2697_7770

3 ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๔๑ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๔ สรุปบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันพุธที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ รองศาสตราจารย์ ดร.ผลิน ภู่จรูญ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง “ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเพิ่มความ สามารถเชิงนวัตกรรม” ความโดยสรุปว่า ในปัจจุบัน โลกของธุรกิจมี การแข่งขันสูงขึ้น จะพบว่า บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่หลายบริษัทที่ มีชื่อเสียงและมีประวัติการก่อตั้งมานานนับร้อยปีกลับถูกลบชื่อออก จากการแข่งขันภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เพียงเพราะไม่สามารถ พัฒนาองค์การและการจัดการให้มีความร่วมสมัยกับการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น กล่าวคือ ไม่สามารถพัฒนาองค์การให้ตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าที่มีมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อนได้ ไม่สามารถสร้างโอกาส จากธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ ฯลฯ ส่งผลทำให้บริษัทถูกเข้าซื้อกิจการ (Acquisition) หรือถูกผนวกรวมกิจการ (Merger) จากบริษัทคู่แข่ง บางบริษัทก็ล้มละลายอย่างไม่น่าเชื่อจากการบริหารที่ผิดพลาดโดย เฉพาะการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ล้มเหลวทำให้นำไปสู่จุดจบทาง จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจซึ่งเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในสังคมปัจจุบัน ในทางกลับกันผลจากการศึกษาพบว่า มีอีกหลายบริษัทที่เดิมมีขนาดไม่ ใหญ่มากนักเป็นบริษัทที่จัดอยู่ในประเภทของบริษัทท้องถิ่นที่สามารถ ปรับตัวพัฒนาขึ้นเป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ได้ เช่น บริษัท Mittal Steel บริษัท Google บริษัท Wal-mart บริษัท Honda และบริษัท Haier ของประเทศจีน ปรากฏการณ์ดังกล่าวนำมาซึ่งความสนใจใน การศึกษาวิจัยเพื่อค้นหาตัวแปรทางการจัดการที่เป็นปัจจัยสำคัญใน การผลักดันบริษัทที่ประสบความสำเร็จให้มีความก้าวหน้าและพัฒนา ตนเองสู่ความเป็นเลิศได้อย่างน่าประทับใจ ในขณะเดียวกันต้องการ ศึกษาว่า ปัจจัยทางการจัดการใดที่ส่งผลทำให้องค์การที่มีความยิ่งใหญ่ อย่างมากในอดีตต้องพบกับความล้มเหลวเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นองค์การที่ต้องการสร้างความแตกต่างจึงต้องพัฒนาตนเอง อย่างชาญฉลาดด้วยการแทนที่จะมุ่งการพัฒนาไปที่สินทรัพย์ที่จับต้อง ได้ ซึ่งง่ายต่อการลอกเลียนแบบ ด้วยการพัฒนาสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ ได้ที่คู่แข่งลอกเลียนแบบยาก จากการศึกษาพบว่า องค์การที่จะ สามารถพัฒนาตนเองในทิศทางนี้ได้ส่วนใหญ่จะมีผู้นำที่มีคุณสมบัติ ของผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีความสามารถนอกจากจะเห็นความ สำคัญของสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ที่เป็นทุนมนุษย์ ทุนองค์การ และ ทุนสังคมแล้ว ยังสามารถบูรณาการทุนเหล่านั้นด้วยการสร้างแรง จูงใจให้พนักงานทุ่มเทความสามารถอย่างเต็มที่ในการคิดค้นนวัตกรรม ที่สามารถนำพาองค์การก้าวข้ามผ่านการแข่งขันได้อย่างดีเยี่ยม ตัวอย่างความสำเร็จขององค์การธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการ พัฒนาผู้นำให้มีคุณสมบัติของผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational