2697_7770

5 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๑ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๔ ปรับปรุงจากเดิมที่เป็นเทวสถานในรูปแบบปราสาทขอม ให้เป็นเจดีย์ ทรงปราสาทในพระพุทธศาสนา ด้วยรสนิยมในศิลปะสุโขทัย ๔. ช่วงครึ่งศตวรรษแรกของราชธานีสุโขทัย ศิลปะขอมน้อยลง มากแต่ยังเห็นได้ที่เจดีย์ยอดทรงดอกบัวตูม หรือที่เรียกว่าเจดีย์ทรงพุ่ม ข้าวบิณฑ์ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะสมัยสุโขทัย ที่ได้รับความ นิยมอย่างมากในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ต่อมาในสมัยพญาลิไท (พ.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๑๑) เจดีย์เอกลักษณ์ทรงนี้มีส่วนประกอบสำคัญที่ ปรับปรุงจากระเบียบของปราสาทแบบขอมคือ ฐานบัวลูกฟัก รองรับ ส่วนกลางซึ่งหยักมุมตอนบนประดับด้วยกลีบขนุน (บรรพแถลง) อนึ่ง ที่ส่วนยอดคือ ทรงดอกบัวตูม มีลักษณะผสมผสานที่ ปรับปรุงจากเจดีย์ทรงระฆังของแหล่งบันดาลใจอื่น นอกเหนือจาก ปราสาทแบบขอม การเคลื่อนไหวถ่ายเททางวัฒนธรรม จึงเป็น กระบวนการเกิดเอกลักษณ์ใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “ คำเรียกในครอบครัวจีน” ความโดยสรุปว่าครอบครัว ชาวจีนลำดับญาติโดยแบ่งเป็นฝ่ายบิดาและมารดา ญาติฝ่ายบิดาที่ เป็นชายมีการแยกคำเรียกค่อนข้างละเอียดตามอาวุโส หากเป็นหญิง นั้นไม่แยกตามอาวุโส ส่วนญาติฝ่ายมารดาไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง ครอบครัวจีนไม่แยกคำเรียกตามอาวุโส จะแยกเพียงว่าเป็นญาติ ผู้ชายหรือญาติผู้หญิง ซึ่งต่างกับครอบครัวไทยที่แยกญาติทั้งฝ่ายบิดา และฝ่ายมารดาตามอาวุโส เช่น ครอบครัวจีนพี่ชายหรือน้องชายของ พ่อจะเรียกตามอาวุโส ส่วนพี่สาวหรือน้องสาวของพ่อจะใช้คำเรียกคำ เดียวกันไม่แยกตามอาวุโส ขณะที่ครอบครัวไทยจะแยกคำเรียกพี่ชาย พี่สาวของพ่อตามเพศและอาวุโส ว่า “ลุง” “ป้า” ส่วนน้องชายน้อง สาวของพ่อไม่แยกคำเรียกตามเพศ โดยใช้ว่า “อา” คำเรียกญาติใน ครอบครัวไทยและครอบครัวจีน บางคำก็แยกตามเพศตามอาวุโสเช่น เดียวกัน แต่บางคำก็แยกตามเพศเช่นเดียวกันแต่ไม่แยกตามอาวุโส หรือบางคำแม้แยกตามอาวุโสเหมือนกัน แต่ก็ต่างกันตรงไม่แยกตาม เพศหรือไม่แยกเป็นฝ่ายบิดาหรือฝ่ายมารดา ความเหมือนและความแตกต่างเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาการ สื่อสารทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน โดยเฉพาะในการแปลอันเกิด จากความไม่เข้าใจภาษาจีนอย่างถ่องแท้อาจเลือกใช้คำไม่ถูกต้อง หรืออาจเกิดปัญหาจากความไม่ละเอียดของผู้ใช้ภาษา ดังนั้นการ ตรวจความถูกต้องของงานแปลจึงใช้เวลาค่อนข้างมากและต้อง ละเอียดเพื่อให้งานแปลนั้นถูกต้องสมบูรณ์ คำเรียกญาติในครอบครัวจีนนอกจากเรียกตามอาวุโส ตามเพศ และญาติฝ่ายบิดามารดาแล้ว ยังแบ่งเป็นคำเรียกที่เป็นทางการและ คำเรียกที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่แสดงถึงความใกล้ชิดด้วย ครอบครัว จีนแยกคำเรียกขานสำหรับญาติพี่น้องผู้ชายค่อนข้างละเอียด มีคำ เรียกพี่ชายน้องชายของพ่อโดยแยกเป็นลุงกับอาตามอาวุโส แต่คำ เรียกพี่สาว น้องสาวของพ่อไม่แยกตามอาวุโส เมื่อแปลเป็นภาษาไทย จึงต้องพิจารณาตามบริบทว่าควรแปลเป็น คุณป้า หรือ คุณอา กรณี