2697_7770
4 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน น้อย ๓ ศูนย์ คือด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ด้านไบโอเทคโนโลยี การแพทย์ และด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การดำเนินการของศูนย์ความเป็นเลิศ ทำให้เกิดงานวิจัยที่เผย แพร่ในวารสารระดับนานาชาติ สร้างนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ และที่ สำคัญก็คือ การสร้างนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้อง การดำเนินการของศูนย์ได้มีการประเมินอย่างเข้มข้นอย่าง ต่อเนื่องโดยผู้เชี่ยวชาญภายนอก ผลการประเมินพบว่าในภาพรวม เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า สามารถเสริมสร้างความแข็งแกร่งในด้านการ วิจัยให้อุดมศึกษาโดยสร้างบรรยากาศการวิจัย และทำการวิจัยที่เป็น ปัญหาของประเทศ มีการร่วมมือกับอุตสาหกรรมในประเทศ และผลิต กำลังคนที่มีคุณภาพขึ้นในประเทศทดแทนการส่งไปเรียนในต่าง ประเทศ ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณของประเทศเป็นอย่างมาก การบรรยายนี้จะกล่าวถึงการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้าน นวัตกรรมทางเคมีเป็นตัวอย่างโดยละเอียด ศาสตราจารย์ ดร. จงรักษ์ ผลประเสริฐ ภาคีสมาชิก บรรยาย เรื่อง “นวัตกรรมเทคโนโลยีการจัดการน้ำเสียโดยระบบธรรมชาติ” ความโดยสรุปว่า เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในเมือง หลวงและการเจริญเติบโตของโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ปัญหามลพิษในแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากน้ำเสียของชุมชนและโรงงาน อุตสาหกรรม ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชนและทวีความ รุนแรงมากขึ้น สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการลงทุนสร้างโรงงาน บำบัดน้ำเสียมากกว่า ๑๐๐ แห่ง โดยใช้เงินทุนไปมากกว่า ๕๐,๐๐๐ ล้าน บาท แต่โรงงานบำบัดน้ำเสียจำนวนมากกว่า ๕๐% นั้นไม่สัมฤทธิ์ผล เนื่องจากขาดบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการดำเนินงาน และยังขาด การลงทุนในเรื่องของอุปกรณ์ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นกับประเทศที่ กำลังพัฒนาหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือทั่วโลก ระบบธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยปฏิกิริยาของสาหร่าย พืช และ แบคทีเรียซึ่งมีอยู่ในแหล่งน้ำต่าง ๆ นั้น สามารถนำมาใช้ให้เป็น ประโยชน์ในการบำบัดมลพิษน้ำเสียดังกล่าวได้ โดยที่สาหร่ายหรือพืช จะมีการผลิตก๊าซออกซิเจนโดยมีแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อให้ แบคทีเรียใช้ในการย่อยสลายของเสียต่าง ๆ และผลลัพธ์จากการย่อย สลายของเสียคือการเกิดขึ้นของก๊าซ CO 2 ซึ่งเป็นอาหารสำหรับ สาหร่ายหรือพืชเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงต่อไป ระบบธรรมชาตินี้ได้ ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากชุมชนและภาคอุตสาหกรรม เช่น ระบบบ่อผึ่ง (Waste Stabilization Ponds) และระบบบ่อ สาหร่ายที่มีปฏิกิริยาสูง (High-rate Algal Ponds) น้ำเสียที่ผ่านการ บำบัดโดยระบบเหล่านี้มีคุณภาพดีและเหมาะสมที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ สาธารณะ อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เช่นเอาไว้รดน้ำต้นไม้ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังสามารถคัดแยกเซลล์สาหร่ายเพื่อทำเป็นอาหาร คน อาหารสัตว์ หรือผลิตน้ำมัน