leader) จึงเป็นทางออกที่ง่าย รวดเร็วและใช้การลงทุนน้อยที่สุด สมควรเป็นบทเรียนที่ประชาชนชาวไทยทุกคนควรตระหนักว่าความ สำเร็จที่เกิดขึ้นจากองค์การระดับท้องถิ่นขนาดเล็กแต่กลายเป็น องค์การธุรกิจข้ามชาติขนาดใหญ่ หรือประเทศที่มีขนาดของประเทศ เล็กมาก และเคยอยู่ภายใต้อาณัติของประเทศอื่นมาก่อนที่สำคัญ อยู่ในภูมิภาคและมีที่ตั้งในบริเวณขวานทองของสุวรรณภูมิ ประเทศ ประเทศนั้นคือ ประเทศสิงค์โปร์ที่สามารถพัฒนาความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศที่ก้าวไปสู่ความเข้มแข็งในระดับโลกแซง หน้าประเทศมหาอำนาจเช่นประเทศสหรัฐอเมริกาได้ น่าจะเป็น บทเรียนที่ชาวไทยทุกคนควรปรับทิศทางของการพัฒนาให้เห็นความ สำคัญของทรัพยากรที่เรามีอยู่ก่อนแล้วจึงแสวงหาความรู้ ความสามารถ ใหม่เพิ่มเติม แทนที่จะพัฒนาเข้าสู่อนาคตโดยปราศจากการใช้ทุนทาง ปัญญาที่มีอยู่อย่างมากมายในประเทศไทย บทพิสูจน์ของความสำเร็จในการสร้างความได้เปรียบในการแข่ง ขันที่สร้างให้เกิดความยั่งยืนนี้จะต้องเริ่มต้นที่ กลยุทธ์ความมุ่งมั่น (Strategic Intent) ในการพัฒนาความสามารถให้มีพลวัตด้วยการ ประยุกต์ใช้ประโยชน์จากทุนมนุษย์ (Human Capital) ทุนองค์การ (Organizational Capital) และทุนสังคม (Social Capital) ที่บูรณา- การเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว ภายใต้การพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติ ของผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leader) ที่สามารถ มองเห็น และตระหนักถึงความสำคัญของสินทรัพย์ทั้งที่จับต้องได้และ จับต้องไม่ได้โดยสามารถขับเคลื่อนผ่านทรัพยากรมนุษย์มีการพัฒนา อบรมอย่างดีให้มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาภายใต้การกระตุ้นด้วย เครื่องมือที่สร้างแรงจูงใจในการทำงานที่ลงตัวภายใต้การจัดการที่ ร่วมสมัย ซึ่งหากสามารถจัดการเช่นนี้ได้แล้วความสำเร็จในการสร้าง ความเข้มแข็งของประเทศก็จะสำเร็จได้อย่างยั่งยืน ประเทศไทยก็จะ เป็นประเทศที่สามารถพัฒนาบนพื้นฐานของตัวเองได้โดยไม่ต้องอาศัย การพัฒนาแบบพึ่งพิงหรือพึ่งพาประเทศอื่น. สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ศาสตราจารย์ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง “การสร้างงานวิจัย นวัตกรรม และกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ผ่านกลไกของศูนย์ความเป็นเลิศ” ความโดยสรุปว่า จาก การศึกษาของผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรม พบว่าศูนย์ความเป็นเลิศซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง งานวิจัย นวัตกรรม และกำลังคน เป็นกลไกที่สำคัญในการที่จะส่ง เสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับนานาชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดตั้งโครงการศูนย์ความ เป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาตั้งแต่ปี ๒๕๐๓ ใน ขณะนี้มีศูนย์ความเป็นเลิศทั้งหมด ๙ ศูนย์ ประกอบด้วย ศูนย์ความ เป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี ด้านพิษวิทยาอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้าน ของเสียอันตราย ด้านปิโตรเคมีและวัตถุระเบิดสูง ด้านพลังงาน ด้าน เทคโนโลยีการเกษตร ด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ด้านฟิสิกส์ และด้านคณิตศาสตร์ ในอนาคตอันใกล้จะมีศูนย์ใหม่เกิดขึ้นอีกอย่าง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=