ที่คุณอาผู้นั้นเป็นน้องสาวคนโตสุดของพ่อ ก็เรียกว่า คุณอาใหญ่ เพราะในครอบครัวจีนมีลูกหลายคน ซึ่งการเรียงลำดับก็เรียงตาม อาวุโส ในกรณีที่ครอบครัวมีพี่น้องหลายคนจะเรียกพี่น้องและคู่สมรส ของพี่น้องตามลำดับอาวุโสเช่นกัน คำว่า เฮีย เป็นคำที่ภาษาไทยยืมมาจากสำเนียงของชาวจีนแต้จิ๋ว ที่หมายถึงคำเรียกพี่ชายคนโตหรือพี่ชายคนที่สอง ซึ่งชาวจีนแต้จิ๋วจะ ออกเสียงว่า ตั่วเฮีย หรือ หยี่เฮีย ตามลำดับ คำเรียกขานสำหรับรุ่นหลานในครอบครัวจีนมีคำเรียกหลายคำ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นหลานปู่หลานย่า หลานตาหลานยาย หลานลุงหลาน ป้า หลานอาหรือหลานน้า ซึ่งจะมีคำเรียกที่ต่างกันไป ในกรณีเป็น หลานลุงป้าน้าอา ต้องพิจารณาว่าเป็นลูกของพี่ชาย น้องชาย หรือพี่ สาว น้องสาว เพราะภาษาจีนใช้คำต่างกันไม่เหมือนกับภาษาไทยที่ใช้ คำเรียกคำเดียวว่า “หลาน” ดังนั้นในภาษาจีนจึงต้องใช้ให้ถูกต้องว่า เป็นลูกของใคร มิฉะนั้นอาจสื่อความหมายที่ผิด • วันอังคารที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ นายจุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “ ศิลปกรรมไทยในวรรณคดี” ความโดยสรุปว่า วรรณกรรมหรือ วรรณคดีเป็นศิลปกรรมประเภทหนึ่งที่รับรู้ศิลปลักษณะและศิลป- สมบัติตามประเพณีนิยมด้วยการรับฟังจากการอ่านออกเสียง เป็นสิ่ง ที่ได้รับการสร้างสรรค์อย่างมีศิลปลักษณะและมีคุณภาพทางศิลป- สมบัติเช่นเดียวกับงานศิลปะประเภทอื่นภายใต้ชื่อว่า “ศิลปกรรม” เช่นกัน วรรณคดีกับศิลปกรรมประเภททัศนศิลป์ อาจเห็นที่มาแห่ง ความบันดาลใจ ๓ ลักษณะ คือ ลักษณะแรก ประพันธ์กรได้อาศัยความรู้สึกประทับใจต่อสิ่ง แวดล้อมซึ่งตัวเขาเองได้มีโอกาสเผชิญแล้วนำมาเป็นแรงบันดาลใจ เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์งานประพันธ์ขึ้น ลักษณะที่ ๒ ประพันธ์กรได้อาศัยประสบการณ์จากพฤติกรรม ของผู้คนในสังคม เหตุการณ์ และสิ่งแวดล้อมร่วมในสมัยของผู้ประ- พันธ์เป็นแรงบันดาลใจ แรงกระตุ้นในสร้างสรรค์งานประพันธ์ ลักษณะที่ ๓ ประพันธ์กรได้อาศัยจินตนาการตามประสบการณ์ และศักยภาพความคิด ความรู้สึกนึกเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์เอง เป็นสิ่งบันดาลใจให้เกิดการสร้างสรรค์งานประพันธ์ งานประพันธ์ที่มาจากแรงบันดาลใจใน ๓ ลักษณะนี้ พึงสังเกตได้ ถึงสาระสำคัญประการหนึ่งว่า ประพันธ์กรได้อาศัยและอ้างถึงสิ่งที่ เป็นงานศิลปกรรมประเภททัศนศิลป์ เป็นต้นว่า พิหารระเบียงบรร รุจิเรข เรืองแฮ ทุกแห่งห้องพระเจ้า นั่งเนือง ตัวอย่างนี้แสดงการอ้างถึง “พิหาร ระเบียง” ซึ่งเป็นงาน สถาปัตยกรรม “พระเจ้า” เป็นคำเรียกพระพุทธปฏิมากรตามคตินิยม แต่ก่อน ซึ่งเป็นงานประติมากรรมประเภทหนึ่ง ศิลปกรรมไทยกับวรรณคดี ศิลปกรรมไทยประเภททัศนศิลป์ ได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติ- มากรรม จิตรกรรม มัณฑนศิลป์ และประณีตศิลป์ โดยเฉพาะรูปแบบ และรูปลักษณ์ อาจจัดได้ว่าเป็นศิลปธาตุประเภทหนึ่ง ที่ประพันธ์กร นำมาใช้ร่วมกับการสร้างสรรค์งานประพันธ์เพื่อทำให้บทประพันธ์นั้น มีความสมบูรณ์ทางสถานภาพ สถานการณ์ บรรยากาศ อารมณ์ และความรู้สึกร่วม สมตามความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของ ประพันธ์กร

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=