ระบบธรรมชาติที่มีศักยภาพสูงอีกระบบหนึ่งมีชื่อว่า ระบบบึง ประดิษฐ์ (Constructed Wetlands) ซึ่งมีหลักการทำงานคล้ายคลึง กับระบบบ่อผึ่ง (Waste Stabilization Ponds) แต่ใช้พืชชุ่มน้ำ เช่น ต้นธูปฤาษี ต้นธรรมรักษา แทนการใช้สาหร่ายในการผลิต ออกซิเจน ระบบบึงประดิษฐ์นี้ได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในการบำบัด น้ำเสียจากชุมชน แหล่งท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทำให้ปัญหามลพิษในแหล่งน้ำและปัญหาสุขภาพของ ประชาชนลดลง นอกจากนั้น น้ำที่ผ่านการบำบัดโดยระบบธรรมชาติ มีคุณภาพเหมาะสม สามารถนำมาใช้ในการเกษตรกรรมหรือ อุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี เช่น การปลูกข้าวโพด การปลูกดอก ทานตะวัน หรือใช้เป็นน้ำหล่อเย็นในโรงงาน ข้อพึงระวังของระบบ ธรรมชาติเหล่านี้ คือ ต้องมีการดูแลการทำงานของสาหร่ายและพืช และมีการเก็บเกี่ยวสาหร่ายและพืชชุ่มน้ำอย่างสม่ำเสมอ ในปัจจุบัน องค์กรและมูลนิธิระหว่างประเทศต่าง ๆ ได้ให้ความ สนใจที่จะประยุกต์ระบบธรรมชาติดังกล่าวมาใช้เพื่อบำบัดมลพิษจาก น้ำเสีย ซึ่งรวมถึงสถานีอวกาศที่มีมนุษย์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ก็ ต้องมีการบำบัดของเสียที่นักบินอวกาศเหล่านั้นผลิตขึ้น โดยได้นำ ระบบธรรมชาติเหล่านี้ไปใช้ การประยุกต์ใช้ระบบธรรมชาติที่กล่าว มาข้างต้นจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อความยั่งยืนของ มนุษยชาติ สำนักศิลปกรรม • วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “ ศิลปะขอม : ตัวอย่างการเกิดเอกลักษณ์ในศิลปะสุโขทัย” ความโดย สรุปว่า ๑. ดินแดนก่อนราชธานีสุโขทัย มีวัฒนธรรมขอม (หรือที่เรียกว่า เขมร) ดังหลักฐานด้านปราสาทแบบขอมที่ วัดพระพายหลวง อยู่ นอกกำแพงเมือง ทางทิศเหนือของเมืองสุโขทัยเก่า ปราสาทขอมมีรูป ทรงเจาะจง พบทั่วไปในศูนย์กลางคือ ประเทศกัมพูชาโบราณ และ บางส่วนในดินแดนไทยโบราณ ๒. ศาลตาผาแดง อยู่ภายในพื้นที่บริเวณทางเหนือของกำแพง เมือง ส่วนบนทลายลงหมดสิ้น เหลือเพียงส่วนล่างกับส่วนกลาง ซึ่ง เป็นระเบียบของปราสาทแบบขอม หลักฐานที่สนับสนุนคือ ศิลาแลงที่ ใช้ก่อ มีขนาดก้อนใหญ่เป็นพิเศษ เป็นปรกติในงานก่อปราสาทขอม เช่นเดียวกันที่ปราสาทขอมของวัดพระพายหลวง รูปแบบฐานเป็น แบบ ฐานบัวลูกฟัก ซึ่งเป็นแบบแผนเฉพาะของฐานในสถาปัตยกรรม ขอม ณ ศาสนสถานร้างแห่งนี้ ได้พบประติมากรรมสลักหินเท่าคนจริง จำนวน ๖ รูป เป็นศิลปะขอมแบบบายน ระยะแรก ๆ อยู่ในครึ่งแรก ของพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พบในประเทศกัมพูชาเช่นกัน ๓. งานช่างก่อนเริ่มสมัยราชธานีสุโขทัยจนผ่านเข้าสู่สมัย ราชธานี ส่วนใหญ่ได้ปรับแต่งจากแรงบันดาลใจรูปแบบ รูปทรงของ ปราสาทแบบขอม ให้เป็นเจดีย์ตามคติและรสนิยมแห่งยุคสมัยของ ราชธานี เช่นรูปแบบเจดีย์บริวารประจำทิศของเจดีย์พระมหาธาตุ วัดมหาธาตุ สุโขทัย นับเป็นระยะแรกพัฒนาการของ เจดีย์ทรง ปราสาท ในศิลปะสุโขทัย อนึ่ง คำว่าเจดีย์มีความหมายว่า สิ่งก่อสร้างอันควรเคารพบูชา ในพระพุทธศาสนา แทนองค์พระพุทธเจ้า ส่วนคำว่าปราสาท บ่งบอกถึง รูปแบบที่แสดงฐานันดรสูง เช่นมีส่วนบนเป็นชั้นซ้อนลดหลั่น พัฒนาการอีกระดับหนึ่งคือ เจดีย์ทรงปราสาทที่วัดศรีสวาย ทรวดทรงยืดสูงยิ่งขึ้น พร้อมทั้งการปรับแปลงของส่วนบนที่เป็นชั้น ซ้อน รวมถึงลวดลายปูนปั้นที่ประดับปราสาท ล้วนบ่งชี้ว่าเป็นงานรุ่น หลัง อาจเป็นคราวบูรณะในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ครั้งนั้นคง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=