึง ๖ ครั้ง ผลที่เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์ที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ น้ำขึ้น น้ำลง พระจันทร์เต็มดวงในช่วง Supermoon จะทำให้เกิด น้ำขึ้นน้ำลงในระดับสูงกว่าปกติ ผู้ที่เชื่อถือโหราศาสตร์เชื่อว่าจะมี แผ่นดินไหว สึนามิ ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม อากาศแปรปรวน และ วิบัติภัยธรรมชาติอื่น ๆ ตามมา ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้เรียกรวม ๆ กันว่า Moonageddon ดวงจันทร์ยังเป็นที่มาของปฏิทินทางจันทรคติหรือ Lunar calendar ที่คำนวณวัน เดือน ปี ตามการหมุนเวียนของดวงจันทร์ ปฏิทินนี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางศาสนาเป็นสำคัญ ในประเทศ ซาอุดีอาระเบียยังใช้สำหรับวัตถุประสงค์ทางการค้าด้วย ปฏิทินทาง จันทรคติเกือบทั้ง หมดยกเว้นปฏิทินฮิจเราะห์ ที่จริงแล้วเป็นปฏิทินที่ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารธรรมชาติที่ใหญ่เป็นลำดับ ๕ ในระบบ สุริยจักรวาล มนุษย์ได้ไปถึงดวงจันทร์โดยที่สหภาพโซเวียตเป็นชาติ แรกที่ส่งยานอวกาศที่ไม่มีผู้ควบคุมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ ปัจจุบันมีเพียง โครงการอพอลโลขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration หรือ NASA) ของสหรัฐอเมริกาที่ประสบความสำเร็จในการส่งยานอวกาศ ซึ่งมีผู้ควบคุมไปยังดวงจันทร์ครั้งแรกโดยยานอวกาศอพอลโล ๘ โดย นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) ผู้ควบคุมยานอวกาศอพอลโล ๑๑ เป็นมนุษย์คนแรกที่เหยียบดวงจันทร์เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ และได้นำหินดวงจันทร์มาใช้ในการพัฒนาความเข้าใจ ทางด้านธรณีวิทยาเกี่ยวกับดวงจันทร์อย่างละเอียด ผิวหน้าของดวงจันทร์ด้านที่หันมายังโลกเรียกว่า near side ซึ่ง แบ่งเป็นบริเวณสว่างคือ Lunar Highlands กับบริเวณที่มืดกว่าคือ Maria หรือ Mare ทั้งสองบริเวณมีแอ่งขนาดใหญ่ซึ่งเป็นผลจากการ ชนของอุกกาบาต ส่วนผิวของดวงจันทร์ด้านที่มองไม่เห็นจากโลกเรียก ว่า far side ลักษณะของผิวดวงจันทร์ในสายตามนุษย์แต่ละชาติก็จะ เห็นต่างกันไป เป็นต้นว่า รูปผู้ชาย ผู้หญิง กระต่าย กบ คางคก เห็ด กวางมูส ควาย มังกร โครงกระดูก ทำให้เกิดตำนานที่ต่างกันไป ตำนานกระต่ายในดวงจันทร์นั้นสันนิษฐานว่ามีต้นกำเนิดในประเทศ อินเดีย ที่เชื่อว่าภาพที่เห็นบนผิวดวงจันทร์คือ จันทรา ซึ่งเป็นเทพแห่ง ดวงจันทร์กำลังถือกระต่ายไว้ในมือ นิทานแฝงคติธรรมทางพระพุทธ- ศาสนาก็มีตำนานเกี่ยวกับกระต่ายที่สละชีวิตของตนเพื่อเป็นอาหารแก่ พราหมณ์ซึ่งเป็นพระอินทร์ ท้ายที่สุดพระอินทร์นำกระต่ายไปไว้บนดวง จันทร์เพื่อให้ทุกชีวิตในโลกได้เห็นและรับรู้ว่ากระต่ายคือตัวอย่างแห่ง การเสียสละตนอันยิ่งใหญ่ อีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า ขณะที่พระพุทธเจ้าออก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=